สองเซน
จากปรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง (ค.ศ.638-713) ผู้สืบทอดพุทธธรรมแบบเซนจากปรมาจารย์รุ่นที่ห้าท่านอาจารย์ฮุงเจ็น (ค.ศ.601-674) อีกเพียงไม่กี่สิบปีเท่านั้นการเคลื่อนไหวของเซนในจีนก็เข้าสู่ช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุดในยุคของราชวงศ์ถังและรุ่งเรืองอยู่ถึง 150 ปีในช่วงนี้มีปรมาจารย์เซนที่โดดเด่นอยู่สองท่านคือท่านอาจารย์หม่าจื่อ (ค.ศ.709-788) กับปรมาจารย์ซื่อโถว (ค.ศ.700-790) ทั้งสองท่านล้วนเป็นศิษย์รุ่นหลานของปรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง
ท่านอาจารย์หม่าจื่อมีศิษย์เอกคือไป่ซาง (ค.ศ.749-814) ขณะที่ศิษย์เอกของไป่ซางคือฮวงโป (มรณะค.ศ.850) และศิษย์เอกของฮวงโปคือหลินจี่ (รินไซในภาษาญี่ปุ่น) (มรณะค.ศ.867) ซึ่งแนวทางและสำนักของหลินจี่ได้กลายมาเป็นกระแสหลักและเป็นสำนักที่ใหญ่และทรงอิทธิพลที่สุดทั้งในจีนญี่ปุ่นเกาหลีและที่อื่นๆทั่วโลกหลังจากนั้น
เซนที่ชาวโลกทั่วไปในปัจจุบันรู้จักและเข้าใจคือเซนแบบหลินจี่ (รินไซ) ที่สืบสาวต้นตอย้อนไปได้ถึงหม่าจื่อและฮุ่ยเหนิงนั่นเองในขณะที่แนวทางการฝึกจิตแบบเซนของปรมาจารย์ตั๊กม้อที่ถ่ายทอดให้แก่ฮุ่ยเค่อ (ค.ศ.487-593) จนมาถึงเต้าซิน (ค.ศ.580-651) และฮุงเจ็น (ค.ศ.601-674) นั้นยังเป็นแนวทางฝึกจิตที่คล้ายคลึงกับในสมัยพุทธกาลคือมุ่งบำเพ็ญสมาธิจนเกิดปัญญาในการตระหนักรู้พุทธะภาวะที่ดำรงอยู่ในตนอันเป็นการฝึกเซนแบบ นิ่ง ในความนิ่งสงบเน้นการฝึกนั่งสมาธิวิปัสสนาเป็นหลักโดยมีพื้นฐานอยู่ที่การทำให้กายจิตและปราณรวมกันเป็นหนึ่งเดียวจนเข้าสู่ภาวการณ์ตระหนักรู้อันยิ่ง (มหาสติ) อันเป็นสภาวะไร้ใจ (นิรรูป)
แต่เซนแบบหลินจี่ซึ่งมีต้นตอมาจากฮุ่ยเหนิงนั้นเป็นแนวทางการฝึกจิตแบบที่เรียกได้ว่าเป็นการฝึกเซนแบบ นิ่ง ในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันคือมีจุดเน้นที่ตรงกันข้ามกับแบบแรกความต่างอันนี้เห็นได้ชัดเจนว่ามาจากประสบการณ์ในการรู้แจ้งของฮุ่ยเหนิงที่ได้จากการทำงานใช้แรงงานในวัดโดยที่ตัวเขาเองไม่รู้หนังสือนั่นเองเซนแบบฮุ่ยเหนิงและหลินจี่จึงเป็นแนวทางในการรู้แจ้งที่ไม่พึ่งพาทฤษฏีคำสอนเชิงวิชาการภาษาและการใช้สติปัญญาครุ่นคิดในการเข้าถึงธรรมะโดยเฉพาะการเข้าถึงพุทธธรรมถ้าพูดแบบชื่นชมแนวทางนี้คือแนวทางที่ปฏิวัติที่แปลกใหม่ในการปลุกคนให้ตื่นในพุทธะภาวะของตนโดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับคัมภีร์ศาสนาพุทธดั้งเดิมแต่ถ้าพูดแบบไม่เห็นด้วยนักแนวทางนี้ก็คือแนวทางที่เบี่ยงเบนไปจากแนวทางการฝึกจิตในสมัยพุทธกาลโดยยังมีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือการรู้แจ้ง
ในเมื่อเซนกระแสหลักในจีนได้กลายเป็นเซนแบบฮุ่ยเหนิงและหลินจี่ไปอย่างเต็มตัวแล้วจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เซนกระแสรองในจีนจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่กลับหวนไปหาจุดเริ่มต้นของเซนในจีนนั่นคือเซนแบบตั๊กม้อสำนักเซนกระแสรองที่ผลักดันมาในทิศทางนี้อย่างเอาการเอางานที่สุดคือสำนักเฉาตุงซึ่งรู้จักกันดีในภาษาญี่ปุ่นว่าโซโตสำนักโซโตนี้เกิดขึ้นในจีนหลังสำนักรินไซ (หลินจี่) อยู่หนึ่งรุ่นเป็นสำนักที่ไม่โดดเด่นนักในจีนแต่กลับไปงอกงามในประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านปรมาจารย์โดเง็น (ค.ศ.1200-1253) อัจฉริยะทางจิตชาวญี่ปุ่นผู้ยากพบพานในรอบหนึ่งพันปีและมีชื่อเสียงก้องโลกในยุคปัจจุบันนี้