*จักระกับกายทิพย์* ในโมเดล “โยคะ” จะถือว่าการดูแลป้องกัน “กายทิพย์” ให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้กายเนื้อเจ็บป่วย เป็นสิ่งที่ควรทำและทำได้ง่ายกว่าการรักษาโรคหลังจากที่ปรากฏออกมาที่ “กายเนื้อ” แล้ว อารมณ์ในด้านลบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความโกรธ ความวิตกกังวล ความหงุดหงิด ล้วนส่งผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาต่อกายทิพย์ โดยทำให้เกิดภาวะพร่องปราณขึ้นตามจักระต่างๆ หรือไม่ก็เกิดภาวะการกระจุกตัวหรืออุดตันของปราณขึ้นตามจักระต่างๆ อารมณ์ในด้านลบทั้งหลาย จึงทำให้กายทิพย์อ่อนแอ เพราะสูญเสียปราณซึ่งจะพลอยทำให้กายเนื้ออ่อนแอลงตามไปด้วย จนเกิดความเจ็บป่วยในที่สุด เนื่องจากกายทิพย์จะถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะรูปทรงเดียวกับกายเนื้อ
*ความสำคัญของการฝึก “กายทิพย์” ในโมเดล “โยคะ” ของศาสตร์ชะลอวัยเชิงบูรณาการ* ในโมเดล “โยคะ” ของศาสตร์ชะลอวัยเชิงบูรณาการนั้น นอกจากจะให้ความสนใจในการฝึกร่างกายเพื่อให้จักระต่างๆ หมุนด้วยอัตราความเร็วสูงแล้ว ยังมองจากมุมมองของ “พลังงาน” อีกด้วยว่า โครงสร้างแห่งร่างกายของคนเรานี้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ “กายนอก” (กายเนื้อ) กับ “กายใน” (กายทิพย์) กายนอกหรือกายเนื้อเป็นกายภาพที่สามารถมองเห็นได้ ขณะที่กายในหรือกายทิพย์เป็นกายส่วนที่เป็นพลังงานเรืองแสง ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นโดยที่กายชนิดดังกล่าวจะแทรกซ้อนอยู่ในกายเนื้อที่สามารถมองเห็นได้นี่เอง
*เคล็ดวิชา “5 กระบวนท่า” ของทิเบตขั้นสูง (ต่อ)”* กระบวนท่าที่ห้า “กระตุ้นเซลล์สมองด้วยท่าพีระมิด” (1) ก่อนอื่นคุกเข่าฝึกลมปราณสลับรูจมูกแบบ “ปราณายามะ” ในกระบวนท่าที่สามเป็นจำนวน 3 ครั้ง จากนั้นกางแขนเสมอไหล่แตะพื้น ยืดลำตัวออกไปให้ตรงใช้ปลายเท้ารองรับน้ำหนักตัวเหมือนกำลังอยู่ในท่าวิดพื้น ศีรษะ ลำคอ ร่างกายท่อนบน ขาอยู่ในแนวเส้นตรงจงนิ่งอยู่ในท่านี้ ชั่วครู่เพื่อภาวนาถึงพลังศักดิ์สิทธิ์ (พลังกุณฑาลินี) ภายในตัวให้มาช่วยให้ร่างกายเราแข็งแรง ดังที่เคยทำกับกระบวนท่าก่อนๆ กระบวนท่านี้ยังมีประสิทธิผลที่ดีกับตับ และกระดูกสันหลังเป็นพิเศษอีกด้วย
*เคล็ดวิชา “5 กระบวนท่า” ของทิเบตขั้นสูง (ต่อ)”* กระบวนท่าที่หนึ่ง “ให้พลังดินกับพลังฟ้ามาบรรจบกันในท่ายืนกางแขน (ท่ายืนกากบาท)” (1) ก่อนอื่นยืนตัวตรงเท้าแตะพื้นเต็มฝ่าเท้า ยกมือทั้งสองไขว้กันบริเวณหน้าอก มือขวาทับมือซ้าย จากนั้นให้ภาวนาถึงพลังศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในตัวเรา ขอให้พลังศักดิ์สิทธิ์นั้นจงมาช่วยกระตุ้นจักระทั้งหลายในร่างกายของเรา ขอให้ปราณจำนวนมากจงไหลเข้ามาในตัวเรา มาช่วยชำระอวัยวะภายในของเราให้สะอาด และขอให้จักระต่างๆ ของเราได้รับการปลุกให้ตื่น เราต้องไม่ลืมว่า “การภาวนา” มีความสำคัญที่สุดในการบริหารร่างกายแนวเร้นลับ เนื่องจากการภาวนาต่อพลังศักดิ์สิทธิ์ จะช่วยดึงพลังจิตที่เข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ของตัวเราออกมา รวมทั้งยังช่วยชำระจิตใจของเราให้สะอาดด้วย
*เคล็ดวิชา “5 กระบวนท่า” ของทิเบตขั้นสูง”* ผมเขียนข้อเขียนชุดนี้ขึ้นมาก็เพื่อ ติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ และต้องการชะลอวัยไปพร้อมๆ กัน เพื่อเตรียมรับมือกับ “สังคมคนสูงวัย” ที่กำลังจะมาเยือนสังคมไทยในอนาคตอันใกล้ ปัจจุบันนี้ ผู้คนเริ่มตื่นตัวเรื่องสุขภาพมากกว่าแต่ก่อน ผมแลเห็นคนสูงวัยมากหน้าหลายตาไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะมากกว่าคนวัยหนุ่มสาวเสียอีก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การออกกำลังกายของพวกเขาส่วนใหญ่เป็นแค่การเดินเหยาะในสวนสาธารณะ หรือไม่ก็เป็นการรำมวยจีนอย่างงูๆ ปลาๆ เท่านั้น จะหาคนที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการชะลอวัยอย่างที่เป็นศาสตร์และศิลป์ได้ยากมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง
*กระบวนท่าที่หกในวิชา “5 กระบวนท่า” ของทิเบต* หลังจากที่ปีเตอร์ เคลเดอร์ ผู้เขียนหนังสือ “เคล็ดลับโบราณของแหล่งน้ำพุแห่งความเป็นหนุ่มสาว” (ค.ศ. 1939) ได้ทดลองฝึกกระบวนท่าทั้งห้าของทิเบตเป็นเวลาสามเดือน จนกระทั่งเห็นผลปรากฏออกมาอย่างชัดเจน ผู้พันแบรดฟอร์ดได้บอกกับเคลเดอร์ว่า ตอนนี้ตัวเขาอายุ 73 ปีแล้ว เคลเดอร์แทบไม่เชื่อสายตาเลย เพราะดูไปผู้พันแบรดฟอร์ดดูเหมือนมีอายุแค่สี่สิบต้นๆ เท่านั้นเอง (ดูอ่อนเยาว์ลง 30 ปี)
*วิธีกายบริหาร “5 กระบวนท่า” ของทิเบตได้ผลจริงหรือ?* วิธีกายบริหาร “5 กระบวนท่า” ของทิเบต (The Five Tibetan Rites) ที่อยู่ในหนังสือ “เคล็ดลับโบราณของแหล่งน้ำพุแห่งความเป็นหนุ่มสาว” ของปีเตอร์ เคลเดอร์นั้น เป็นที่ฮือฮาและแพร่หลายมากในโลกตะวันตก จนกระทั่งแทบกลายเป็นความเชื่อกึ่งงมงายของผู้คนบางกลุ่มว่า “5 กระบวนท่า” ของทิเบตนี้สามารถเป็น “ปาฏิหาริย์” ที่จะหยุดความแก่ ช่วยลดน้ำหนักตัวลงอย่างฮวบฮาบ รักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคร้ายทั้งปวงได้
*“เคล็ดลับโบราณของแหล่งน้ำพุแห่งความเป็นหนุ่มสาว” ของ ปีเตอร์ เคลเดอร์ (ต่อ)* ผู้พันแบรดฟอร์ดได้ถ่ายทอดเคล็ดลับโบราณเพื่อการชะลอวัยที่ตัวเขาได้เรียนรู้ และฝึกฝนมาจากวิหารลี้ลับในเทือกเขาหิมาลัยให้แก่ ปีเตอร์ เคลเดอร์ หลังจากที่ได้อธิบายตำแหน่งของวอร์เท็กซ์ หรือจักระทั้งเจ็ดแห่งในร่างกายมนุษย์ไปแล้วว่า...
*“เคล็ดลับโบราณของแหล่งน้ำพุแห่งความเป็นหนุ่มสาว” ของปีเตอร์ เคลเดอร์* ในความเข้าใจของผม “ศาสตร์ชะลอวัย” ในระดับชาวบ้านของโลกตะวันตกในยุคบุกเบิกนั้น อิงอยู่กับภูมิปัญญาเร้นลับและโบราณของศาสตร์ตะวันออกอย่าง วิชาโยคะ โดยเริ่มต้นจากหนังสือเล่มหนึ่งของปีเตอร์ เคลเดอร์ (Peter Kelder) ชื่อ “The Eye of Revealation” อันเป็นหนังสือเล่มบางๆ เพียงไม่กี่สิบหน้าที่ตีพิมพ์ออกมาในปี ค.ศ. 1939 (ต่อมาได้รับการตีพิมพ์ใหม่เป็นที่แพร่หลายในชื่อ “Ancient Secret of the Fountain of Youth” ในปี ค.ศ. 1985)
*จีโนมมนุษย์กับการแพทย์เชิงโมเลกุลและศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ* ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ประมาณ 100 ล้านล้านเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 0.1 มิลลิเมตร ภายในแต่ละเซลล์มีนิวเคลียส ภายในนิวเคลียสมี จีโนม (Genome) จีโนม คือ ยีน (Gene) ครบชุดสมบูรณ์ของมนุษย์ที่อยู่บน โครโมโซม (Chromosome) ทั้งหมด 23 คู่ (คำว่า จีโนม มาจากการสนธิคำว่า ยีนกับโครโมโซม นั่นเอง)
*วิชันของศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ* การบำรุงรักษาให้ร่างกายของเรา หรือระบบสรีระของเราให้คงสภาพหนุ่มสาวหรือความเยาว์ไว้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือเป้าหมายของศาสตร์ชะลอวัย ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยโมเดลแบบใดก็ตาม ผลพวงที่ได้จากการชะลอวัยนั้นนอกจากจะได้ความเยาว์วัยของสรีระ (เสื่อมช้า) แล้วยังได้สุขภาพที่ดี ไม่ป่วยและอายุยืนยาวตามมาอีกด้วย
*ตัวตนกับร่างกายแบบกลไกควอนตัม* คนเราเป็นทั้งสิ่งมีชีวิตทางกายภาพ และสิ่งมีชีวิตทางควอนตัม ชีวิตเราจึงดำรงอยู่ในหลายมิติ ณ ขณะนี้เราอยู่ในที่สองแห่งพร้อมกัน แห่งหนึ่งคือ โลกทางกายภาพที่เรามองเห็นและรู้สึกได้ อันเป็นโลกซึ่งร่างกายเราอยู่ในความควบคุมของพลังธรรมชาติ ภายนอกทั้งหมดไม่ว่าความเย็น ความร้อน แสงแดดหรือสายฝน รวมทั้งการโจมตีของเชื้อโรค และไวรัส ล้วนมีผลต่อร่างกายเราทั้งสิ้น
*ถ้าคนวัยห้าสิบในขณะนี้จะมีอายุถึงร้อยปี* หากตอนนี้ คุณอยู่ในวัยกลางคน การจะจินตนาการว่าตัวเองจะเป็นอย่างไรเมื่ออายุ 100 ปี คงจะกลายเป็น การก้าวกระโดดทางความคิด พอๆ กับการให้เด็กอายุสองขวบ ลองจินตนาการถึงตัวเองเมื่ออายุ 50 ปีเลยทีเดียว ในทางสังคม คนวัยห้าสิบเป็นวัยที่พอจะประเมินได้แล้วว่า คนผู้นั้นประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในชีวิต เพราะถ้าผู้นั้นแต่งงานมีครอบครัว ลูกๆ ของเขาก็คงโตแล้ว และถ้าหากอาชีพการงานของผู้นั้นมั่นคงพอ ความห่วงกังวลในชีวิตหลังจากนั้นของคนผู้นั้นก็น่าจะเหลือแต่เรื่องสุขภาพเท่านั้น
*การมีสำนึกรู้ที่เอนโทรปีรบกวนไม่ได้* ในทุกขั้นตอนของการเติบโตทางจิตวิญญาณของคนเรา ร่างกายของเราคือกัลยาณมิตรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เรามี หากแม้นความเป็นจิตวิญญาณหมายถึงการดำรงชีวิตอย่างบริบูรณ์ในปัจจุบันขณะแล้วไซร้ การมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ของเราด้วยร่างกายนี้ ย่อมเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นอันขาดเสียมิได้ ด้วยเหตุนี้เอง การเจริญสติและสมาธิภาวนาเพื่อทำให้กาย-จิต-ปราณของเราหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงน่าจะเป็นหนทางที่ถูกต้องสำหรับการชะลอวัยด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การพัฒนาจิตวิญญาณของคนเรา จะต้องไม่ถูกดำเนินไปในหนทางที่ปฏิเสธร่างกาย หรือรังเกียจร่างกายของตนเอง
*การต้านเอนโทรปี เพื่อการชะลอวัย* ในจักรวาลของเรามีสิ่งที่เรียกว่า เอนโทรปี (Entropy) อันเป็นแนวโน้มสากลในจักรวาลที่ทำให้ความเป็นระเบียบพังทลายไปสู่ความไร้ระเบียบ เอนโทรปีเป็นสิ่งที่ต้องเกิด โดยมันปรากฏขึ้นพร้อมกับบิ๊กแบง ความร้อน แสงสว่าง และรูปแบบอื่นๆ ของพลังงานที่เริ่มต้นพร้อมกับการกำเนิดของจักรวาล โดยที่พลังงานเหล่านั้นได้ลดจำนวนลง และการกระจายออกไปตามกาลเวลาขณะที่จักรวาลขยายตัว แนวโน้มของการกระจายและการเคลื่อนที่ของพลังงานไปยังบริเวณที่เข้มข้นน้อยลงคือ เอนโทรปี โดยที่เอนโทรปีเป็นลูกศรที่พุ่งไปทิศทางเดียว
*อันตรายของการไม่ใส่ใจกับการแก่ก่อนวัย* การมีความเข้าใจว่า จิตสำนึกเป็นเหมือนสนามควอนตัม นั้น จะนำเราไปสู่การทำความเข้าใจ ความแก่ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะนี่ย่อมหมายความว่า การเพิกเฉยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานของร่างกาย โดยเฉพาะความจำเป็นของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะนำไปสู่การทำลายสุขภาพของผู้นั้น และจะนำไปสู่ “การแก่ก่อนวัย” อย่างรวดเร็ว เพราะ การเพิกเฉยหรือการไม่ใส่ใจคือสัญลักษณ์ของการขาดจิตสำนึก ที่เห็นได้ชัด นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม ทั้งเรื่องของสุขภาพ หรือเรื่องของบ้านเมือง
สนามของควอนตัมอยู่เหนือความเป็นจริงในแต่ละวันของคนเรา และอยู่ใกล้ชิดอย่างยิ่งกับประสบการณ์ของคนเรา โดยผ่านการนึกคิดและการหายใจ เพราะแค่เรานึกถึงถ้อยคำจากความทรงจำ อารมณ์และจินตภาพบางอย่าง สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลง “สนาม” ทั้งหมดได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่า “เมื่ออิเล็กตรอนหนึ่งสั่นไหว จักรวาลก็สั่นไหวด้วย” ไม่มีการขยับของกิจกรรมใดๆ ในเซลล์ของเราที่ข้ามสนามของควอนตัมทั้งหมดไปโดยไม่เป็นที่สังเกต
การเปลี่ยนการแปลความหมายของร่างกายเราใหม่คือ การเริ่มต้นที่ดีที่สุดของ “การชะลอวัย” ทั้งนี้ก็เพราะว่า คนเราแต่ละคน แปลความหมายของประสบการณ์ ซึ่งรวมทั้งประสบการณ์ของการมีอยู่ของร่างกายเราตามความเชื่อค่านิยม สมมติฐาน และความทรงจำส่วนตัวของตน โลกทัศน์ของควอนตัมสอนเราว่า เรากำลังสร้างและไม่สร้างร่างกายเราอยู่ตลอดเวลา เบื้องหลังภาพลวงตาของการที่เห็นร่างกายเราเป็นวัตถุแข็ง และถาวรนั้น แท้ที่จริง ร่างกายเป็นกระบวนการอย่างหนึ่ง และตราบใดที่กระบวนการนั้นถูกนำไปสู่การเริ่มต้นใหม่ เซลล์ของร่างกายเราก็จะยังคงใหม่อยู่ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใดก็ตาม
การเปลี่ยนความแตกแยกไปสู่ความเป็นเอกภาพ, การเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่สันติ คือ จุดหมายของวิถีแห่งจิตวิญญาณทั้งปวง แม้ว่าโลกทัศน์ของควอนตัมในแง่ที่เป็นสมการ และข้อสมมติจะไม่ใช่เรื่องของจิตวิญญาณก็จริง แต่การค้นพบของเหล่าอัจฉริยะทางด้านควอนตัม ฟิสิกส์ ทั้งหลาย โดยเฉพาะ เออร์วิน ชโรดิงเจอร์ (1887-1961) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1933 จากทฤษฎีกลศาสตร์ของคลื่น ได้สรุปความเชื่อตลอดชีวิตของเขาว่า “จักรวาลเองเป็นจิตที่มีชีวิต”
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า คนเรามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ปฏิกิริยาตอบสนองของแต่ละบุคคลต้องผ่าน การเรียนรู้ และนี่เป็นจุดที่ความแตกต่างถือกำเนิดขึ้น การเรียนรู้เป็นการอาศัยจิตใจอย่างมาก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมากด้วย ในอีกด้านหนึ่ง ร่างกายของคนเรา ก็ถูกสร้างด้วยประสบการณ์ที่แปรเปลี่ยนเป็นการแสดงออกทางกายภาพ เซลล์ของเราถูกปลูกฝังความทรงจำของเราไว้ เซลล์ของเราดำเนินการสร้างประสบการณ์และเมตาบอลิสม์อย่างต่อเนื่องตามทัศนะส่วนตัวของเราเอง ด้วยเหตุนี้ ความแก่จึงมิใช่อะไรอื่น แต่เป็นชุดของการเปลี่ยนรูปที่ผิดพลาด เป็นกระบวนการที่ควรรักษาความเสถียร ความสมดุล และการสร้างตัวเองขึ้นใหม่ แต่กลับเบี่ยงเบนไปจากที่ควรเป็น แล้วปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
*ร่างกายของเราเป็นสิ่งที่ไม่มีแก่นสาร แต่คิดเป็น* (2) ข้อสันนิษฐานใหม่ประการที่สอง “ร่างกายเราประกอบด้วยพลังงาน และข้อมูลข่าวสาร” (จากหนังสือ “ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา” ของ ดีปัก โชปรา, สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2551) ร่างกายของคนเราดูเหมือนประกอบด้วยสสารที่เป็นของแข็ง ซึ่งสามารถแยกสลายเป็นโมเลกุลและอะตอม แต่ควอนตัมฟิสิกส์กลับบอกว่า ทุกอะตอมมีพื้นที่ว่างมากกว่า 99.999% มีอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสงผ่านช่องว่างนี้ ซึ่งอนุภาคนี้ที่จริงก็คือพวงมัดของพลังงานที่สั่นไหว (bundles of vibrating energy) นั่นเอง
*แทนที่โลกทัศน์เก่า ด้วยโลกทัศน์ใหม่แบบควอนตัม* เคล็ดลับการชะลอวัย และการมีอายุยืนอย่างบูรณาการของผม สามารถสรุปสั้นๆ และเรียงลำดับการฝึกฝนปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้ “ก่อนอื่น จะต้อง อบรมความคิดของตนเองให้แหลมคม เพื่อทะลวงข้อจำกัดทางความคิดของตนเอง เกี่ยวกับการชะลอวัย และการมีอายุยืนถึงร้อยปี หรือกว่านั้นให้ได้เสียก่อน จากนั้นก็ต้อง ฝึกฝนร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงเปี่ยมไปด้วยพลังชีวิต เพื่อรองรับความท้าทายที่จะมีอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้นอย่างแข็งแรงและแก่ช้า นอกจากนี้จะต้อง บ่มเพาะพลังปราณและคุณธรรมในตัวเองให้ลึกล้ำยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มพูนพลังบุญบารมีของตัวเองควบคู่กันไปด้วย สุดท้ายจะต้อง ยกระดับจิตวิญญาณของตัวเองให้สูงส่งยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อความรักแด่สรรพชีวิตทั้งปวง”
*การเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์จากการแพทย์เชิงกายภาพสู่การแพทย์เชิงกายจิตสู่การแพทย์เชิงควอนตัม-บูรณาการ*หากมองจากมุมมองของการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ ผมคิดว่าทิศทางของการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ทางการแพทย์ น่าจะแบ่งได้เป็น 3 ยุคตามทิศทางต่อไปนี้คือ ยุคที่หนึ่ง การแพทย์เชิงกายภาพ (Physical Medicine) เป็นการแพทย์กระแสหลักในศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 โดยประมาณ โดยเป็นการแพทย์เชิงวัตถุและกลไก (mechanical, material medicine) และยังเป็นการแพทย์ที่ใช้แนวคิดฟิสิกส์ดั้งเดิม หรือแนวคิดยุคคลาสสิกเกี่ยวกับพื้นที่-เวลา และสสาร-พลังงานมาอธิบาย ซึ่งวิธีการมองแบบนี้ จิตใจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการรักษาทางการแพทย์ เพราะมองว่าใจคือผลพวงของกลไกทางสมองเท่านั้น วิธีการรักษาของการแพทย์ที่ใช้กระบวนทัศน์แบบนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบที่กระทำต่อร่างกาย เช่น การใช้ยา การผ่าตัด การฉายแสง เป็นต้น
*“แรงดันไฟฟ้า” ในร่างกายมนุษย์* เราได้กล่าวไปแล้วว่า กระบวนทัศน์หรือตรรกะความคิดพื้นฐานของการแพทย์แผนปัจจุบัน น่าจะมีปัญหา จึงทำให้ในช่วงหลายสิบปีมานี้มีโรคเสื่อมเรื้อรังมากมายที่ไม่อาจรักษาได้ และยังไม่มีสักโรคเลยที่ถูกจัดการหรือถูกพิชิตได้ โดยที่สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากการขาดการมองร่างกายในฐานะที่เป็นระบบที่เป็นองค์รวมแห่งพลังงานละเอียด หรือพลังงานชีวิต
*ความสงสัยที่มีต่อกระบวนทัศน์ของการแพทย์แผนตะวันตก* ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์มากที่สุด มีทฤษฎีในด้านการดูแลสุขภาพมากที่สุด แต่สหรัฐอเมริกากลับมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ติดอันดับโลก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างฉุดไม่อยู่ เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวเท่านั้น หากแต่เป็นปัญหาร่วมกันของหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย จนอดไม่ได้ที่เราจะต้องตั้งคำถามขึ้นมาว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า สุขภาพของเรากำลังหลงทาง? เป็นไปได้หรือไม่ว่า แนวทางการเสริมสร้างสุขภาพภายใต้กระบวนทัศน์ของการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพพอ?