เรื่องราวที่ผมจะนำมาถ่ายทอดต่อไปนี้ คือเสี้ยวหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย คนหนึ่งผู้ที่มีชื่อว่า “สันติชาติ อโศกาลัย” อันเป็นตัวละครเอกในงานเขียนของผมเรื่อง “ความรักกับจอมยุทธ์” (พ.ศ.2535) ตัวละครที่ผมจินตนาการสร้าง ขึ้นมาตัวนี้มี ลักษณะเด่นอยู่บางประการคือ 1. ผมตั้งชื่อเขาว่า “สันติชาติ” แต่ชีวิตในวัยหนุ่มของเขาไม ่เคยพบกับสันติสุขที่แท้จริ ง ความทุกข์โศกในชีวิตของเขาล ้วนโยงใยอยู่กับการพลัดพราก สูญเสีย ผู้คนอันเป็นที่รักยิ่งของเ ขา เริ่มตั้งแต่การจากไปของบิด าเมื่อครั้งวัยเยาว์ การเสียชีวิตของพี่ชายในเหต ุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 (ค.ศ.1976) ตลอดจนพลัด พรากหรือสูญเสียหญิงสาวทุกคนที่เขาได้ใกล้ชิดผูกพันด้วย...
ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ESOTERIC JOURNEY” (1937) ของ THEODORE ILLION นักผจญภัยชาวเยอรมันซึ่งเป็นต้นแบบให้สปีลเบอร์กนำไปสร้างเป็น อินเดียน่า โจนส์ ในเวลาต่อมา หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมเล่มบันทึกการผจญภัยในทิเบตของเขาในทศวรรษที่ 1930 จำนวนสองชิ้นด้วยกันชื่อ “IN SECRET TIBET” กับ “DARKNESS OVER TIBET”
ผมมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมว่า สมุนไพรน้ำมันสกัดเย็นเก้าชนิด “Nine-Oils” คือ ผลงานชิ้นโบว์แดงของผมที่มอบไว้ให้สังคมนี้ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการที่มีวิชั่น ผมมองตั้งแต่หลายปีก่อนแล้วว่า วิกฤตสุขภาพจะเป็นวิกฤตที่ร้ายแรงที่สุดของสังคมนี้เมื่อเข้าสู่สังคมคนสูงวัยเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นผมจึงเขียน หนังสือ “เหนือมะเร็ง” ออกมาจากมุมมองของโภชนาการบำบัด ในขณะเดียวกันผมก็เริ่มสืบค้นและแสวงหายาวิเศษหรือยาอายุวัฒนะในแบบมังกรจักรวาลที่ผมถนัดอย่างจริงจังควบคู่กันไปด้วย
“ผมใช้เวลานานพอควรทีเดียว กว่าที่ผมจะตระหนักว่า วิถีชีวิตที่ผมเลือกเดินมาในช่วง 10 กว่าปีนั้น จริงๆ แล้วจัดอยู่ในแนวทางเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกนี้... ผมมีความเห็นว่าคนที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ และมีชีวิตอยู่เพื่อคุณธรรม ความดีงาม ไม่ว่าจะเป็นเขาหรือเธอ ล้วนแล้วแต่เป็น “มังกร” ในสายตาของผมทั้งสิ้น โดยไม่จำเป็นว่าพวกเขาเหล่านั้นหรือพวกเธอเหล่านั้นจะต้องมีพลังฝีมือหรือไม่ด้วย เพราะถึงแม้ในมือของพวกเขาไม่มีกระบี่ แต่ใจของพวกเขาก็เป็นกระบี่ไปแล้ว และถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว “มังกร”จะสูญสิ้นไปจากโลกนี้ได้อย่างไรกัน โลกนี้จะไม่สิ้นมังกร !! DRAGONS ARE FOREVER !! สุวินัย ภรณวลัย จากหนังสือ “มวยจีนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า”
ตามตำนานมวยตระกูลหงมีต้นตอมาจากวัดเส้าหลินใต้ โดยที่หลวงจีนจี้เซนถ่ายทอดวิชามวยเส้าหลินใต้ให้กับศิษย์ฆราวาสสองคนคือ “หงซีกวน” กับ “ปึงเซี่ยวเง็ก” แต่ปึงเซี่ยวเง็กเสียชีวิตตั้งแต่วัยหนุ่มฉกรรจ์ ขณะที่หงซีกวนมีอายุยืนยาวร่วมเก้าสิบปี จึงเป็นผู้เผยแพร่วิชามวยเส้าหลินใต้ให้ขจรไกลไปทั่วมณฑลกวางตุ้ง “ลู่อาไฉ่” ได้เรียนมวยเส้าหลินใต้มาจากหงซีกวนโดยตรงและได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ “หวงฉีอิง” ผู้เป็นบิดาของ “หวงเฟยหง” ผู้โด่งดัง
ท่านอาจารย์หลิวหยุนเฉียว เกิดในตระกูลขุนนางผู้มั่งคั่งแห่งเมืองซางโจว บรรพบุรุษของท่านเป็นขุนนางมาหลายชั่วอายุคนแล้ว หลิวหยุนเฉียวเป็นบุตรชายคนเดียวของตระกูล ในวัยเด็กท่านมีร่างกายอ่อนแอและขี้โรค บิดาของท่านห่วงใยในสุขภาพของลูกรักจึงให้หลิวหยุนเฉียวเรียนมวยเหนือกับครูมวยแซ่จางท่านหนึ่งตั้งแต่เล็กจนมีร่างกายแข็งแรง แต่ครูมวยท่านนี้สูงวัยมากแล้วและเสียดายพรสวรรค์ที่มีอยู่ในตัวของหลิวหยุนเฉียวจึงปรารภกับบิดาของท่านว่า ถ้าหากหลิวหยุนเฉียวได้ฝึกวิชาฝีมือกับครูดีเขาจะต้องมีฝึมือล้ำเลิศเป็นแน่ บิดาของหลิวหยุนเฉียวถามว่าควรจะเชิญใครมาเป็นครูมวยดี ครูมวยท่านนั้น เสนอให้เชิญจอมยุทธ์ลิโฉะบุนแห่งมวยแปดสุดยอดผู้มีฉายา “ทวนเทพยดาแซ่ลี้” เป็นครูมวยที่มีชื่อเสียงที่สุดของมณฑลหูเป่ยและจีนตอนเหนือ
กลางศตวรรษที่ 18 ประเทศจีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์เช็ง กำลังตกอยู่ในภาวะตกต่ำเสื่อมถอยจนถึงที่สุด ดุจต้นไม้แห้งที่รอวันโรยรา ประชาชนอดอยากแร้นแค้นไปทั่วทุกหย่อมหญ้า บาดแผลทางสังคมปรากฏให้เห็นทั่วทุกหนแห่ง ในปี ค.ศ.1860 เกิดภัยแล้วต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ปีซ้อน พืชไร่เก็บเกี่ยวไม่ได้ผล ผู้คนจึงประสบกับความเดือดร้อนในการดำรงชีพอย่างแสนสาหัส ณ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลหูเป่ย หมู่บ้านนี้มีครัวเรือนอาศัยอยู่ราวๆ 110 หลัง ในนั้นมีชาวนาแซ่ซุนผู้หนึ่งร่วมอยู่ด้วย เนื่องจากปีนั้นนายซุนประสบกับปัญหาการทำนาไม่มีเงินพอจ่ายค่าภาษี เขาจึงจำต้องขายที่นาผืนเล็กที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษไป
อนุสนธิจากการที่ผม (สุวินัย) ได้เขียน “มูซาชิฉบับท่าพระจันทร์” ออกมาทำให้ผมมีความปรารถนาที่จะถ่ายทอดชีวิตจริงของเจ้าสำนักคาราเต้ชาวญี่ปุ่น ผู้หนึ่งที่มีฉายาว่า “มูซาชิแห่งยุคโชวะ" (ช่วง ค.ศ.1925-1988) แต่ผมชอบที่จะ เรียกเขาคนนี้ว่า “บูรพาไม่แพ้” มากกว่า ในไดอารี่ของเขาคนนี้เมื่อวันที่ 27 เดือนธันวาคม ค.ศ.1959 เขาได้เขียนถึง “มิยาโมโต้ มูซาชิ” ผู้เป็นอาจารย์ทางใจ ของเขาว่า “เมื่อยามจับดาบ ท่านอาจารย์มูซาชิจะเป็นดุจพระอจลนาถ ซึ่งเป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมาร แต่ในยามปกติดูเหมือนว่าอาจารย์จะเป็นคนเงียบขรึม พูดจาด้วยเสียงต่ำและเบาๆ ชีวิตของอาจารย์เป็นชีวิตของจอมยุทธ์ผู้โดดเดี่ยวและเดียวดายอย่างแท้จริง มรรคาแห่งชีวิตของท่านมีแต่การมุ่งแสวงหาความเป็นเลิศในวิถีของตนอย่างเดียวเท่านั้นโดยไม่เคยวอกแว่กไปในทางอื่นใดๆ ทั้งสิ้น ฟ้าไม่เคยให้ใครมากกว่าสองเพราะฟ้าไม่ลำเอียงต่อผู้ใด ชีวิตของอาจารย์มูซาชิจึงเริ่มต้นอย่างโดดเดี่ยวและก็จบลงอย่างโดดเดี่ยว หากเปรียบกับชีวิตของจอมดาบคนอื่นในสมัยเดียวกับอาจารย์มูซาชิอย่าง "ยางิว มุเนโนริ" ซึ่งโด่งดังและประสบความสำเร็จในชีวิตทางสังคม จนได้เป็นถึงครูดาบของโชกุน ทั้งๆ ที่ฝีมือดาบของอาจารย์มูซาชิเหนือกว่า ก็จะแลเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ชีวิต ของอาจารย์มูซาชิได้จบลงในบั้นปลายอย่างแทบไม่มีใครเหลียวแลเลย”
มิลาเรปะ (พ.ศ1583-1666) เป็นกวีและนักบวชที่สูงส่ง เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือกันทั่วไปในธิเบตและแถบเทือกเขาหิมาลัย ชีวประวัติของมิลาเรปะก็น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว บิดาของมิลาเรปะสืบเชื้อสายมาจากวงศ์ตระกูลของคนเลี้ยงสัตว์ ท่านเป็นพ่อค้าที่มีฐานะมั่งคั่งเลยทีเดียว เมื่อมิลาเรปะอายุได้ 7 ขวบ บิดาของเขาถูกโรคร้ายคุกคาม ท่านรู้ตัวว่าคงจะไม่รอดแน่จึงตกลงใจมอบครอบครัวและทรัพย์ศฤงคารของท่านทั้งหมดให้ญาติของท่าน โดยเฉพาะลุงและป้าของมิลาเรปะเป็นผู้ดูแล โดยคาดหวังว่าเมื่อมิลาเรปะโตขึ้นเป็นหนุ่มเขาจะได้ครอบครองทรัพย์สมบัติของท่านในภายหลัง
ผม (สุวินัย) ได้ยินชื่อของศรีอรพินโธและได้หนังสือที่เขาแต่งในระหว่างที่ผมมาหาท่านไสบาบาที่อินเดียในเดือนกรกฎาคมพ.ศ.2540 หลังจากกลับมาเมืองไทย ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและวิถีของศรีอรพินโธก็หลั่งไหลเข้ามาหาตัวผม จนผมต้องเริ่มศึกษาเรื่องราวของเขาอย่างจริงจัง... และเพียงแค่ผมได้ศึกษาชีวิตและวิถีของศรีอรพินโธเท่านั้น หัวใจผมก็สั่นสะท้านอย่างรุนแรงเมื่อได้รับรู้ว่าชีวิตและวิถีของผมในขณะนี้ กำลังเจริญรอยตามชีวิตและวิถีของศรีอรพินโธโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าผมจะไม่อาจเทียบท่านได้เลยในขอบเขตขนาดความยิ่งใหญ่ที่ท่านได้กระทำลงไป
ในสมัยที่ คาร์ลอส คาสตาเนด้า กำลังศึกษาศาสตร์เร้นลับจากอาจารย์ชาวอินเดียนแดงของเขาที่ชื่อ ดอนฮวน ในปี ค.ศ.1960 อยู่นั้น มีประสบการณ์หลายอย่างที่น่าสนใจมาก จากบทสนทนาระหว่างครูกับศิษย์ในโอกาสต่างๆ "คนทั่วๆ ไป เกือบจะไม่ทราบเอาเลยว่า เขาอาจจะเลิกละสิ่งหนึ่ง สิ่งใดในชีวิตขณะใดก็ได้ เหมือนอย่างที่ผมเคยดื่มของมึนเมาสมัยเมื่อผมยังหนุ่ม แต่แล้ววันหนึ่งผมก็เลิกมันเฉยๆ" ดอนฮวนบอก "อาจารย์คิดว่า คนเราจะหยุดดื่มเหล้าหรือเลิกสูบบุหรี่ได้ง่ายๆ อย่างงั้นหรือครับ" คาร์ลอสถามด้วยความสงสัย "แน่นอน การดื่มเหล้าหรือการสูบบุหรี่ไม่มีความหมายอะไรเลย ไม่มีความหมายจริงๆ ถ้าหากเราคิดจะเลิกมัน"
ท่านติชนัทฮันห์อาจารย์เซนชื่อดังแห่งยุคนี้ได้เคยกล่าวว่า เราทุกคนล้วนเป็นดอกไม้ พวกเราทุกคนทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ล้วนเป็นดอกไม้ที่สวยงาม เปลือกตาของเราคือกลีบดอกไม้ โดยเฉพาะในยามที่เราหลับตา หูของเราเป็นดั่งรัศมีในยามเช้าซึ่งกำลังสดับฟังเสียงนกร้อง ริมฝีปากของเราก็จีบเป็นดอกไม้ ทุกครั้งที่เรายิ้มแย้มมือของเราทั้ง 2 ข้างก็คือดอกบัวที่มีกลีบ 5 กลีบ การที่คนเราทำสมาธิภาวนานั้นก็เพื่อที่จะรักษาความเป็นดอกไม้ของเราให้มีชีวิตชีวาและปรากฏออกมาเพื่อประโยชน์ของตัวเราเองและเพื่อความสุขของคนทุกคนที่เราคบหาด้วยนั่นเอง
"มนุษย์ที่แท้ในสมัยโบราณ ย่อมไม่กลัวเมื่อยึดถือทัศนะหนึ่งใดอยู่เดียวดาย ไม่เอาเปรียบใคร ไม่เจ้าเล่ห์วางแผนการใดๆ ถึงล้มเหลวก็ไม่เสียใจ เมื่อสำเร็จก็ไม่หลงตน
"ชีวิตคือการทำจิตใจให้สดใส ชีวิตคือสิ่งที่เราเรียกว่าศาสนาชีวิตคือความละเอียดอ่อนที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจ การศึกษาจะไม่มีความหมายเลย หากมันไม่ช่วยให้เธอเข้าใจอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของชีวิต ซึ่งมีทั้งความละเอียดอ่อน ความสวยงาม ความโศกซึ้ง ความปีติ" K กล่าวกับเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่ดั้นด้นมาขอภูมิปัญญาตะวันออกจากเขาผู้เป็นปราชญ์แห่งยุคที่ชาวโลกยอมรับ