45. ครูเซนเกาหลีคนหนึ่ง

45. ครูเซนเกาหลีคนหนึ่ง




ครูเซนเกาหลีคนหนึ่ง
 


ซุงซานเกิดในปี.. 1927 ในซุนซอนเกาหลีเหนือขณะนั้นเกาหลีตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกองทัพญี่ปุ่นเสรีภาพทางการเมืองและวัฒนธรรมถูกจำกัดในปี..1944ซุงซานเด็กหนุ่มวัยแค่ 17 ปีได้กระโจนเข้าร่วมขบวนการใต้ดินเพื่อปลดปล่อยเกาหลีให้เป็นอิสระจากจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นแต่ภายหลังจากที่ซุงซานเข้าร่วมขบวนการปลดแอกนี้ได้ไม่กี่เดือนเขาก็ถูกทางการญี่ปุ่นจับตัวแต่ก็หลบหนีออกมาได้ก่อนที่จะถูกประหารชีวิต


หลังจากที่หลบหนีออกมาได้แล้วซุงซานกับเพื่อนอีกสองคนได้พยายามเข้าไปเป็นทหารปลดแอกของฝ่ายปฏิวัติแต่ไม่สำเร็จเพราะไม่อาจเข้าไปถึงฐานที่มั่นของฝ่ายปฏิวัติเกาหลีที่อยู่ในชนบทกันดารได้ดังนั้นซุงซานจึงตัดสินใจเข้าเรียนต่อเป็นนักศึกษาปรัชญาการเมืองตะวันตกในมหาวิทยาลัยดงกุกพร้อมกับทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองไปด้วยแต่ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือค้นคว้าทางวิชาการซุงซานได้พบว่าตัวเขาไม่สามารถช่วยเหลือชาติและประชาชนของเขาด้วยวิถีทางการเมืองหรือทางวิชาการได้อย่างแท้จริงเพราะแม้แต่ตัวเขาเองก็ยังไม่อาจค้นพบสัจธรรมเลยซุงซานจึงตัดสินใจโกนหัวตัวเองแล้วหมกตัวเองอยู่ภายในภูเขาโดยเขาสาบานกับตัวเองไว้ว่าเขาจะไม่ลงจากเขาเป็นอันขาดหากตัวเขาไม่มีดวงตาเห็นธรรม


สามเดือนแรกที่ซุงซานเก็บตัวอยู่บนภูเขาเขาศึกษาตำราลัทธิขงจื้อหลายเล่มแต่เขาไม่ได้รับความอิ่มเอมใจจากคำสอนของลัทธิขงจื้อเลยมีอยู่วันหนึ่งเพื่อนของเขาที่บวชเป็นพระอยู่ในวัดเล็กๆแห่งหนึ่งบนภูเขาที่เขามาหมกตัวค้นหาสัจธรรมอยู่นั้นได้เอาคัมภีร์วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร(ฉบับเดียวกับที่ปรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงเคยได้ยินแล้วดวงตาเห็นธรรม) ให้เขาอ่านนี่เป็นครั้งแรกที่ซุงซานได้รู้จักพุทธศาสนาอย่างแท้จริง


ที่ใดที่มีรูปลักษณะที่นั่นมีมายา
ถ้าสามารถเห็นแจ้งว่า
ธรรมชาติของรูปลักษณะทั้งปวงไร้รูป
ก็ย่อมเห็นตถาคตได้” (วัชรเฉทิกฯ)


เมื่อซุงซานอ่านคัมภีร์วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตรมาได้ถึงข้อความนี้จิตใจของเขาบังเกิดความกระจ่างอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนสามสัปดาห์หลังจากนั้นเขาได้ตะลุยอ่านคัมภีร์ต่างๆของศาสนาพุทธด้วยความกระหายและตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุในเดือนตุลาคมปี..1948


ซุงซานรับรู้และเข้าใจพระสูตรต่างๆแล้วเขาตระหนักได้ว่าสิ่งที่เขาขาดอยู่ในตอนนี้คือการปฏิบัติและประสบการณ์โดยตรงจากการปฏิบัติเท่านั้นเพราะฉะนั้นหลังจากที่บวชได้เพียงสิบวันเขาก็ขึ้นภูเขาและหมกตัวปฏิบัติเข้มอยู่บนภูเขาเป็นเวลา 100 วันเต็มในระหว่างนั้นเขาฉันอาหารที่เป็นแป้งเพียงเล็กน้อยต่อวันเท่านั้นในแต่ละวันเขาจะสวดคาถามหาธารณีติดต่อกันถึงวันละยี่สิบชั่วโมงและอาบน้ำที่เย็นจัดวันละหลายรอบ


มันเป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิบัติธรรมที่หนักมากครั้งหนึ่งในชีวิตของเขาถ้าหากไม่มีจิตใจที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและมีร่างกายที่แข็งแรงแล้วก็คงยากที่จะผ่านไปได้โดยไม่ล้มเลิกกลางคันซุงซานเองในช่วงที่เริ่มปฏิบัติเข้มใหม่ๆเขาก็เกิดความลังเลใจขึ้นมาหลายครั้งว่าทำไมตัวเขาถึงต้องมาทนลำบากลำบนเคี่ยวกรำตนเองอย่างหนักถึงขนาดนี้? ทำไมตัวเขาไม่ลงจากเขาแล้วไปแต่งงานมีครอบครัวใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป? มีอยู่คืนหนึ่งที่ความคิดนี้รุนแรงมากจนถึงขนาดที่เขาตัดสินใจเก็บสัมภาระเตรียมจะลงจากเขาในวันรุ่งขึ้นแต่พอรุ่งเช้าความคิดของเขาแจ่มชัดขึ้นและตัดสินใจบำเพ็ญต่อหลังจากนั้นอีกไม่กี่วันเขาก็เริ่มลังเลอีกแล้วเปลี่ยนใจบำเพ็ญต่อเป็นเช่นนี้อยู่ถึงเก้าครั้งกว่าที่ซุงซานจะสามารถควบคุมความคิดของตนเองได้และมุ่งมั่นบำเพ็ญต่อไปด้วยความแน่วแน่


หลังจากที่ซุงซานได้บำเพ็ญติดต่อกันเป็นวันที่ห้าสิบร่างกายของเขาอ่อนล้าจนถึงที่สุดเพราะตัวเขาแทบไม่ได้หลับนอนเลยช่วงนั้นเขาเห็นนิมิตที่น่ากลัวแทบทุกคืนแต่พอเขาบำเพ็ญติดต่อกันถึงวันที่แปดสิบนิมิตที่ซุงซานเห็นเริ่มกลับกลายเป็นนิมิตที่เปี่ยมไปด้วยปิติสุขเขานิมิตเห็นพระพุทธเจ้าบางครั้งก็นิมิตเห็นเหล่าพระโพธิสัตว์มาสอนพระสูตรเขาที่แปลกก็คือร่างกายที่เคยอ่อนล้าของเขากลับมาแข็งแรงขึ้นอีกครั้ง


ในวันครบวันที่หนึ่งร้อยของการบำเพ็ญติดต่อกันซุงซานออกไปเดินสวดมนต์อยู่นอกโบสถ์พร้อมกับเคาะไม้บักฮื้อไปด้วยฉับพลันเขาก็ตระหนักถึงความรู้สึกทางกายของเขาที่หายไปอย่างสิ้นเชิงตัวเขาหลอมละลายไปในที่ว่างอันไร้ขอบเขตเขาได้ยินเสียงเคาะของไม้ปักฮื้อที่ดังแว่วมาแต่ไกลและเสียงสวดมนต์ของตัวเขาเองเท่านั้นภาวะเช่นนี้ดำรงอยู่ชั่วขณะหนึ่งก่อนที่ซุงซานจะกลับมามีความรู้สึกทางกายอีกครั้งบัดนี้ซุงซานแจ่มแจ้งกระจ่างแจ้งด้วยใจของเขาแล้วว่าก้อนหินแม่น้ำและทุกสรรพสิ่งที่ตัวเขาแลเห็นได้ยินล้วนแล้วแต่เป็นตัวตนที่แท้จริงของเขาทุกๆสิ่งล้วนเป็นอย่างที่มันเป็นความจริงหรือสัจธรรมล้วนเป็นเช่นนี้เอง !


ซุงซานนอนหลับอย่างเปี่ยมสุขในคืนนั้นเช้าวันรุ่งขึ้นเมื่อเขาตื่นขึ้นมาเขาเห็นชายคนหนึ่งกำลังปีนเขาอยู่และมีอีกาหลายตัวกำลังโผบินออกจากต้นไม้เขาจึงเขียนบทโศลกบทหนึ่งออกมาว่า  


ถนนที่เชิงเขาว็อนกั๊ก(ชื่อภูเขาที่ซุงซานบำเพ็ญ)
มิใช่ถนนปัจจุบัน
ชายที่กำลังแบกเป้ปีนเขาขึ้นมา
มิใช่ชายคนเดิมในอดีต
เสียงย่างเท้าแต่ละก้าวของเขา
แทงทะลุอดีตและปัจจุบัน
ฝูงอีกาโผบินจากต้นไม้
ส่งเสียงร้องกากากา


หลังจากที่ซุงซานมีประสบการณ์ข้ามพ้นตัวตนแบบซาโตริแล้วเขาก็ลงจากเขาไปพบกับอาจารย์เซนเกาหลีที่ชื่อโคบองซึ่งเป็นศิษย์เอกของอาจารย์เซนเกาหลีที่ชื่อมั่งกงผู้โด่งดังซุงซานมาหาอาจารย์โคบองเพื่อทดสอบประสบการณ์ซาโตริของตัวเขาซุงซานเข้ามาหาอาจารย์โคบองพร้อมกับไม้บักฮื้อที่พระมหายานใช้เคาะตอนสวดมนต์


นี่คืออะไร?” อาจารย์โคบองหยิบไม้บักฮื้อมาเคาะซุงซานเองก็หวังให้อาจารย์โคบองทำเช่นนี้อยู่แล้วเขาจึงพูดเชิงถามกลับไปว่า


ผมควรฝึกเซนอย่างไรครับ ?”


อาจารย์โคบองกล่าวว่าครั้งหนึ่งมีพระรูปหนึ่งเคยถามอาจารย์เซนว่าทำไมตั๊กม้อถึงมาเมืองจีน?อาจารย์เซนกลับตอบว่าต้นสนในสวนด้านหน้าเธอเข้าใจความหมายของเรื่องนี้มั๊ย


ซุงซานเข้าใจดีแต่ตัวเขาไม่รู้ว่าจะตอบอาจารย์โคบองอย่างไรดีเขาจึงตอบไปว่า ผมไม่รู้ครับ


อาจารย์โคบองบอกว่าขอให้เธอรักษาใจที่ไม่รู้นี้เอาไว้ให้ดีเถิดนี่คือการฝึกเซนที่แท้จริงของตัวเธอ


หลังจากนั้นซุงซานมีโอกาสได้พบกับอาจารย์เซนเกาหลีอีกท่านหนึ่งชื่อชุงซองซุงซานก้มศีรษะคารวะอาจารย์ชุงซองก่อนพูดว่า


ผมได้ประหารเหล่าพุทธะทั้งในอดีตปัจจุบัน
และอนาคตท่านจะทำอย่างไร ?”

โอ้โฮอาจจารย์ชุงซองร้องอุทานแล้วมองอย่างลึกซึ้ง
เข้าไปที่ดวงตาของพระหนุ่มที่ชื่อซุงซาน
จากนั้นท่านถามเขาว่าเธอได้เห็นอะไร ?”

ท่านเข้าใจอยู่แล้วนี่ครับซุงซานตอบ

นี่คือทั้งหมดของเธอหรือ?” อาจารย์ชุงซองถามอีก


นกตัวหนึ่งกำลังร้องเพลงอยู่บนต้นไม้นอกหน้าต่างซุงซานตอบอาจารย์ชุงซองถามซุงซานอีกหลายคำถามซึ่งเขาตอบได้อย่างราบรื่นจนในที่สุดอาจารย์ชุงซองให้การยอมรับว่าซุงซานซาโตริ” (รู้แจ้ง) แล้วจากนั้นซุงซานจึงกลับมาพบท่านอาจารย์โคบองอีกครั้งเพื่อรับการทดสอบจิตหลังจากถูกทดสอบอย่างเข้มงวดคราวนี้อาจารย์โคบองให้การยอมรับในตัวซุงซานโดยที่เขาเป็นผู้สืบทอดพุทธธรรมแบบเซนเพียงคนเดียวต่อจากท่านอาจารย์โคบองโดยเป็นรุ่นที่เจ็ดสิบแปดในสายนี้ในเดือนมกราคมปี.. 1949 ซุงซานได้เป็นครูเซนเมื่อตัวเขามีอายุเพียง 22 ปีเท่านั้น


อาจารย์ซุงซานเป็นครูเซนเกาหลีคนแรกที่มาพำนักและเผยแพร่ธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี..1972 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันและได้สร้างคุณูปการอย่างมากมายต่อการเผยแพร่ภูมิปัญญาตะวันออกสู่โลกตะวันตกจนถึงปัจจุบันนี้

 





Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้