36. ไปแสวงธรรมในจีน

36. ไปแสวงธรรมในจีน




ไปแสวงธรรมในจีน
     


แม้ในตอนแรกพระหนุ่มโดเง็นจะยังไม่เคยได้รับการฝึกฝนในแบบเซนมาก่อนก็ตามแต่ทิศทางการตั้งคำถามของโดเง็นย่อมนำตัวเขาไปสู่การแสวงหาคำตอบในแบบเซนจนได้อันที่จริงในญี่ปุ่นขณะนั้นเซนยังเป็นนิกายใหม่ที่พระญี่ปุ่นชื่อเอไซ (..1141-1215) ได้นำเอาเซนสายรินไซเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่นก่อนโดเง็นเกิดเพียงไม่กี่ปีเท่านั้นและพอโดเง็นบวชพระพระเอไซก็มรณภาพไปก่อนแล้วจึงไม่มีครูเซนที่แท้จริงในญี่ปุ่นที่จะให้คำตอบที่เป็นที่พึงพอใจแก่พระหนุ่มโดเง็นได้


โดเง็นจึงตัดสินใจออกไปแสวงธรรมในจีนซึ่งเป็นเมกกะของนิกายเซนในยุคนั้นในปี..1223 โดเง็นหวังว่าประเทศจีน (ซ้องใต้) คงจะช่วยเขาไขปริศนาที่เขาสงสัยอยู่ได้โดยหารู้ไม่ว่านิกายเซนในซ้องใต้สมัยนั้นก็เข้าสู่ยุคเสื่อมถอยจากพุทธธรรมพระสัทธรรมมิได้รุ่งเรืองเหมือนในยุคราชวงศ์ถังอีกต่อไปแล้วเพียงแต่ซ้องใต้ (จีน) ยังโชคดีกว่าญี่ปุ่นหน่อยที่ยังพอมีครูเซนที่แท้หลงเหลืออยู่บ้างแม้มีจำนวนเพียงน้อยนิดให้พระหนุ่มโดเง็นผู้มีวาสนาทางธรรมได้พบเจอจนสามารถได้รับการถ่ายทอดพุทธธรรมและพระสัทธรรมกลับมา


โดเง็นเดินทางเสาะหาครูเซนที่แท้อยู่สองปีจึงมีวาสนาได้พบกับท่านอาจารย์เนียวโจเจ้าอาวาสวัดเท็นโดซังท่านอาจารย์เนียวโจเป็นพระเซนสายโซโตภายใต้การชี้แนะของท่านอาจารย์เนียวโจผู้เป็นคุรุโดเง็นใช้เวลาเพียง 2 ปีเท่านั้นเขาก็มีประสบการณ์โดยตรงแห่งการรู้แจ้ง (ซาโตริ) ด้วยตัวของเขาเองซึ่งเขาเรียกประสบการณ์อันบริสุทธิ์นั้นว่าการหลุดร่วงของกายและใจหลังจากที่โดเง็นบรรลุธรรมแล้วเดินทางกลับไปญี่ปุ่นเพียงหนึ่งปีท่านอาจารย์เนียวโจก็มรณภาพราวกับว่าตัวท่านมีชีวิตเพื่อรอเจอศิษย์เอกของท่านคนนี้และหลังจากที่ท่านได้ถ่ายทอดพุทธธรรมให้กับศิษย์เอกอย่างโดเง็นคนนี้แล้วท่านจึงค่อยละร่างก็ไม่ปาน


ท่านอาจารย์เนียวโจมักพร่ำสอนว่าการนั่งสมาธิ (ซะเซน) เป็นความสุขอย่างหนึ่งทำไมพวกเธอไม่หมั่นนั่งสมาธิเล่า?”


ก่อนที่โดเง็นจะซาโตริ” (บรรลุธรรม) มีอยู่วันหนึ่งท่านอาจารย์เนียวโจได้แสดงธรรมให้แก่ตัวเขาว่า


พระสมณโคดมพุทธเจ้าได้ถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่
พระกัสสปพุทธเจ้าและพระกัสสปพุทธเจ้าได้
ถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่พระพุทธเจ้าองค์อื่นก่อนหน้านี้
คือพระโกนาคมพุทธเจ้าพระกกุสันธพุทธเจ้า
พระเวสสภูพุทธเจ้าพระสิขีพุทธเจ้าและพระวิปัสสี
พระพุทธเจ้าสืบทอดกันมาเช่นนี้จนถึงปัจจุบัน


โดเง็นได้ฟังเช่นนั้นก็กล่าวแย้งอาจารย์ของเขาทันทีว่า


แต่อาจารย์ครับพระสมณโคดมเกิดภายหลังพระพุทธเจ้า
องค์อื่นๆมิใช่หรือครับและพระกัสสปพุทธเจ้าก็
ทรงปรินิพพานไปตั้งนานแล้วก่อนพระสมณโคดม
พุทธเจ้าประสูติมิใช่หรือครับการที่อาจารย์กล่าวเช่นนี้
เป็นสิ่งที่ผิดตรรกะไม่สอดคล้องกับเหตุผลนะครับ


พระอาจารย์เนียวโจตอบกลับทันทีว่า


โดเง็นเหตุผลแบบเธอต่างหากที่เป็นเหตุผลของ
เดียรถีย์ ! สำหรับพวกเราแล้วการที่พระสมณโคดม
ถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่พระกัสสปพุทธเจ้าและ
พระกัสสปพุทธเจ้าก็ถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่
พระสมณโคดมด้วยจึงเป็นการถ่ายทอดพุทธธรรม
ของศาสดาทั้งหลายของเหล่าพุทธะทั้งหลายที่แท้จริง


ปุถุชนคนธรรมดาย่อมต้องเห็นด้วยกับคำโต้แย้งของโดเง็นและเห็นว่าคำสอนและคำตอบของท่านอาจารย์เนียวใจนั้นหลุดโลกแต่ผู้มีปัญญาญาณอย่างโดเง็นพอได้ฟังคำตอบจากอาจารย์ของเขาเท่านั้นก็ตาสว่างเกิดปัญญาจักษุแจ่มแจ้งในความหมายที่แท้จริงของการถ่ายทอดพุทธธรรมในศาสนาซึ่งต้องก้าวข้ามมิติของเวลาทางประวัติศาสตร์อันเป็นการก้าวข้ามทางตรรกะเหตุผล (transrational) อย่างหนึ่ง


การหลุดร่วงไปของตัวตนเก่าของโดเง็นบังเกิดขึ้นพร้อมๆกับการหลุดร่วงไปจากเวลาทางประวัติศาสตร์ที่ถูกจำกัดเป็นเส้นตรงระหว่างพระกัสสปพุทธเจ้ากับพระสมณโคดมพุทธเจ้าที่ถูกสลัดทิ้งไปพร้อมกับวิธีคิดที่แข็งทื่อเถรตรงและคับแคบประสบการณ์ในการค้นพบตัวตนที่แท้จริงและข้ามพ้นตัวตนเก่าของตัวเองไปได้เป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุดและมีความหมายที่สุดในชีวิตของโดเง็นจนทำให้เขากลายเป็นยอดคนในเวลาต่อมา
 







Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้