จะทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์ระหว่างสื่อกับทุน บทบาทหน้าที่หลักสำคัญของสื่อก็คือ การส่งข่าวสารไปสู่มวลชน ในขณะที่ทุน มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสื่อที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้สื่อสามารถทำงานได้ เป้าหมายหลักของหน่วยทางเศรษฐกิจที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในคราวเดียวกัน ไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ การแสวงหากำไรสูงสุดที่ในปัจจุบันถูกทำให้เป็นเป้าหมายที่น่ารังเกียจ
เมื่อลูกน้องโง่และไม่เคารพยำเกรงกฎหมาย เธอจะพิสูจน์ตนเองได้อย่างไร? สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในด้านความมั่นคงรอบเดือนที่ผ่านมาที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของยิ่งลักษณ์ในฐานะนายกฯ ว่ามีความสามารถที่จะเป็น “ผู้นำ” ได้มากน้อยเพียงใด 29 มิ.ย. 55 อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ซุ่มยิง อ.ส. ดับ 2 นาย 4 ก.ค. 55 อ.รือเซาะ จ.นราธิวาส เหตุระเบิดหลายครั้งหมายสังหารตำรวจ มีตำรวจบาดเจ็บ 12 นาย
ไร้เดียงสา โง่ ไม่รู้เรื่องการเมือง พูดผิดๆ ถูกๆ” เธอจะพิสูจน์ตนเองได้อย่างไร? ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวฝรั่งเศสแห่งหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ไม่ได้ติดต่อกับ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ตลอดเวลา หรือท่องสคริปต์ที่เขียนขึ้นในดูไบ โดยกล่าวย้ำว่า “ดิฉันอาศัยคุณสมบัติของตัวเองในฐานะผู้นำประเทศ ฉันต้องการการสนับสนุนจากพี่ชาย แต่ดิฉันได้ส่งสารที่ชัดเจนให้ทุกคนทราบว่าดิฉันเป็นนายกรัฐมนตรี”
แกนนำเสื้อแดง “สู้แล้วรวย” ยอมพูดเท็จขายชีวิตจนติดโรค “ขี้ข้าทักษิณ” แต่ “จตุพรทางวิชาการ” ทั้งหลายดูจะแย่กว่าเสียอีก ข้อเสนอของนิติราษฎร์ในการให้ยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้วตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาแทนดูจะเป็นความเห็นล่าสุดที่เสนอต่อสังคมหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาเพียงไม่กี่วัน
ถ้าต่อไปนี้ศาลจะตัดสินอะไรให้ฟังความเห็นประชาชนก่อน ตุลาการไม่กี่คนไม่มีสิทธิมาตัดสินคนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ก็เท่ากับสับสนเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติไม่ว่าจะมีกี่ล้านเสียงก็ไม่มีสิทธิทำผิดกฎหมาย ตามที่ได้มีผู้มาตีกลองยื่นคำร้องจำนวน 5 รายขอให้ศาลไคฟงวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญตามที่ ส.ส.และ ส.ว.ได้กระทำการแก้ไขไปจนถึงขั้นตอนที่จะลงมติวาระ 3 นั้นเป็นไปโดยชอบตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่
อะไรคือจิตวิญญาณธรรมศาสตร์และมันหายไปได้อย่างไร มีผู้กล่าวหลายครั้งให้ได้ยินว่า จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในปัจจุบันนั้นหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเสื้อแดงตัวเอ้ที่เคยอาละวาดให้ปลดรูปที่ทุกบ้านมีออกกล่าววิพากษ์อธิการบดีธรรมศาสตร์คนปัจจุบันว่าสมควรไปฟื้นฟูจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ดังปรากฏในคำแถลงให้สัมภาษณ์บางส่วน เมื่อ 2 ก.ค.ที่ผ่านมาดังต่อไปนี้
จะไปทางไหน จะเป็นคล้ายดั่ง “ปินอยส์”หรือไม่? ประเทศไทยคล้ายดั่งเข้าสู่ Lost Decade เหมือนเช่นที่ญี่ปุ่นเคยประสบมาในช่วงทศวรรษที่ 1990 หรือฟิลิปปินส์ กล่าวคือตั้งแต่ พ.ศ. 2545 จวบจนถึงปัจจุบันไทยมีความเจริญก้าวหน้าไปในทิศทางใดบ้างและเป็นความเจริญที่ยั่งยืนหรือไม่?
ไม่มีรัฐธรรมนูญใดไม่ได้มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ความชอบธรรมต่างหากที่ทำให้แตกต่าง สัจธรรมอย่างหนึ่งในทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยก็คือ รัฐธรรมนูญล้วนมีที่มาจากการปฏิวัติยึดอำนาจ ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองเมื่อ 24 มิ.ย. 2475 อันเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐธรรมนูญฉบับแรก ไม่เว้นแม้แต่ในฉบับปัจจุบัน
การเข้าสู่อำนาจมาคู่กับความชอบธรรม หากไร้ซึ่งความชอบธรรม จะใช้อำนาจได้อย่างไร ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ดูเหมือนจะมีที่มาหรือ “เหตุ” จากการเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและกฎหมายปรองดอง แต่หากมองลงไปในเนื้อแท้แล้วปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็น “ผล” จากการขาดความชอบธรรม (legitimacy)โดยแท้
เมื่อเป็นปัญญาชนแต่ไม่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ความวิบัติของตนเองและสังคมจึงเป็นปลายทางที่เห็นได้ ความวุ่นวายทางการเมืองในระยะหลังที่เกิดขึ้นมาส่วนหนึ่งมาจากยุทธวิธี “พูดดำให้กลายเป็นขาว” ของแกนนำ นปช.หลังจากการออกมาก่อความไม่สงบเผาบ้านเมืองของคนเสื้อแดงร่วมกับกองกำลังคนเสื้อดำที่ใช้อาวุธกับทหารและประชาชนทั้งที่ราชประสงค์และราชดำเนิน แทนที่จะเป็นจำเลยของสังคมกลับกลายเป็นทหารและฝ่ายรัฐบาลเสียเอง
กฎหมาย “ปรองดอง” จะทำให้นักการเมืองเพียงกลุ่มเดียวเป็นผู้ชนะ ขณะที่ประชาชนทุก “สี” จะเป็นผู้ “แพ้” ร่างกฎหมาย “กลียุค” ที่แอบอ้างในชื่อปรองดองกำลังจะเสนอเข้าสู่สภาเพื่อให้นักการเมืองอนุมัติเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องแต่เพียงลำพัง กล่าวโดยย่อได้ว่ากฎหมายนี้ประกอบด้วยกฎหมาย 3 ฉบับเสนอรวมเล่ม “มั่ว” เข้ามาด้วยกันคือ (1) กฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมการจลาจล (2) กฎหมายว่าด้วยการคืนสิทธิให้นักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ และ (3) กฎหมายว่าด้วยการเพิกถอนคดีที่ คตส.ได้กระทำไป
“เจ๊ง” ทั้งแผ่นดินไทยจะมาจากหนี้รัฐบาลและนโยบายประชานิยม ประสบการณ์จากวิกฤตเศรษฐกิจจนกลายมาเป็นวิกฤตทางการเมืองของกรีซเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทยที่กำลังดำเนินตามรอยนโยบายประชานิยม หนี้สาธารณะสูงและความสามารถในการแข่งขันต่ำ เป็นคำสำคัญ (keywords) ของกรีซในปัจจุบันและของไทยในอนาคตอันใกล้นี้
นโยบายประชานิยมทำให้ราคาค่าจ้างไม่เป็นไปตามกลไกเศรษฐกิจคือจุดวิกฤต ข้อสงสัยว่าไทยจะเป็นเหมือนประเทศที่ใช้นโยบายประชานิยมแล้วย่อยยับในภายหลังเหมือนที่อาร์เจนตินาในอดีตเคยประสบพบมาหรือตัวอย่างของกรีซในปัจจุบันดูจะเป็นจริงมากขึ้นเป็นลำดับ อันเนื่องจากมีพื้นฐานด้านนโยบายประชานิยมเช่นเดียวกัน
รัฐบาล “หุ่นโชว์” กำลังแสดงตัวตนว่าไม่รู้จักและไม่มีความรู้เกี่ยวกับเงินเฟ้อแม้แต่น้อย เพราะจากการกระทำที่ผ่านมา รัฐบาลนี้ไม่รู้ว่าเงินเฟ้อไม่เฟ้อดูที่ใดขณะที่การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างไร้สาระไม่มีทิศทางหรือแก่นสารดุจดั่ง กำลังไล่ลมคว้าเงา ไม่รู้ว่าจะจับต้องได้อย่างไร นายกฯ หุ่นโชว์แก้ปัญหาของแพงด้วยอารมณ์และความรู้สึก บอกว่า “ของแพงเพราะประชาชนรู้สึกไปเอง” หลังจากที่พูดจาไร้สาระเกี่ยวกับของแพงโดยอ้างตั้งแต่ เรื่องน้ำตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำแถมชักแม่น้ำทั้งห้าสิบสายในโลกมาอ้างอีก โดยล่าสุดกล่าวว่า เป็นเพราะประชาชนรู้สึกว่าเงินในกระเป๋ามีน้อยลงเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายมากในช่วงหน้าเปิดเทอม หากเป็นช่วงรับเงินโบนัสในช่วงปลายปีก็จะรู้สึกว่าของไม่แพงเพราะมีเงินในกระเป๋าเยอะ
ข่าวจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพง หลังการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา นายกิตติรัตน์ ได้กล่าวออกตัวอย่างน่าเห็นใจในเรื่อง “แพง” ทั้งแผ่นดินว่า ต้องเข้าใจว่าเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิด จึงได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่มีส่วนทำให้เกิดเงินเฟ้อ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก และวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ที่ใช้การแก้ปัญหาโดยการพิมพ์
ไม่น่าเชื่อว่าภายใต้รัฐบาลของทักษิณ ไทยจะกลายเป็นชาติที่ล้มเหลวได้เหมือนเขมร วันนี้ขออนุญาตแย่งซีนโต๊ะข่าวกีฬา หวังว่าคุณ “เดื่อ” และคุณ “สวรรยา” คงไม่ถือโทษโกรธเคือง ขออภัยไว้ล่วงหน้า วิ่งมาราธอน อาจถือได้ว่าเป็นกีฬาที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกก็ว่าได้เพราะมีการแข่งขันต่อเนื่องมาโดยตลอด กีฬาอื่นขาดได้ แต่หากวิ่งมาราธอนขาดไปแล้วโอลิมปิกไม่สมบูรณ์เป็นแน่
อำนาจออกกฎหมายก็เฉกเช่น “ดาบ” หากไร้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมผู้ใช้ดาบก็ไม่ต่างจากโจร ระยะหลังนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นห้วงเวลาของการปรองดองก็ว่าได้ รัฐบาลหุ่นโชว์ก็อ้างว่าจะมาทำเรื่องปรองดอง ส.ส.พรรครัฐบาลในสภาก็อ้างว่าหาเสียงไว้กับประชาชนให้เข้ามาทำเรื่องปรองดอง หากใครขัดขวางก็อ้างว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชน การปรองดองโดยทั่วไปน่าจะหมายถึง คู่ขัดแย้งที่อาจมีมากกว่าสองฝ่ายหันหน้าเข้าหากันเพื่อหาจุดร่วมเพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีความขัดแย้งกัน
คดีแชร์แม่ชม้อยก็ไม่ต่างจากคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ ของทักษิณแต่อย่างใด ข้อเสนอประการหนึ่งของรายงานการศึกษาปรองดองของสถาบันพระปกเกล้าที่อยู่ๆ ก็โดดขึ้นมาโดยปราศจากพื้นฐานแนวคิดหรือการวิเคราะห์ที่เป็นเหตุเป็นผลก็คือการยกเลิกการกระทำต่างๆ ที่ คตส.ได้ทำไป เท่าที่ทราบมีอยู่เพียงคดีเดียวที่ คตส.ยื่นให้อัยการฟ้องแล้วอัยการเห็นชอบเป็นคนฟ้องร้องให้เองก็คือคดีทุจริตเกี่ยวกับที่ดินรัชดาฯ ที่ทำให้ทักษิณต้องโทษจำคุก 2 ปีเนื่องจากประพฤติผิดตาม ม. 100 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.
ธีรยุทธบอกขัดแย้งระหว่างฝ่ายอนุรักษ์กับรากหญ้า วุฒิสารก็บอกว่าเป็นปัญหาการมองประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน แต่ที่แน่ๆ คือหาเหตุผลมาสนับสนุนได้ยาก เพราะเป็นการ “หักดิบความจริง” ข้อเสนอเรื่องการปรองดองที่กลายเป็นประเด็นสร้างความแตกแยกแทนที่จะสร้างความปรองดองนั้นมีที่มาจากรายงานการศึกษา “โครงการวิจัยสร้างความปรองดองแห่งชาติ” ที่สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ดำเนินการ หากจะวิพากษ์ข้อเสนออันเป็นผลก็ควรจะเริ่มที่เหตุคือ ระเบียบวิธีวิจัยอันเป็นกระบวนการศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอพิลึกพิลั่นดังกล่าว
ฟ้ามิได้สร้างคนให้อยู่เหนือคน และฟ้ามิได้สร้างคนให้อยู่ใต้คน . . . ฟุกุซาวะ ยูคิจิ ข้อวิพากษ์ล่าสุดของอดีตฝ่ายซ้ายธีรยุทธ บุญมีดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับการยอมรับทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านทักษิณเหมือนเช่นที่ผ่านมา หัวใจของข้อวิพากษ์อยู่ที่การแบ่งแยกคนในสังคมออกเป็น 2 ฝ่ายในลักษณะของ dichotomy คือไม่เป็นพวกเราก็ต้องเป็นพวกเขาหรือระหว่างอำนาจฝ่ายอนุรักษ์และอำนาจรากหญ้าในคำพูดของธีรยุทธ ข้อสมมตินี้อาจทำไปเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ทำความเข้าใจแต่ไม่หลากหลายและไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริงที่มีอยู่
ปัญหาของประเทศไทยคือ นักการเมืองขาดจริยธรรม รัฐบาลหุ่นโชว์ที่อยู่มาเพียงครึ่งปีเศษ แต่ได้ทำความเสียหายให้กับประเทศชาติไว้อย่างมากมาย ตัวอย่างที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมก็คือ น้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมาที่มูลค่าความเสียหายเป็นรองก็เฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อ 11 มีนาคม 2011 ที่ญี่ปุ่นเท่านั้น แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงขนาด 9 ริกเตอร์สเกลหรือ ระดับ 7 ในมาตรฐานของญี่ปุ่นก่อให้เกิดภัยพิบัติติดตามมา 2 ประการคือ คลื่นยักษ์ที่เรียกว่า “สึนามิ” ที่มีขนาดความสูงตั้งแต่ 10-30 เมตรซัดเข้าชายฝั่งบริเวณอีสานญี่ปุ่น และการ “หลอมละลาย” หรือ melt down ของเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จังหวัดฟุกุชิมะที่ก่อให้เกิดการรั่วไหลของรังสี เหตุเนื่องจากคลื่นสึนามิทำให้เครื่องปั่นไฟสำรองเพื่อเดินเครื่องสูบน้ำระบายความร้อนไม่สามารถทำงานได้
แพงโดนทั้งแผ่นดิน ไม่เลือกสีโดยเฉพาะคนจน สิ่งที่ปรากฏผลเป็นรูปธรรมอีกประการหนึ่งในรัฐบาลหุ่นโชว์นี้ก็คือสินค้ามีราคา “แพง” ขึ้นทั้งแผ่นดิน ไม่รู้จะนับเป็นความสามารถอีกประการหนึ่งรองจากการทำให้น้ำ “ท่วม” ทั้งแผ่นดินด้วยหรือไม่ ภาวะสินค้าหรือบริการมีราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็วเขาเรียกว่า เงินเฟ้อ ซึ่งดูไปแล้วก็สื่อความหมายไปด้วยกันทั้งสองคำเพราะ เงินเฟ้อ กับ สินค้าราคาแพง นั้นมีสาเหตุหลักมาจากระบบเศรษฐกิจมีเงินมากกว่าสินค้าที่มีอยู่ ดังนั้นสินค้าจำนวนเท่าเดิม เช่น รถ 1 คันจึงต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นกว่าก่อนมีเงินเฟ้อเพื่อซื้อหามา
คุณลักษณะที่สำคัญของนโยบายประชานิยมก็คือ ภาพลวงตา เงิน หรือ money เป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับรายได้ หรือ income แต่ในภาษาไทยแล้วคำว่า “เงิน” นั้นสามารถมีได้หลายความหมายตั้งแต่ เงิน รายได้ ความมั่งคั่ง (wealth) จนไปถึงชื่อแร่ silver ซึ่งแตกต่างจากในภาษาอังกฤษที่แยกแยะให้เห็นอย่างชัดเจน เงิน ในความเข้าใจและรับทราบของคนทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบของ บัตรธนาคาร (bank note) เช่น ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ การเพิ่มขึ้นในปริมาณเงินจึงมักสื่อถึงการพิมพ์ธนบัตรหรือทำเหรียญกษาปณ์เพิ่มขึ้น แต่คนทั่วไปมักไม่รู้ว่าการกู้เงินของรัฐบาลต่างหากที่เป็นการเพิ่มเงินในปริมาณที่มากโดยไม่จำเป็นต้องมีการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มและเป็นที่มาของความเสียหายอยู่เสมอๆ
มีผู้สงสัยหลายคนว่าไทยจะเป็นเหมือนประเทศที่ใช้นโยบายประชานิยมแล้วย่อยยับในภายหลังเหมือนที่อาร์เจนตินาในอดีตเคยประสบพบมาหรือตัวอย่างของกรีซในปัจจุบัน ปลายทางของนโยบายประชานิยมของไทยจะจบลงที่เดียวกับกรีซหรือไม่? บทเรียนของวิกฤตเศรษฐกิจที่ชาวกรีซได้รับอย่างแสนสาหัสน่าจะมีเหตุจากรัฐบาลกรีซเป็นสำคัญ เมื่อนักการเมืองอยากเอาชนะการเลือกตั้งโดยเสนอนโยบายเอื้อเฟื้อประชาชนหรืออีกนัยหนึ่งคือนโยบายประชานิยมโดยขาดความเป็นไปได้ ผลร้ายในบั้นปลายสำหรับประเทศที่ใช้ประสบเหมือนๆ กันก็คือความย่อยยับในสภาพเศรษฐกิจและสังคม
ทักษิณพูดเสมอเกี่ยวกับประชาธิปไตย . . . ผูกขาดเป็นเจ้าของพรรคและส.ส. ทักษิณพูดเสมอเกี่ยวกับเสรีภาพทางเศรษฐกิจ . . . ทำธุรกิจโดยผูกขาด ทักษิณพูดเสมอเกี่ยวกับความเท่าเทียมกัน . . . ตัวเขาต้องไม่ผิด การผูกขาดหรือ monopoly เป็นคุณลักษณะสำคัญของทักษิณที่อาศัยรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ในการผูกขาดทางการเมืองเพื่อผูกขาดเศรษฐกิจ ความพยายามของฝ่ายใดก็ตามแต่ในการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 หรือฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจึงมีความเกี่ยวข้องกับทักษิณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เสรีภาพและความเท่าเทียมกันคือ “จน” เหมือนเดิม ความกินดีอยู่ดีก็เมื่อเอาคนในครอบครัวไป “ตาย” เท่านั้น ฝ่ายซ้ายในสังคมทั่วไปน่าจะหมายถึงพวกหัวก้าวหน้าที่มีอุดมการณ์สนับสนุนสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันในสังคมเป็นลักษณะสำคัญ แต่ฝ่ายซ้ายของไทยที่เข้าร่วมกับทักษิณนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2549 ในช่วงทักษิณครองอำนาจโดยตรง และช่วงที่อาศัยตัวแทนเข้ามาครองอำนาจตั้งแต่รัฐบาล “ตัวแทน” เช่นสมัครและสมชาย จนถึงรัฐบาล “หุ่นโชว์” ในปัจจุบันกลับไม่สามารถที่จะทำให้สังคมมีเสรีภาพและความเท่าเทียมตามอุดมการณ์ที่โพนทะนาได้แม้แต่น้อย
ประชาชนคนไทยควรระวัง รัฐบาล “หุ่นโชว์” กำลังประพฤติตนเยี่ยงโจร คนดีกับโจรไม่ต่างกันเนื่องจากมี “จุดประสงค์” อยากได้เงินเหมือนกัน แต่ที่ทำให้ต่างกันก็ตรงที่คนดีสนใจ “วิธี” การได้มาซึ่งเงิน แต่โจรนั้นไม่สนใจว่าจะได้มาอย่างไร จะตีชิงวิ่งราวหรือทำอย่างไรก็ได้ขอให้ได้มาซึ่งเงินก็เพียงพอ หากรัฐบาลใดประพฤติปฏิบัติตนไม่สนใจ “วิธี” ได้มาซึ่งเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายก็ไม่แตกต่างอะไรกับโจรนั่นเอง
ไทยกำลังจะเป็นไปเหมือน อาร์เจนตินาหรือกรีซ - All Pain No Gain การให้สัมภาษณ์ของวีรพงษ์ รามางกูรเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของทักษิณผ่านรัฐบาล “หุ่นโชว์” ว่าจะนำพาประเทศไปสู่จุดใดในอนาคต วีรพงษ์กล่าวเกี่ยวกับการลดหนี้สาธารณะที่เป็นรัฐวิสาหกิจไว้ว่า “หนี้สาธารณะประเภทที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นมหาชน เป็นรัฐวิสาหกิจกึ่งเอกชน และเข้มแข็งยืนอยู่ได้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ได้เป็นภาระ และไม่ได้ให้รัฐบาลไปค้ำประกันหนี้ ไม่ต้องการโลโกรัฐบาลไปปิดหน้าบริษัทเพื่อให้คนเชื่อถือได้ทั่วโลก เช่น บริษัท ปตท. หรือการบินไทย” ก็จะลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐลงให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 49 จากปัจจุบันที่มีประมาณร้อยละ 51 หรือมากกว่า เพื่อมิให้เป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไปโดยให้กองทุนวายุภักษ์ที่เป็นของรัฐไปถือหุ้นแทน