ภควัตคีตา
บทที่ 1 ความท้อแท้ของอรชุน
ท้าวธฤตราษฎร์ : สัญชัย คนของฝ่ายข้าและฝ่ายปาณฑพได้มาประจันหน้ากันที่ทุ่งกุรุเกษตรแล้วและต่างกระหายที่จะรบกันเต็มแก่ เขาได้ทำอะไรกันหรือ ?
สัญชัยซึ่งได้รับหูทิพย์และตาทิพย์จากท่านวยาส เป็นผู้ถ่ายทอดคำสนทนาต่อไปนี้ระหว่างอรชุนกับกฤษณะให้ท้าวธฤตราษฎร์ซึ่งมีพระเนตรบอดฟัง ...อรชุนได้กล่าวกับกฤษณะผู้เป็นทั้งเพื่อนและสารถีของเขาว่า
อรชุน : ท่านกฤษณะ โปรดเคลื่อนรถศึกของข้าไประหว่างกองทัพทั้ง 2 นั้นด้วย เพื่อข้าจะด้มองเห็นนักรบเหล่านี้ที่เตรียมรบอยูาแล้วว่าใครบ้างที่ข้าจะต้องรบด้วยในสงครามครั้งนี้ พวกเหล่านั้นมารวมกันอยู่ที่นี้ก็เพื่อเอาใจบุตรของธฤตราษฎร์ผู้ใจบาป
ครั้นเมื่อกฤษณะเคลื่อนรถศึกไปหยุดอยู่ท่ามกลางกองทัพทั้ง 2 แล้วบอกให้อรชุนดูหน้าพวกคุรุที่มารวมตัวกันอยู่ที่นี่ พออรชุนได้แลเห็นบรรดาลุง ปู่ ครู อาจารย์ อา ญาติ ลูกหลาน และเพื่อนฝูงแน่นขนัดอยู่ทั้ง 2 ข้างทาง อรชุนก็เกิดความรู้สึกสลดใจแล้วพูดออกมาด้วยความท้อแท้และสิ้นหวังว่า
อรชุน : ท่านกฤษณะ เมื่อข้าได้เห็นเผ่าพันธุ์ของข้าอยูในแนวรบร้อนรนที่จะประหัดประหารกัน แขน ขาข้าถึงกับอ่อนปวกเปียก ปากแห้ง ตัวสั่น ขนลุก ธนูคาณฑีพคู่ใจของข้าถึงกับหลุดจากมือ ผิวหนังร้อนผ่าว ยืนไม่อยู่ สมองของข้ารู้สึกวิงเวียนไปหมดแล้ว
กฤษณะ ข้าเห็นลางร้ายที่จะเกิดขึ้น ข้าจะหวังผลอันใดจากการฆ่าฟันญาตพี่น้องในสงครามครั้งนี้ เพราะตัวข้าไม่หวังทั้งชัยชนะ ราชสมบัติและความสุข อำนาจและชีวิตก็ไม่ใช่สิ่งที่ข้าแสวงหา คนเหล่านี้จ้าไม่ปรารถนาจะฆ่า แม้ว่าข้าจะถูกพวกเขาฆ่าก็ตาม ต่อให้ข้าได้ครองโลกทั้ง 3 โลก ข้าก็ยังไม่อยากได้ แล้วตัวข้าจะมาสู่รบเพื่อช่วงชิงอาณาจักรนี้ทำไมเล่า
กฤษณะ ถึงฆ่าพวกลูกของธฤตราษฎ์เหล่านั้นได้ ตัวข้าจะมีความปิติอะไรหรือการฆ่าคนระยะต่ำช้ารังแต่จะเป็นบาปแก่ตัวข้า ก็ในเมื่อคนเหล่านี้มีจิตใจที่เต็มไปด้วยความโลภครอบงำจนมองไม่เห็นโทษในการทำลายวงศ์ตระกูล แต่ตัวข้ามองเห็นแล้วจะไม่ให้ข้าหลีกเลี่ยงกรรมอันเป็นบาปนี้เชียวหรือ ท่านกฤษณะ
พอกล่าวจบ อรชุนก็ทรุดกายลงนั่งบนรถศึกพร้อมกับทิ้งคันธนูและลูกศรลงเสีย หัวใจของเขาท่วมท้นไปด้วยความเศร้าโศกและกลัดกลุ้ม
บทที่ 2 โยคะแห่งความรู้
ดังนั้น กฤษณะจึงได้กล่าวแก่อรชุนผู้มีน้ำตาคลอเบ้าและอยู่ในภาวะท้อถอยว่า
กฤษณะ : อรชุน ไฉนเธอถึงกลายเป็นคนอ่อนแอเช่นนี้ไปได้? จนอย่าไปสู่ความเหยาะแหยะเลย มันไม่เป็นการสมควรกับเธอ จงลุกขึ้นเถอะอรชุนทิ้งความมีใจอ่อนแออันเลวทรามต่ำช้านี้เสีย
อรชุน :ท่านกฤษณะ ข้าจะใช้ศรของข้ายิงใส่ภีษมและโทรณผู้เป็นครูที่ควรแก่การบูชาได้อย่างไรเล่า อันที่จริงต่อให้ข้ากลายเป็นขอทานก็ยังดีกว่าการฆ่าครู และยิ่งหากข้าฆ่าครูด้วยความกระหายทรัพย์สมบัติก็เท่ากับว่าข้าต้องกินอาหารอันชุ่มโชกไปด้วยโลหิต ข้าจะเป็นสุขได้อย่างไร? ข้าไม่รู้เลยว่าข้าควรชนะในสงครามนี้ดีหรือว่าควรจะแพ้ดี สิ่งที่ข้ากำลังรู้สึกอยู่ในขณะนี้เป็นความอ่อนแอของข้าหรือถูกมายาครอบงำกันแน่ ใจข้ามืดมนไปหมดแล้ว ข้าขอถามท่าน โปรดบอกข้าให้แน่ใจหน่อยเถอะว่าอย่างไหนดีกว่ากัน ข้าเป็นศิษย์ของท่านข้ายึดท่านเป็นที่พึ่งโปรดสั่งสอนข้าเถิดกฤษณะ เพราะข้าไม่เห็นทางว่าจะพ้นจากความเจ็บปวดรวดร้าวนี้ไปได้อย่างไร ต่อให้ข้าได้ครองอาณาจักรบนโลกนี้และบนสวรรค์ชั้นฟ้าก็ตาม
อรชุนกล่าวระบายความในใจออกมาแล้วและยืนกรานว่าเขาจะไม่ขอรบอย่างเด็ดขาดก่อนที่จะปิดปากเงียบ กฤษณะยิ้มให้แก่อรชุนอย่างอ่อนโยนก่อนที่จะกล่าวกับอรชุนว่า
กฤษณะ : อรชุน เธอกำลังเป็นทุกข์ถึงผู้ซึ่งหาควรเป็นทุกข์ด้วยหรือไม่ เธอพูดด้วยวาจาและเหตุผลอันหลักแหลม แต่เธอก็ยังหาได้เข้าใจความหมายอันลึกซึ้งแห่งถ้อยคำเหล่านั้นไม่ บัณฑิตหรือผู้รู้ที่แท้จริงย่อมไม่เสียใจถึงผู้ที่ยังอยู่หรือผู้ที่ตายไปแล้ว ไม่มีสมัยไหนเลยที่ตัวเรา ตัวเธอและคู่ต่อสู้ของเธอไม่ได้ดำรงอยู่ พวกเราไม่มีอนาคตที่จะต้องตายด้วย ผู้ที่อาศัยอยู่ในร่างกายแปรไปสู่ความเป็นเด็ก ความเป็นผู้ใหญ่และความเป็นผู้ชราเมื่อเขาตายไป ก็จะย้ายไปอาศัยร่างกายอื่นแทน ผู้มีปัญญาย่อมไม่หลงและเป็นทุกข์ในเรื่องอย่างนี้
อาการสัมผัสระหว่างวัตถุกับความรู้สึกทำให้เกิดหนาวเกิดร้อน เกิดสุขเกิดทุกข์ ถ่ายเทไปมาไม่ยั่งยืน อรชุน เธอต้องเผชิญกับมันด้วยความอดกลั้น บุคคลผู้ไม่หวั่นไหวต่อสัมผัสเหล่านี้ รับได้ทั้งสุขและทุกข์โดยไม่ยึดติด เขาผู้นั้นย่อมเหมาะแก่ความเป็นอมฤต สิ่งที่ไม่มีอยูย่อมปรากฏ สิ่งที่มีอยู่ย่อมไม่ไร้ภาวะ ผู้ที่เห็นความจริงแท้ที่อยู่ภายในย่อมรู้ถึงความมีอยู่และความไม่มีอยู่นี้ พึงรู้ไว้ด้วยว่า สิ่งซึ่งแผ่ไปทั่วมหาสากลจักรวาลนี้ย่อมไม่มีความพินาศ ใครๆก็ไม่อาจทำสิ่งที่ไม่เสื่อมนี้ให้พินาศไปได้
จิตซึ่งอาศัยอยู่ในร่าง(ศรีริณ) เป็นของเที่ยงแท้ ไม่พินาศ อยู่เหนือการจำกัดควบคุม แต่ร่างกายมีวันสิ้นสุด เพราะฉะนั้น จงรบเถิดอรชุน!!! มีคนนึกว่าศรีริณ (หรืออาตมัน) นี้เป็นผู้ฆ่าและคิดเอาว่าอาตมันนี้เป็นผู้ถูกฆ่า คนทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นคนไม่รู้ความจริงเลย อาตมันไม่ได้ฆ่าใครและก็ไม่ได้ถูกใครฆ่า อาตมันไม่เคยเกิด ไม่เคยตาย ไม่มีเริ้มต้น ไม่มีจุดจบ มันเป็ฯสิ่งยั่งยืนไม่เคยเปลี่ยนแม้ร่างกายตายแต่อาตมันไม่เคยตาย ผู้ซึ่งรู้ตัวว่าไม่พิเนาศ ยั่งยืน ไม่เกิด ไม่รู้จักเสื่อมสลาย ผู้นั้นจะฆ่าหรือถูกฆ่าได้อย่างไรเล่า อรชุน!!! เหมือนกับการเปลื้องทิ้งเสื้อผ้าที่เก่าคร่ำคร่าและขาดวิ่น แล้วสวมเสื้อตัวใหม่แทน ฉันใดก็ฉันนั้นผู้ที่อาศัยอยู่ในร่างกายย่อมทิ้งร่างกายย่อมมิ้งร่างเก่าเข้าสู้ร่างใหม่แทน อาวุธไม่ทำให้บาดเจ็บ ไฟไม่ทำให้ไหม้ น้ำไม่ทำให้เปียก ลมไม่ทำให้แห้ง นี่แหละคืออาตมัน อาตมันเป็นสิ่งที่สังเกตด้วยประสาทสัมผัสไม่ได้ คิดไปไม่ถึง ไม่เปลี่ยนภาวะ
เพราะฉะนั้น เมื่อเธอรู้ว่าเป็นดังนี้แล้วก็ไม่ควรโศกเศร้าอีกเลย ต่อให้เธอคิดว่าอาตมันมีเกิดมีตายเธอก็ไม่ควรเศร้าโศก เพราะมันเป็นเรื่องแน่ว่าผู้เกิดมาย่อมต้องตายและผู้ตายไปย่อมเกิดใหม่อีก ฉะนั้นเธอไม่ควรเสียใจในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาวะก่อนเกิดประสาทสัมผัสของคนไม่อาจสังเกตรู้ได้ รู้ได้แต่ในระหว่างช่วงเกิดจนตาย ภาวะหลังตายก็ไม่อาจสังเกตรู้ได้อีก แล้วเธอจะคร่ำครวญไปใย อรชุน!!! สิ่งที่สถิตย์อยู่ในร่างกายของคนทั้งหลายนี้ย่อมไม่สามารถทำลายได้อยู่เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น เธอไม่ควรเศร้าโศกถึงสิ่งมีชีวิตใดๆเลย ต่อให้พิจารณาจากหน้าที่โดยตรงของเธอนะอรชุน เธอก็ไม่ควรหวั่นไหว เพราะในนามของนักรบ ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าการทำสงครามเพื่อความเป็นธรรมแล้ว นักรบที่มีโอกาสได้ทำสงครามเช่นนี้ต้องถือเป็นโชคและความสุขของเขา แต่ถ้าเธอปฏิเสธที่จะทำสงครามที่เป็นธรรมเช่นนี้แล้วก็เท่ากับว่าเธอละหน้าที่ของเธอทำลายเกียรติของเธอ เธอจักกระทำกรรมอันเป็นบาป ชนทั้งปวงจะเล่าลือไปถึงความเสียชื่อของตัวเธอไปชั่วกาลนาน สำหรับผู้ที่มีจิตใจสูงนั้น ความเสียชื่อเสียงเป็นสิ่งร้ายยิ่งกว่าความตายเสียอีก จงลุกขึ้นสู้เถิดอรชุน!!! เตรียมพร้อมเพื่อรบแล้วเธอจะไม่บาปอย่างนี้
เราอธิบาย ความรู้ (สางขยะ) เกี่ยวกับอาตมันให้แก่เธอไปแล้ว คราวนี้เราจะสอนกรรมโยคะให้แก่เธอบ้าง หากเธอเข้าใจและปฏิบัติตามได้ เธอก็จะสามารถทำลายบ่วงโซ่ที่พันธนาการกรรมหรือการกระทำของเธอเอาไว้ได้ โยคะอันนี้ไม่มีเสียประโยชน์ในเบื้องต้นและเบื้องปลายเลย แม้ได้ปฏิบัติเพียงเล็กน้อยก็สามารถช่วยเธอให้หลุดจากความกลัวเกิดกลัวตายได้ ในโยคะอันนี้ผู้ที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวมั่นคงจะมุ่งเดินทางสายเดียว แต่ผู้ที่มีใจโลเลจะพะวงกับเรื่องปลีกย่อยจนไร้ทิศทาง
อรชุน ในคัมภีร์พระเวทอธิบายถึงคุณลักษณะ 3 ชนิดคือสัตวะ (ความดี) รชะ (พลังงาน) และตมะ (ความเฉื่อย) เธอจะต้องข้ามพ้นอยู่เหนือคุณลักษณะทั้ง 3 นี้ จงพ้นจากความเป็นคู่ รักษาจิตใจให้สงบนิ่ง ปลดเปลื้องจากความปรารถนาเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวงและเข้าถึงซึ่งอาตมัน
อรชุนเธอมีสิทธิอยู่ที่การกระทำเท่านั้น หาได้มีสิทธิในผลของการกระทำนั้นเลย จงอย่าให้ผลของการกระทำมาเป็นเหตุจูงใจในการกระทำของเธอ และจงอย่าหมกมุ่นต่อสิ่งที่ไม่ใช่งานของเธอ อรชุน เธอจงดำรงอยู่ในโยคะละความหมกมุ่นแล้วทำงานของเธอเถิด จงทำใจให้สงบนิ่งตลอดเวลา ปลดเปลื้องความยึดติดต่อผล ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว นี่แหละคือโยคะ งานที่ทำโดยหวังผลย่อมต่ำทรามกว่างานที่ทำโดยใจที่สงบนิ่งและละวางตนเอง เธอจงแสวงหาที่พึ่งในพุทธิ (ปัญญาความรอบรู้) เถิด ผู้ทำงานเพื่อตัวเองโดยหวังผลเป็นผู้น่าสมเพช ในโลกนี้ผู้ที่อยู่ในพุทธิย่อมละกรรมที่ทำไว้ทั้งดีและชั่ว ฉะนั้นเธอจงพยายามเพื่อประกอบโยคะเถิด นี่แหละคือเคล็ดลับในการกระทำทั้งหลายโดยไม่ยึดติด ผู้มีปัญญาย่อมละทิ้งตนเองสละผลของกรรมด้วยใจที่สงบนิ่ง เข้าถึงแสงสว่างหลุดพ้นจากเครื่องผูกพันคือการเกิดและเข้าถึงภูมิอันหาทุกข์มิได้ เมื่อจิตของเธอข้ามพ้นความมืดแห่งความหลงได้แล้ว เธอจะเข้าสู่ความเพิกเฉยต่อผลของการกระทำทั้งปวงไม่ว่าในปัจจุบันหรืออนาคต เมื่อใจของเธอหวั่นไหวต่อสิ่งที่ได้ยินมา เธอจงตั้งมั่นในสมาธิให้มั่นคง เมื่อนั้นเธอจะได้รับโยคะ
อรชุน : ท่านกฤษณะ ผู้ที่สถิตอยู่ในปรัชญา ยึดมั่นอยู่ในสมาธิ เขาจะพูดอย่างไรเล่า คนภายนอกจะพูดกับเขาได้อย่างไร เขาจะนั่งจะเดินอย่างไร จะอยู่อย่างไร จะเป็นอย่างไร?
กฤษณะ : เมื่อบุคคลละซึ่งความอยากทั้งปวงในหัวใจและมีความพอใจในอาตมัน เมื่อนั้นเขาย่อมได้ชื่อว่าผู้สถิตอยู่ในปรัชญาหรือผู้ตั้งมั่นในปัญญาเมื่อใจไม่เดือดร้อนไม่ทุกข์ ไม่ทะเยอทะยานในสุข ปราศจากความกลัว ความโกรธ เวลานั้นเรียกว่าเขาคือผู้มีปัญญาตั้งมั่น เมื่อไม่มีเสน่หาในสิ่งใดๆ ทั้งไม่ดีใจและไม่เสียใจปัญญาของเขาย่อมตั้งมั่น เมื่อสำรวมอินทรีย์จากอารมณ์ทั่วไปเหมือนเต่าที่หดขาทุกข้างเข้าในกระดอง ปัญญาของเขาย่อมตั้งมั่น
ผู้พยายามละเว้นกิเลศพยายามหนีจากความยึดติด แต่ความยึดติดยังตามมาต่อเมื่อผู้นั้นประสบสิ่งสูงสุด (ปรมัตถธรรม) เข้าแล้วย่อมดับสนิทได้ ผู้ที่ข่มอินทรีย์ของเขาได้ทั้งหมดย่อมอยู่ในสมาธิ ได้ชื่อว่าเห็นตัวเรา (อาตมา) ซึ่งเป็นอาตมัน ปัญญาของเขาย่อมมั่นคง ผู้ที่มีใจจดจ่อต่ออารมณ์ย่อมเกิดความผูกพันขึ้นในอารมณ์เหล่านั้น จากความผูกพันจึงเกิดเป็นึวามอยาก หากความอยากไม่สมหวังย่อมกลายเป็นความโกรธ จากความโกรธเกิดโมหะ จากโมหะเกิดการลืมสติ จากการลืมสติเกิดการเสื่อมเสียพุทธิ จากการเสื่อมเสียพุทธิชีวิตของเขาจะมีแต่ความพินาศ
ส่วนผู้ซึ่งมีจิตอยู่ใต้อำนาจเสวยอารมณ์ที่ปราศจากรักและชังย่อมได้รับความสงบ เมื่อมีความสงบทุกข์ทั้งปวงย่อมสิ้นไป ผู้ที่ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่สนใจในอาตมันไม่อาจตั้งใจในอาตมันได้ย่อมไม่สันติ แล้วจะมีสุขได้อย่างไรเพราะใจย่อมคล้อยไปตามอินทรีย์ที่เสวยอารมณ์และจูงจิตเหมือนลมที่พัดพาเรือในทะเล ดังนั้นผู้ที่ข่มอินทรีย์จากอารณ์ทั้งหลายได้ปัญญาของเขาจึงตั้งมั่น
กระแสกามไหลเข้าไปยังผู้มีปัญญา แต่เขาย่อมไม่หวั่นไหว ได้รับสันติเหมือนน้ำที่ไหลลงทะเลที่เต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำและไม่หวั่นไหวอยู่นั่น อรชุน สันตินี้เป็นภาวะของพรหม ผู้ที่ได้รับสันตินี้แล้วย่อมไม่งมงายลุ่มหลงแม้ในเวลาจะดับจิตหากสามารถตั้งอยู่ในภาวะนั้นได้แล้ว ย่อมได้รับนิรวาณ (ความดับ) แห่งพรหมได้
บทที่ 3 กรรมโยคะ
อรชุน : ท่านกฤษณะ ก็ในเมื่อท่านเห็นว่าพุทธิหรือหลักแห่งความรู้สูงกว่ากรรมหรือหลักปฏิบัติแล้วเพราะเหตุใดท่านจึงบอกให้ข้าพเจ้าประกอบกรรมอันน่าสยดสยองนี้ด้วยเล่า ข้ารู้สึกว่าคำพูดของท่านขัดแย้งกันเอง ใจข้าสับสนไปหมดแล้ว กรุณาช่วยบอกทางที่เป็นหนทาง เดียวที่ข้าอาจไปถึงความประเสริฐสุดได้ด้วยเถิด
กฤษณะ : อรชุน ในโลกนี้มีอยู่ 2 เส้นทางในการเข้าถึงแสงสว่าง ผู้ที่ชอบสมาธิใช้หนทางของโยคะแห่งความรู้ ส่วนผู้ที่ชอบปฏิบัติใช้หนทางของกรรมโยคะ ต่อให้เลิกกระทำก็หาได้หลุดพ้นจากการกระทำได้ไม่ แค่การเลิกกระทำเพียงอย่างเดียวจะทำให้เขาบรรลุความสำเร็จสมบูรณ์ไม่ได้หรอก แต่ไหนแต่ไรมาแล้วไม่มีใครเลยที่จะปราศจากการกระทำแม้ชั่วขณะจิต เพราะคนทุกคนย่อมถูกคุณสมบัติทั้ง 3 บังคับให้กระทำกรรมไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
ผู้ใดละทิ้งการกระทำทางกายแต่ยังมีอารมณ์ตัณหาอยู่ในใจ ผู้นั้นเป็นคนเขลาและได้ชื่อว่าเป็นผู้ลวงโลก แต่ผู้ใดที่สามารถบังคับอินทรีย์ด้วยใจได้ไม่ยึดติดกับการกระทำและผลใดๆ ผู้นั้นคือผู้ที่เป็นเลิศในการประกอบกรรมโยคะ โลกนี้มีกรรมเป็นเครื่องผูกมัดในการกระทำทุกชนิด ยกเว้นการกระทำที่ทำลงไปเพื่อพระเจ้า อรชุน เธอจะต้องประกอบกรรมทั้งปวงโดยไม่ประสงค์ผลใดๆ
ผู้ใดที่ใช้ชีวิตโดยไม่ช่วยหมุนธรรมจักร ชีวิตนั้นเป็นบาป ผู้ใดที่อิ่มเอิบใจอยู่กับประสาทสัมผัส เขามีชีวิตเป็นโมฆะ ส่วนผู้ที่อิ่มเอิบใจในอาตมันพอใจและสงบสุขอยู่ในอาตมัน กรรมทั้งหลายย่อมไม่อาจผูกมัดเขาได้ สำหรับคนอย่างนี้ไม่มีอะไรที่เขาได้จากการกระทำและไม่มีอะไรที่เขาสูญเสียไปจากการกระทำ เขาไม่ต้องพึ่งใครๆ ทั้งหมดเพื่อประโยชน์อะไรๆ เลย
เพราะฉะนั้นเธอจงประฟฤติชอบโดยกระทำกรรมซึ่งเป็นหน้าที่ของเธอเรื่อยไปโดยไม่ติดในกรรม ผู้ที่ประกอบกรรมโดยไม่ยึดติดย่อมเข้าถึงความจริงสูงสุดหรือประมาตมันได้ ผู้สูงสุดประพฤติอย่างไร คนอื่นย่อมประพฤติตาม ผู้สูงสุดนิยมอย่างไร คนอื่นย่อมประพฤติตาม ผู้สูงสุดนิยมอย่างไร ประชาโลกย่อมนิยมตาม อรชุน ดูเราเป็นตัวอย่างสิ ตัวเราไม่ถูก ผูกมัดโดยการกระทำใดๆ ใน 3 โลกนี้ไม่มีอะไรเลยที่เราไม่ได้รับหรือควรจะได้รับ กระนั้นเราก็ยังกระทำอยู่ เพราะถ้าหากเราไม่ขะมักขะเม้นในการกระทำแล้ว พวกมนุษย์ก็จะไม่กระทำตามเรา ถ้าหากเราไม่กระทำแล้ว โลกนี้จะตกไปสู่ความฉิบหาย
ผู้โง่เขลายังติดอนู่ในการกระทำ แต่ผู้มีปัญญากระทำโดยไม่ยึดติด เขาทำโดยมุ่งที่จะสงเคราะห์โลก ผู้มีปัญญาไม่พึงทำลายจิตใจของผู้โง่เขลา ที่ยังยึดติดใยดีในกรรม เมื่อดำรงอยู่ร่วมกับปรมาตมันหรือสิ่งสูงสุดแล้ว จงกระทำให้ผู้คนเห็นว่าการทำงานเพื่อสงเคราะห์โลกนั้นเป็นความศักดิ์สิทธิ์เพียงใด กรรมทั้งหลายล้วนกระทำลงไปโดยคุณสมบัติทั้ง 3 ปู้มีใจอันหลงด้วยอหังการย่อมเข้าใจไปว่า “ตัวเองเป็นผู้ทำ” แต่ผู้ที่รู้สภาพอันถ่องแท้แห่งการจำแนกคุณสมบัติและกรรมย่อมรู้ว่าคุณสมบัติก็อยู่ส่วนคุณสมบัติ เขาจึงไม่ยึดติดกับการกระทำ
จงปล่อยให้กรรมทั้งหลายอยู่ในอำนาจของเขา ให้จิตใจของเธอพำนักอยู่ในอาตมัน หลุดพ้นจากความหวังและอหังการ ระงับโรคแห่งจิต แล้วจงรบเถิด อรชุน ผู้ที่ตั้งอยู่เสมอในคำสอนของเรา ประกอบด้วยศรัทธาละเว้นจากความไม่เชื่อสงสัยย่อมหลุดพ้นจากโซ่ตรวนของกรรมทั้งหลายด้วย แต่ผู้ที่ดูแคลนคำสอนของเราไม่ปฏิบัติตาม จงรู้ไว้ด้วยเถิดว่าเจ้าเป็นผู้งมงายไร้ความคิดถูกชักให้หลงไปในความรู้ทั้งหลาย ความตายในหน้าที่ของตนย่อมประเสริฐแท้
อรชุน : ท่านกฤษณะ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คนเรานี้ถูกอะไรบันดาลเล่าถึงทำบาป แท้จริงตัวเขาอาจมิได้เต็มใจทำบาปและอาจถูกบังคับให้ทำด้วยกำลังของสิ่งอื่นก็เป็นได้
กฤษณะ : มันคือกาม มันคือความโกรธ ที่เกิดขึ้นร่วมกับคุณสมบัติที่เรียกว่ารชะซึ่งทั้งโลภและบาปหนา เธอจงรู้ไว้ด้วยเถิดว่ามันเป็นศัตรูของเธอในเรื่องนี้ ควันบังไฟเอาไว้ฉันใดอาตมันก็ถูกปิดบังโดยความอยากของกิเลสตัณหาฉันนั้น
อินทรีย์ ใจ และความรู้เป็นเชื้อเพลิงที่ไปกระตุ้นไฟแห่งความอยากที่เคยปิดบังอาตมันอยู่ให้ตกอยู่ในสภาพความหลง เพราะฉะนั้นนะอรชุน ก่อนอื่นเ๔อต้องกำราบอินทรีย์หรือประสาทสัมผัสให้จงได้เสียก่อน จากนั้นจงทำลายสิ่งที่เป็นบาปที่คอยทำร้ายอาตมันและวิชาความรู้ที่แท้จริงลงเสีย
กล่าวกันว่าอินทรีย์ประเสริฐกว่ากาย แต่ใจประเสริฐกว่าอินทรีย์ ปัญญาประเสริฐกว่าใจ แต่สิ่งที่ประเสริฐกว่าปัญญานั้นคืออาตมัน เมื่อเป็นดังนี้แล้ว เธอจงรู้สิ่งที่ประเสริฐกว่าปัญญา รั้งตนไว้ด้วยอาตมัน และจงสังหารข้าศึกในรูปของกามซึ่งยากจะเอาชนะได้นั้นเถิดอรชุน !!!
บทที่ 4 การสละกรรมโดยความรู้
กฤษณะ : อรชุน เราได้ถ่ายทอดวิชาโยคะเพื่อเข้าถึงความจริงอันไม่ตายนี้ให้แก่เธอแล้ว ในตอนแรกเราได้ถ่ายทอดให้แก่วิวัสวาน ซึ่งได้ถ่ายทอดให้แก่มนู ซึ่งถ่ายทอดแก่อิกษวากุต่อๆ กันมา จนถึงราชาและฤ+ษีรุ่นหลัง แต่วิชานี้ก็ได้เสื่อมถอยไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป วันนี้เราได้เอาวิชาโยคะนี้มาถ่ายทอดให้แก่เธออีกทั้งๆ ที่มันเป็นวิชาเร้นลับอย่างที่สุดเพราะเธอเป็นสหายผู้ภักดีของเรา
อรชุน :ท่านกฤษณะ ท่านเกิดมาหลังท่านวิวัสวาน (พระอาทิตย์) ตั้งนาน แล้วข้าจะเชื่อได้อย่างไรว่าท่านเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาโยคะนี้ให้แก่เขาตั้งแต่แรก
กฤษณะ : อรชุน การเกิดของตัวเราและตัวเธอต่างได้ผ่านกันมาแล้วคนละมากๆ ตัวเราระลึกการเกิดเหล่านั้นได้หมด แต่ตัวเธอยังไม่ระลึกได้ต่างหาก ตัวเราไม่เกิดและไม่แตกดับ ตัวเราเป็นเจ้าแห่งสิ่งที่ปรากฏทั้งหลาย แต่ที่ผู้คนแลเห็นเหมือนกับว่าเราเกิดมา ก็เพราะตัวเราได้อธิษฐานบังคับประกฤติหรือพลังของตัวเราเองให้ปรากฏเป็นตัวตนขึ้นมาด้วยมายาแห่งโยคะของเรา
อรชุน !!! สมัยใดที่เกิดความเสื่อมแห่งธรรม และเกิดความเฟื่องฟูของอธรรม สมัยนั้นเราย่อมสำแดงตนให้ปรากฏในหาลนั้นๆ เพื่อพิทักษ์สาธุชน เพื่อทำลายล้างเหล่าทรชน และเพื่อสถาปนาธรรมให้มั่นคงไว้ ตัวเราย่อมสำแดงตนให้ปรากฏในทุกๆยุค ผู้ใดรู้จักกำเนิดและกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของเรา ผู้นั้นแม้ละร่างกายไปแล้วจะไม่เกิดอีกต่อไป เพราะว่าเขาบรรลุอาตมันแล้ว คนจำนวนมากที่พ้นจากราคะ ภัย และความโกรธ มีอาตมันเป็นอารมณ์ บำเพ็ญตบะแห่งความรู้ จัดเป็นผู้บริสุทธิ์และบรรลุถึงภาวะแห่งอาตมัน มวลมนุษย์เดินเข้าหาตัวเรา (อาตมาที่เป็นอาตมัน) ด้วยวิธีการใดก็ตาม ตัวเราย่อมคบหาเขาด้วยประการนั้น เพราะไม่ว่าวิถีใดก็ตามที่มวลมนุษย์เดินเพื่อมาหาตัวเราล้วนเป็นวิถีของตัวเราทั้งสิ้น ล้วนมาถึงตัวเราทั้งนั้น
ในโลกนี้ประชาชนต่างพากันบูชาเทวดาเพื่อมุ่งให้สำเร็จในการกระทำ เพราะว่าความสำเร็จอันเกิดจากการกระทำย่อมมีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว วรรณะ 4 เหล่าตัวเราเป็นผู้สำแดงให้ปรากฏโดยจำแนกตามคุณสมบัติและกรรม ตัวเราเป็นผู้กำหนดวรรณะทั้ง 4 ก็จริง แต่จงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า ตัวเราข้ามพ้นการกระทำและไม่มีวันสาปสูญ กรรมทั้งหลายย่อมไม่อาจแปดเปื้อนตัวเราได้และตัวเราไม่ปราถนาในผลของกรรมใดๆ ผู้ที่รู้จักตัวเราอย่างนี้แล้วผู้นั้นจะไม่ถูกผูกมัดด้วยกรรมเลย ผู้มุ่งต่อความหลุดพ้นในสมัยโบราณก็รู้อย่างนี้ ขณะทำกรรมอย่างสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นตัวเธอก็จงประพฤติเช่นเดียวกับคนสมัยก่อนเถิดอรชุน
“กรรมคืออะไร อกรรมคืออะไร” คำถามเหล่านี้แม้แต่นักปราชญ์เองก็ยังจนปัญญา เราจะเป็นคนบอกเธอเองก็แล้วกันว่ากรรมคืออะไร เมื่อเธอรู้แล้วก็จะข้ามพ้นอกุศลทั้งปวงได้ จงเรียนรู้ว่าควรกระทำกรรมอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการกระทำกรรมอย่างไร และควรข้ามพ้นการกระทำกรรมอย่างไร การรู้ธาตุแท้ของกรรมเป็นเรื่องสลับซับซ้อนมากผู้ใดเห็นการไม่กระทำ (อกรรม) ในการกระทำ และแลเห็นการกระทำในการไม่กระทำผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญาในหมู่มวลมนุษย์ แม้ในเวลาประกอบกรรมใดๆ เขาย่อมรักษาความสงบนิ่งของใจเอาไว้ได้
ผู้ที่กระทำใดๆ โดยไม่มีความประสงค์ในกาม ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้เผาผลาญกรรมด้วยไฟแห่งความรู้ (ญาณ) และเป้นบัณฑิต ผู้ที่สละความประสงค์ในผลของกรรมแล้ว เขาจะมีความพอใจอยู่เป็นนิตย์โดยไม่ต้องอาศัยอะไร แม้เขาจะกระทำแต่ตัวเขาก็ข้ามพ้นจากการกระทำนั้น ผู้ที่ปราศจากความหวังเฉพาะหน้า บังคับใจตนเองได้ ทิ้งความโลภทั้งปวงเสียกระทำอยู่เฉพาะหน้าที่ของตนเท่านั้น เขาย่อมไม่ต้องรับโทษ ผู้ปราศจากความริษยา มีความสันโดษในลาภ ไม่ยึดติดอยู่กับความสำเร็จหรือไม่สำเร็จย่อมพ้นจากการผูกมัดของกรรม
ผู้สิ้นความข้องใจสงสัยแล้ว มีใจตั้งมั่นอยู่ในญาณความรู้ การกระทำของเขาทั้งปวงจะเป็นยัญกรรมหรือการบูชาพระเจ้าด้วยไปในตัว กรรมทั้งหลายของเขาจะพ้นจากบาป การบูชาพระเจ้าหรือพรหมทำได้หลายวิธี บางพวกใช้ไฟ บางพวกใช้อินทรีย์ บางพวกใช้ตบะ บางพวกใช้โยคะ บางพวกใช้การภาวนา บางพวกใช้ญาณ บางพวกใช้ลมปราณ บางพวกใช้อาหาร บางพวกใช้ทรัพย์ โลกนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่บูชา แแล้วโลกอื่นจะมีแก่เขาได้อย่างไร
อรชุน การบูชาสิ่งสูงสุดมีหลายวิธีดังที่ได้กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในพระเวท เมื่อเธอเรียนรู้วิธีเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว เธอก็จะพบว่าทั้งหมดล้วยเกิดจากกรรมเป็นการกระทำทั้งสิ้นและเธอจะสามารถหลุดพ้นได้ อนึ่ง การบูชาสิ่งสูงสุดด้วยความรู้นั้นประเสริฐกว่าการบูชาด้วยทรัพย์ เพราะกรรมทั้งปวงไปสุดยอดอยู่ที่ญาณหรือความรู้นี่เอง เธอจงศึกษาความรู้นั้นด้วยความนอบน้อมถ่อมตน ไต่ถาม มอบตัวเป็นศิษย์ ครูผู้รู้แจ้งในความจริงจะถ่ายทอดความรู้นั้นให้แก่เธอ และเมื่อเธอได้ความรู้นั้นแล้ว เธอจะๆม่ตกอยู่ในความหลงอีกต่อไป เธอจะแลเห็นสรรพสัตว์อยู่ในตัวเราและในอาตมันของเธอด้วย
แม้เธอเป็นคนบาปหนาอย่างที่สุด เธอจักสามารถข้ามมหาสมุทรแห่งบาปทั้งหลายได้ด้วยแพคือความรู้นี้เท่านั้น ไฟอันรุ่งโรจน์ย่อมเผาไหม้ให้เป็นเถ้าถ่านฉันใด ไฟแห่งญาณหรือความรู้ก็ย่อมเผากรรมทั้งปวงจนเป็นเถ้าได้ฉันนั้น เพราะในโลกนี้ไม่มีเครื่องชำระให้บริสุทธิ์อันใดดีเท่าญาณความรู้แล้ว ผู้สำเร็จในโยคะย่อมประสบญาณนั้นด้วยตัวเองในอาตมันเมื่อถึงเวลาอันควร ผู้มีศรัทธา มีความอุตสาหะ มีอินทรีย์อันสำรวม ย่อมได้รับญาณ เมื่อได้รับญาณแล้วย่อมถึงสันติอันประเสริฐในไม่ช้า แต่ผู้โง่เขลาปราศจากศรัทธายังมีจิตสงสัยอยู่ย่อมพินาศทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เขาจะไม่ได้รับความสุขเลย
อรชุน ! ขอเธอจำไว้ว่าผู้ที่สละกรรมด้วยโยคะ ตัดความสงสัยได้เด็ดขาดด้วยความรู้คือญาณ มีจิตอยู่ในอาตมัน กรรมทั้งหลายย่อมไม่อาจเกาะเกี่ยวเขาผู้นั้นได้เลย เพราะฉะนั้น เธอจงบำเพ็ญกรรมโยคะตัดความสงสัยในจิตด้วยดาบคือญาณของเธอ แล้วตื่นลุกขึ้นเถิด เธอผู้เป็นนักรบ !!!
บทที่ 5 โยคะแห่งการสละกรรม
อรชุน :ท่านกฤษณะ ตัวท่านยกย่องการสละกรรมแต่กลับมาสรรเสริญกรรมโยคะอีก ระหว่างการสละกรรมกับกรรมโยคะ 2 อย่างนี้ ตัวท่านโปรดบอกข้าให้ชัดแจ้งเถิดว่าหลักไหนประเสริฐกว่ากันแน่
กฤษณะ : การสละกรรมก็ดี กรรมโยคะก็ดี ทั้ง 2 อย่างนี้ ย่อมทำให้เราหลุดพ้นได้รับโมกษะทั้งคู่ แต่ในระหว่างการสละกรรมกับกรรมโยคะนี้ กรรมโยคะประเสริฐกว่าการสละกรรม ผู้ใดไม่ชิงชัง ไม่หวังผลอะไร ผู้นั้นเป็นสันยาสีหรือผู้สละกรรม เขาย่อมพ้นจากเครื่องผูกพันได้โดยง่าย คนเขลาย่อมกล่าวว่ากรรมโยคะกับโยคะแห่งความรู้นั้นต่างกัน แต่ผู้มีปัญญาหากล่าวเช่นนั้นไม่ ในทัศนะของบัณฑิตความรู้กับการกระทำเป็นสิ่งเดียวกัน ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในทางใดย่อมได้รับผลเหมือนกัน ขอให้เลือกเอา แต่จงเดินไปให้จนสุดทางนะ ณ ที่ซึ่งได้รับความรู้ก็ย่อมได้การกระทำด้วย ผู้ใดเห็น 2 สิ่งนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นถูกต้อง การสละกรรมโดยปราศจากกรรมโยคะนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ ผู้ฝึกโยคะโดยการปฏิบัติย่อมถึงความเป็นพรหมโดยเร็ว
ผู้ประกอบโยคะมีจิตบริสุทธิ์ชนะตนและอินทรีย์ได้แล้ว เขาย่อมรู้ว่าอาตมันของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงล้วนดำรงอยู่ในปรมาตมัน แม้เขากระทำอะไรก็ย่อมไม่ติดอยู่ในสิ่งที่เขากระทำ ผู้รู้แจ้งแล้วเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งสูงสุดแล้ว ย่อมคิดว่า “เรามิได้กระทำอะไร” แม้กำลังดู ฟัง สัมผัส ดม กิน เดิน หลับ หายใจ พูด ให้ รับ ลืมตา หลับตา เขาจะคิดแต่เพียงว่า “อินทรีย์ทั้งหลายกำลังอยู่ในอารมณ์” เท่านั้น ผู้ใดปลงกรรมในพรหม ละความประสงค์ ปฏิบัติอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยบาปดุจใบบัวย่อมไม่เปียกน้ำ
โยคีทั้งหลายละทิ้งความอยากกระทำกรรมโยคะด้วยกาย ใจ ปัญญา และอินทรีย์เพื่อทำให้ตัวเองบริสุทธิ์ ผู้ประกอบโยคะสละผลของกรรมแล้วย่อมได้รับสันติ หากไม่ประกอบโยคะเขาย่อมเกาะเกี่ยวพัวพันอยู่ในผลของกรรมแล้วมีกามที่กำเริบ ผู้มีใจสละกรรมทั้งหลายได้แล้วก็อยู่สุขในทวารทั้ง 9 ไม่กระทำหรือถูกให้กระทำ ผู้เป็นเจ้าโลกไม่ได้สร้างความเป็นผู้กระทำ ไม่ได้สร้างการกระทำ ไม่ได้สร้างความเกี่ยวข้องด้วยผลของการกระทำ แต่สภาพย่อมเป็นไปเอง พระเจ้าไม่รับบาปและบุญของใคร ความรู้ถูกความไม่รู้บดบังไว้ มนุษย์จึงถูกชักให้หลงไป ครั้นเมื่อความไม่รู้ของตัวเขาถูกทำลายลงด้วยความรู้แห่งอาตมัน ความรู้จะฉายแสงดุจดวงอาทิตย์ มีความรู้แจ้งในอาตมัน มีความรำลึกในอาตมัน มีความตั้งมั่นในอาตมัน ภักดีเฉพาะอาตมัน ได้ชำระบาปด้วยญาณความรู้ เขาย่อมไปถึงสถานที่อันไม่กลับมาอีก
ผู้มีปัญญามั่นคง ไม่หลงงมงาย รู้แจ้งในพรหม ดำรงอยู่ในพรหม เขาย่อมไม่ยินดีในเมื่อได้สิ่งขอบใจและไม่ยินร้ายในเมื่อได้สิ่งไม่ชอบใจ ผู้มีตนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสัมผัสภายนอกมีความสุขที่อยู่ในอาตมัน เขาจะเป็นผู้มีตนประกอบด้วยพรหมโยคะย่อมได้รับความสุขอันไม่รู้เสื่อม อรชุน !!! ความสุขที่เกิดจากสัมผัสนั้นเป็นที่มาแห่งทุกข์ ผู้ที่รู้แจ้งแล้วย่อมไม่เริงรมย์ในความสุขเหล่านั้น ผู้ใดมีความสุขในอาตมัน เบิกบานในอาตมัน ไสวสว่างอยู่ในอาตมัน ผู้นั้นคือโยคีเป็นพรหมย่อมบรรลุพรหมนิรวาณ (นิพพาน) ฤๅษีผู้สิ้นบาป สิ้นสงสัย ยินดีในการสงเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง ท่านย่อมได้รับนิพพานอันเป็นพรหม ผู้บำเพ็ญพรตพรากจากกามและโกรธข่มใจได้ รู้แจ้งในอาตมันย่อมมีนิพพานคือพรหม
จงทำอารมณ์ให้ตัดขาดจากโลกภายนอก เพ่งจิตรวมจักษุทั้ง 2 ไปที่ระหว่างคิ้ว (ตาที่สาม) ทำลมหายใจออกและลมหายใจเข้าให้เดินอยู่แต่ภายในช่องจมูกเท่าๆ กัน ข่มอินทรีย์ ใจ และความคิดให้อยู่ในบังคับ แสวงหาแต่ความหลุดพ้นปราศจากความอยาก ความกลัว และความโกรธ ผู้ใดฝึกตัวเองจนเป็นเช่นนี้ได้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้วทุกเมื่อ ผู้ใดที่รู้จักตัวเรา เป็นผู้บูชาและบำเพ็ญตบะเพื่อพระเจ้าของโลกทั้งปวง และเป็นมิตรของปวงสัตว์ซึ่งก็คือตัวเรา ผู้นั้นย่อมไปสู่สันติ
บทที่ 6 ฌาณโยคะ
กฤษณะ : ผู้ใดไม่หวังผลของกรรม ทำการไปตามหน้าที่ผู้นั้นเป็นทั้งสันยาสี (ผู้สละกรรม) และเป็นทั้งโยคี (ผู้บำเพ็ญพรต) จงรู้ไว้ด้วยเถอะว่า สันยาสีที่แท้จริงต้องเป็นโยคีด้วย เพราะการสละกรรมที่แท้จริงเป็นโญคะ ผู้ที่ยังยึดติดอยู่กับผลของการกระทำและความอยากยังเป็นโยคีไม่ได้ มุนีผู้กำลังฝึกฝนโยคะจะใช้กรรมเป็นวิถี แต่มุนีผู้บรรลุโยคะแล้วความสงบระงับย่อมเป็นหนทางของเขา การบรรลุโยคะคือการไม่ติดอยู่ในกรรมที่เป็นอารมณ์ของอินทรีย์ สละความประสงค์ความอยากได้ทั้งหมด เธอควรถอนตนขึ้นด้วยตนเองไม่ควรกดตัวเองเพราะว่าตนนั้นแหละที่เป็นเพื่อนของตนและตนนั่นแหละที่เป็นศัตรูของตน ตนของผู้ที่ชนะตัวเองได้แล้วจะมีความสงบ สม่ำเสมอในความหนาว ความร้อน สุข ทุกข์ และไม่หวั่นไหวในความนับถือหรือการดูหมิ่น
ผู้ใดมีความพอใจในความรู้จากวิชาญาณและอิ่มไปด้วยความรู้สึกจากความรู้นั้น มีจิตตั้งมั่นไม่คลอนแคลน ชนะอินทรีย์ มั่นคงในสมาธิ เขาย่อมแลเห็นก้อนดิน ก้อนหิน และก้อนทองเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวได้ว่าผู้นั้นเป็นโยคีแล้ว ผู้ใดที่ดูแลเห็นผู้ที่เป็นที่รัก มิตร ศัตรู คนอื่น คนกลาง คนต่างถิ่น ญาติ คนดี คนชั่ว เหล่านี้ว่าไม่แตกต่างกันได้ คนผู้นั้นย่อมเป็นเลิศ โยคีควรมีจิตใจในอาตมันอยู่เป็นนิตย์ แสวงหาความวิเวกสงัด ข่มจิตชนะกาย ไม่คาดหวังสิ่งใดและไม่โลภรับอะไร หาสถานที่สะอาดปูเสื่อหญ้าคา ทำเป็นอาสนะไม่สูงไม่ต่ำนัก นั่งลงบนอาสนะอันมั่นคงนี้ทำใจให้เป็นเอกัคตามีอารมณ์เดียว ข่มกิริยาของจิตและอินทรีย์ หากทำโยคะเช่นนี้ได้ใจของโยคีจะสะอาดบริสุทธิ์ ทรงกาย ศรีษะ และลำคอให้ได้ระดับตรงกันให้มั่นคงไม่หวั่นไหว เพ่งจิตไปเฉพาะที่ปลายจมูกของตนไม่วอกแวก มีใจผ่องใสปราศจากความกลัว ดำรงอยู่ในพรตพรหมจรรย์ บังคับใจไว้คุมใจให้อยู่ในตัวเรา ยึดเราผู้เป็นอาตมันเป็นที่พึ่ง โยคีที่ทำเช่นนี้ได้จะบรรลุสันติคือนิพพานอันประเสริฐที่ตั้งอยู่ในตัวเรา
อรชุน !!! ผู้ที่รับประทานอาหารมากเกินไปหรืออดอาหารมากเกินไป ผู้ที่นอนมากเกินไปหรือนอนน้อยเกินไป โยคะย่อมมีไม่ได้ ผู้ที่มีการกิน การพัก การประกอบกิจ การนอน และการตื่นอย่างพอเหมาะ โยคะที่ประหารทุกข์ย่อมมีได้ เมื่อใดจิตถูกบังคับไว้ดีแล้วเมื่อจิตหยุดด้วยโยคะได้แล้วจนสงบ เธอจะเป็นผู้ที่เห็นอาตมันด้วยใจบริสุทธิ์ จะมีความแช่มชื่นพอใจในอาตมัน เธอจะได้พบความสุขอย่างยอดเยี่ยมอันได้รับด้วยปัญญารู้แจ้งที่อยู่นอกเหนืออินทรีย์ เธอย่อมตั้งมั่นอยู่ในนั้นไม่เคลื่อนไปจากสถานที่เที่ยงแท้ จงอย่าคำนึงถึงการได้รับสิ่งอื่นๆ ยิ่งกว่าสิ่งที่ได้รับอยู่แล้วและไม่หวั่นไหวด้วยทุกข์แม้หนักหนานัก เมื่อเชื่อมั่นได้เช่นนี้แล้วจึงเรียกว่าเป็นโยคะซึ่งปราศจากทุกข์หนักแน่น จริงจังไม่ท้อถอย พึงละกามทั้งหลาย พึงข่มอินทรีย์ด้วยใจทุกด้าน ค่อยๆ ดับมันไปทีละขั้นด้วยปัญญาอันประกอบด้วยความอดทน ทำใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอาตมัน อย่าไปคิดถึงอะไรอื่นเลย หากใจเกิดหวั่นไหวไม่มั่นคงพึงบังคับใจให้มันไปสู่อาตมัน
ผู้สำรวมตนด้วยโยคะได้ ย่อมเห็นทุกๆ สิ่งว่าเป็นสภาพเสมอกันโดยเห็นอาตมันว่ามีอยู่ในทุกๆ สิ่งและเห็นทุกๆ สิ่งอยู่ในอาตมัน ผู้ใดเห็นตัวเราในทุกๆ สิ่งและแลเห็นทุกๆ สิ่งในตัวเราผู้นั้นเป็นอาตมัน ตัวเราย่อมไม่หลบผู้นั้นและผู้นั้นย่อมไม่พลาดในการได้เห็นตัวเรา ผู้ใดซึ่งดำรงอยู่ในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวเราซึ่งอยู่ในทุกๆ สิ่ง ผู้นั้นย่อมเป็นโยคี ไม่ว่าเขาจะใช้ชีวิตแบบใดก็ได้ชื่อว่าเขาประพฤติอยู่ในตัวเรา
อรชุน !!! ผู้ใดสามารถแลเห็นสุขและทุกข์ในทุกๆ สิ่งได้อย่างเสมอกันแล้วผู้นั้นคือบรมโยคีหรือยอดแห่งโยคี
อรชุน : ท่านกฤษณะ ท่านได้บอกกับข้าว่าโญคะอันนี้เป็นสภาวะตั้งมั่นของใจกับอาตมัน แต่ข้ายังมองไม่เห็นความมั่นคงของโยคะนั้นเลย เพราะข้ายังเรรวนอยู่ใจข้ายังแปรปรวนหวั่นไหวอยู่ และมีกำลังแรงมาก จนข้ารู้สึกว่าการข่มมันนั้นยากยิ่งเหมือนกับการบังคับลมไม่ให้พัก
กฤษณะ : อรชุน !!! ไม่ต้องสงสัยไปเลย เพราะใจเป็นธรรมชาติที่ยากที่จะข่ม แต่สามารถบังคับไว้ได้ด้วยการฝึกฝนอยู่เสมอมิได้ขาดกับด้วยการสิ้นกำหนัดไม่ยึดติด ผู้ที่ไม่บังคับใจย่อมยากที่จะบรรลุโยคะ แต่ผู้ที่บังคับใจจะสามารถบรรลุโยคะได้ ถ้าหากใช้วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม
อรชุน : ท่านกฤษณะ ผู้ไม่อาจบังคับใจ มีใจที่เคลื่อนออกจากโยคะ แต่มีศรัทธาอย่างเดียว เมื่อไม่สามารถประสบความสำเร็จในโยคะ ตัวเขาจะไปที่ใดหรือ? เขาจะถึงกับหลุดจากวิถีแห่งความรู้และวิถีแห่งกรรมโยคะเหมือนก้อนเมฆที่กระจัดกระจายและสลายไปเป็นผู้หลงที่ไม่ตั้งอยู่ในทางของพรหมเชียวหรือ
ท่านกฤษณะ จงช่วยขจัดความสงสัยขอข้านี้ให้หมดไปด้วยเถิด เพราะข้าไม่เห็นใครนอกจากท่านที่จะขจัดความสงสัยนี้ได้
กฤษณะ : อรชุน ความฉิบหายของเขาย่อมไม่มีทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า เพราะใครก็ตามที่ประกอบความดีงาม (กัลยาณกรรม) ไว้แล้วย่อมไม่มีทางไปสู่ทุคติหรือที่เลวร้าย ถึงแม้ตัวเขาจะไม่ประสบความสำเร็จในการบรรลุโยคะในชีวิตของเขา ตัวเขาก็ยังสามารถไปสู่โลกสวรรค์และสถิตอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานได้ก่อนที่จะลงมาเกิดใหม่ในครอบครัวที่บริสุทธิ์และมีหน้ามีตามีทรัพย์มาก หรือไม่เขาก็อาจลงมาเกิดในสกุลของโยคีผู้มีปัญญาล้ำเลิศ ซึ่งการเกิดเช่นนี้ นับว่าหาได้ยากมากในโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดมาในตระกูลของโยคีนั้นจะช่วยให้ เขาสามารถฟื้นสัญชาติญาณของการเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ติดตัวมาแต่ชาติปางก่อนได้ ซึ่ง จะทำให้ตัวเขากลายเป็นผู้ที่สนใจเพื่อการตรัสรู้ บรรลุความรู้แจ้งด้วยผลของการปฏิบัติในชาติปางก่อน เขาย่อมไปในหนทางของโยคะอย่างที่ไม่มีสิ่งใดมาเหนี่ยวรั้งได้ เขาย่อมแสวงหาพรหมโลกส่วนโยคีที่ได้พยายามชำระบาปจนบริสุทธิ์แล้วจากการบำเพ็ญในหลายๆ ชาติย่อมไปสู่บรมคติ
อรชุน !!! ตัวเราเห็นว่าโยคีนั้นยิ่งใหญ่กว่านักพรต ยิ่งใหญ่กว่ารักปราชญ์ และยิ่งใหญ่กว่านักบวชผู้ประกอบยัญพิธีเสียอีก เพราะฉะนั้นเธอจงมาเป็นโยคีเถิดและในบรรดาโยคีผู้ฝึกโยคะสายต่างๆ นั้น โยคีที่อุทิศ ศรัทธา ความรัก ความภักดีแก่ตัวเรา มีใจอยู่ที่ตัวเราตลอดเวลาถือเป็นยอดโยคีในความเห็นของเรา
บทที่ 7 โยคะแห่งญาณ
กฤษณะ : อรชุน !!! ขอให้เธอจงทุ่มเทจิตใจทั้งหมดมาที่ตัวเรา (อาตมาซึ่งเป็นอาตมัน) และประกอบโยคะเถิด จงอาศัยตัวเราเท่านั้นแล้วเธอจะสิ่นสงสัยได้เราจะบอกญาณและความหยั่งรู้อันนี้ให้แก่เธอจนหมดสิ้น เมื่อเธอรู้เรื่องนี้แล้วจะไม่มีอะไรในโลกนี้ ที่ควรจะรู้ให้มากยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว ในบรรดามนุษย์นับพันนับหมื่นมีน้อยคนนักที่พยายามจะได้พบตัวเรา และในบรรดาผู้ที่พบแล้วก็ยังมีน้อยคนนักที่ได้รู้จักตัวเราอย่างแท้จริง ประกฤติหรือ พลังในโลกนี้ของตัวเรานั้นแบ่งออกเป็น 8 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ใจ พุทธิ และอหังการ ประกฤติทั้ง 8 อย่างนี้ยังไม่ประเสริฐ เธอควรรู้จักประกฤติอีกอย่างหนึ่งของตัวเราซึ่งประเสริฐกว่าเพราะมันเป็นต้นเหตุแห่งชีวิตของสรรพสัตว์ ประกฤติอย่างหลังนี้เองที่ค้ำจุนจักรวาลนี้เอาไว้ (มันคือปราณ) เธอจงรู้ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายล้วนมีประกฤติ 2 อย่างนี้ เป็นบ่อเกิด เพราะฉะนั้นตัวเราจึงเป็นทั้งแดนเกิดและแดนดับของจักรวาลทั้งหมด ไม่มีสิ่งใดสูงส่งไปกว่าตัวเรา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอาศัยอยู่แล้วในตัวเราเหมือนอัญมณีที่ถูกร้อยรวมกันในสายร้อย
ตัวเราเป็นเรสของน้ำ เป็นแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เป็นเสียง “โอม” ในพระเวททั้งปวง เป็นเสียงในอากาศและเป็นพลังชีวิตของมวลมนุษย์ ตัวเราเป็นกลิ่นหอมในพื้นดินเป็นความแจ่มจ้าของไฟ เป็นชีวิตของสรรพสัตว์และเป็นตบะของผู้บำเพ็ยตบะทั้งหลาย ตัวเราคือ เมล็ดพืชอันยั่งยืนของสรรพสัตว์ เป็นความรู้ของผู้รู้และเป็นเดชของผู้เรืองเดช ตัวเราคือพลังของผู้เข้มแข็งที่ชนะกามราคะและตัวเราคือความปรารถนาที่เป็นธรรม
ภาวะที่เกิดจากคุณสมบัติทั้ง 3 คือสัตวะ รชะ ตมะของสรรพสิ่งนี้ เธอจงรู้ด้วยว่ามันเกิดจากตัวเรา แต่ตัวเราไม่ได้อยู่ในภาวะเหล่านั้น ภาวะเหล่านั้นต่างหากที่อยู่ในตัวเรา โลกทั้งหมดลุ่มหลงด้วยภาวะแห่งคุณสมบัติทั้ง 3 นี้ จึงไม่รู้จักตัวเราอันเป็นภาวะที่ไม่เสื่อมที่ดำรงอยู่ต่างหากจากภาวะนี้ จริงอยู่การที่จะข้ามพ้นมายาของตัวเราที่กิดจากคุณสมับติทั้ง 3 นี้เป็นเรื่องยากมาก มีแต่ผู้ที่เข้าถึงตัวเราเท่านั้นที่จะข้ามมายานี้ไปได้ คนทำชั่ว คนหลงผิด คนต่ำช้า คนเหล่านี้ย่อมเข้าไม่ถึงตัวเราเพราะญาณปัญญาของเขาถูกมายาขจัดไปแล้ว ใจของเขาที่เคยเป็นใจคนก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นใจอสูร
อรชุน !!! คนทำดีที่คบกับตัวเราได้มีอยู่ 4 ประเภทคือผู้มีทุกข์ ผู้แสวงความจริงความรู้ ผู้หวังประโยชน์แห่งตน และผู้มีปัญญา ในบรรดาคน 4 ประเภทนี้ผู้มีปัญญาผู้มีโยคะเป็นนิตย์มีความภักดีเป็นเอกประเสริฐที่สุด เพราะตัวเราเป็นที่รักของผู้มีปัญญาและผู้มีปัญญาก็เป็นที่รักของเราด้วย คนทั้ง 4 ประเภทนี้ล้วยประเสริฐด้วยกันทั้งนั้น แต่ตัวเราเห็นว่าผู้มีปัญญานับว่าเป็นตัวเราโดยแท้ เพราะว่าผู้มีปัญญาสำรวมตนตั้งมั่นอยู่ในตัวเรา เห็นตัวเราเป็นอุดมคติสูงสุดของตัวเขา เมื่อผ่านการเกิดหลายหนหลายชาติแล้ว ปัญญาของเขาจะยอดเยี่ยมยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเขาบรรลุถึงตัวเราและรู้แจ้งว่าทุกๆ สิ่งล้วนเป็นตัวเรา วิญญาณที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้ของเขา นับว่าหาได้ยากเย็นยิ่งนัก
ผู้ที่มีปัญญาแต่ถูกชักจูงไปด้วยกามให้หลงไหลย่อมถูกประกฤติหรือพลังขับดันภายในตัวเขาให้เข้าหาเทวดาอื่น แต่ต่อให้เขาบูชาเทวดาอื่นตัวเราย่อมจัดสรรศรัทธาที่มั่นคงให้แก่เขา แม้เมื่อเขาบูชาอ้อนวอนขอสิ่งต่างๆ จากเทวดาอื่นนั้น เขาก็ได้สมความปรารถนาเพราะว่าตัวเราเป็นผู้จัดสรรให้ นี่เป็นความเมตตาของตัวเรา แต่ผลของผู้มีปัญญาน้อยเหล่านี้ย่อมมีที่สุด ผู้บูชาเทวดาย่อมไปสู่เทวดา แต่ผู้ภุกดีต่อเราย่อมมาสู่เรา ผู้ไม่รู้ย่อมสำคัญผิดคิดว่าตัวเราซึ่งไม่ปรากฏเป็นร่างว่ามีร่าง เขาจึงไม่รู้ภาวะอันประเสริฐของตัวเราซึ่งไม่มีความเสื่อมและไม่มีอะไรยิ่งกว่า ตัวเราถูกมายาแห่งโยคะหุ้มเอาไว้ไม่สำแดงให้ปรากฏแก่สรรพสัตว์ ในโลกที่เต็มไปด้วยผู้งมงายจึงไม่รู้จักตัวเราไม่อาจเห็นตัวเราซึ่งไม่มีการเกิดและไม่มีการเสื่อมสลาย
อรชุน !!! ตัวเรารู้สิ่งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แต่ไม่มีใครรู้จักตัวเรา คนทั้งหลายเมื่อเกิดมาก็ตกอยู่ในมายาที่คิดว่าโลกที่เป็นคู่ (ทวีภาวะ) นี้เป็นของจริงเป็นความจริง พวกเราจึงอยู่ท่ามกลางความรักและความเกลียดชัง ผู้ใดก็ตามที่ประกอบบุญละบาปได้สิ้นสามารถพ้นจากภาวะแห่งความเป็นคู่นี้ไปได้ ผู้นั้นจะได้พบตัวเราตั้งมั่นในตัวเราและบูชาในตัวเราอย่างมั่นคง ผู้ใดอาศัยตัวเราและเพียรพยายามเพื่อหลุดพ้นจากความชราและความตาย ผู้นั้นย่อมตรัสรู้พรหมซึ่งเป็นสรรพสิ่งและตรัสรู้อาตมันรวมทั้งตรัสรู้กรรมทั้งหมด ผู้ใดที่ตรัสรู้ว่าตัวเราคือพระเจ้าผู้ควบคุมทั้งอธิภูต อธิทิพย์ และอธิยัญ หรือควบคุมทั้งวัตถุ จิตใจ และกิริยาทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมมีจิตเป็นสมาธิแล้ว เขาจะรู้แจ้งถึงตัวเราแม้ในเวลาที่กำลังจะตายด้วย
บทที่ 8 ทางไปสู่พรหมที่ไม่เสื่อมสลาย
อรชุน : ท่านกฤษณะ โปรดบอกข้าด้วยเถิดว่าอะไรคือพรหม อะไรคืออาตมัน อะไรคือกรรมที่สร้างโลก อะไรคืออธิภูต อะไรคืออธิทิพย์ และในร่างกายนี้ใครเป็นอธิยัญ เมื่อผู้ที่บังคับใจได้แล้ว เวลาใกล้จะตายจะพบตัวท่านได้อย่างไร
กฤษณะ : ความประเสริฐที่ไม่เสื่อมสิ้นคือพรหม ภาวะของพรหมในตัวคนเรียกว่าอาตมัน การบูชาพระเจ้าซึ่งเป็นการกระทำของปวงสัตว์จัดเป็นกรรมภาวะที่เสื่อมสลายได้คืออธิภูต วิญญาณเรียกว่าอธิทิพย์ ตัวเราซึ่งอยู่ในร่างกายของผู้ที่มีร่างคืออธิยัญผู้ใดในเวลาตาย ระลึกถึงอยู่แต่ตัวเราเท่านั้น เมื่อละร่างไปแล้วผู้นั้นย่อมบรรลุภาวะแห่งตัวเรา ไม่ต้องสงสัยในข้อนี้ สิ่งที่คิดในช่วงเวลาสุดท้ายก่อนที่จะละร่างไปจะเป็นไปตามที่คิดเช่นนั้น เพราะสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของคนผู้นั้นนานที่สุดตลอดชั่วชีวิตของเขา ดังนั้นเธอจึงควรระลึกถึงตัวเราตลอดเวลา และจงทำหน้าที่ของเธอคือการรบเถิด ถ้าเธอมีใจและปัญญาที่แน่นแฟ้นอยู่กับตัวเรา เธอย่อมบรรลุถึงเราอย่างไม่ต้องสงสัย ผู้ที่มีใจหนักแน่นไม่ฟุเงซ่าน ดำเนินการฝึกจิตไปตามลำดับย่อมบรรลุอาตมันซึ่งเป็นทิพย์ได้
อาตมันเป็นสัพพัญญูเห็นที่สุดของโลกยั่งยืนเป็นเจ้าแห่งเจ้า ละเอียดที่สุดในบรรดาสิ่งที่ละเอียดด้วยกัน เป็นผู้จรรโลงจักรวาล มีสภาพอันไม่อาจจินตนาการได้สว่างไสวปานดวงอาทิตย์อยู่เหนือความมืดแห่งมายา ผู้ใดระลึกถึงอาตมันผู้นั้น มีใจไม่หวั่นไหว เมื่อถึงเวลาตายประกอบด้วยภุกดี และกำลังของโยคะ ตั้งพลังปราณไว้ที่ระหว่างคิ้ว โดยชอบย่อมบรรลุอาตมันอันเป็นทิพย์นั้น ผ๔เใดสำรวมทวารทั้ง 6 ได้แล้ว และกักใจไว้ในดวงหทัย (จักรหัวใจ) ได้ตั้งหลังปราณไว้ที่กระหม่อมของตน (ตักรคิ้วกับจักรมงกุฎหรือจักร 6 กับจักร 7) ดำรงจิตเป็นสมาธิไว้เปล่งเสียง “โอม” พยางค์เดียวซึ่งเป็นพรหม ระลึกถึงตัวเรา ยามละร่างไปแล้วผู้นั้นย่อมบรรลุบรมคติถึงที่หมายสูงสุดได้
บทที่ 9 โยคะแห่งความเร้นลับ
กฤษณะ : อรชุน เราจะบอกญาณอันเป็นความรู้ที่เร้นลับที่สุดแก่เธอผู้เป็นคนน่ารัก เมื่อเธอรู้สิ่งนี้แล้วจะสามารถพ้นจากบาปได้ สิ่งนี้เป้นราชาแห่งวิทยาเป็นราชาแห่งความเร้นลับ เป็นยอดแห่งผู้ชำระตนที่สามารถรับรู้ได้โดยธรรมและญาณทัศนะที่ถูกต้อง ปฏิบัติง่ายไม่เสื่อมสลาย ผู้ที่ไม่มีศรัทธาในธรรมนี้ย่อมไม่บรรลุถึงตัวเรา แต่จะกลับไปสู่หนทางมฤตยูของสังสารวัฏที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด จักรวาลทั้งหมดถูกตัวเราที่ไม่ปรากฏรูปร่างห่อหุ้มเอาไว้ สรรพสัตว์ดำรงอยู่ในตัวเราแต่ตัวเราหาได้ตั้งอยู่ในสรระสัตว์ไม่ นี่คือความเร้นลับอันศักดิ์สิทธิ์ จงรู้ไว้ด้วยว่าตัวเราซึ่งเป็นพระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสัตว์ค้ำจุนสรรพสัตว์ แต่ตัวเราหาได้ตั้งอยู่ในสรรพสัตว์ไม่ ดุจลมพายุใหญ่ที่พัดอยู่เสมอ พัดไปทั่วทุกหนแห่ง แต่ดำรงอยู่แล้วในอากาศฉันใดก็ฉันนั้นสรรพสัตว์ก็ดำรงอยู่แล้วในตัวเรา เมื่อถึงเวลาสิ้นกัลปหรือสิ้นยุค เราจะใช้ประกฤติหรือพลังของตัวเราทำให้สรรพสิ่งรวมอยู่ในเมล็ดพืชครั้นเมื่อเริ่มต้นยุคใหม่แล้วเราจึงให้กำเนิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาใหม่อีก มายาคือผู้ปกครองสรรพสิ่ง ตัวเราผู้เป็นเจ้าของมายาย่อมสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาอีกครั้งแล้วครั้งเล่า ตัวเราไม่ยึดติดกับผลของกรรม จึงไม่ถูกผูกมัดโดยกรรมและมายา จักรวาลอยู่ในความดูแลของเรา จักรวาลย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุนี้
คนเขลาที่ไม่รู้ภาวะของตัวเราอันประเสริฐที่เป็นเจ้าของปวงสัตว์ย่อมดูแคลนต่อตัวเราซึ่งอยู่ในร่างมนุษย์ เขาเหล่านั้นมีความหวังอันสูญเปล่า มีกรรมทั้งปวงอันสูญเปล่า มีความรู้อันสูญเปล่า อราศจากสติ หันไปรับเอามายาหรือพลังจอมปลอมที่หยาบช้าเยี่ยงปีศาจเข้าไว้ ยอดคนทั้งหลายอาศัยพลังทิพย์ของเรา เคารพบูชาเราด้วยใจที่ไม่วอกแวก เพราะรู้จักตัวเราผู้เป็นต้นตอของความไม่เสื่อมสลายของสัตว์ทั้งปวง ตัวเราเป็นบิดา เป็นมารดา เป็นผู้อุ้มชู เป็นบรรพบุรุษของโลกนี้ เป็นโอม เป็นพระเวท ตัวเราเป็นเป้า เป็นเสาค้ำ เป็นเจ้า เป็นพยาน เป็นที่พำนัก เป็นที่พึ่ง เป็นเพื่อน เป็นแดนเกิด เป็นแดนประลัย เป็นที่ตั้ง เป็นที่เก็บ เป็นเมล็ดพืชที่ไม่เสื่อมคลาย ตัวเราเป็นผู้ให้ความร้อน เป็นผู้ให้ฝน เป็นทั้งความตายและความไม่ตาย
ยามที่เราเป็นสัตหรือสิ่งที่มีอยู่ ตัวเราก็คือจักรวาล
ยามที่เราเป็นอสัตหรือสิ่งที่ไม่อยู่ ตัวเราก็คือความว่าง
ผู้รอบรู้ในพระเวทดื่มน้ำโสมละบาปได้แล้ว บูชาตัวเราด้วยยัญพิธีแม้ปรารถนาไปสวรรค์เขาย่อมไปสวรรค์ได้อันเป็นแดนทิพย์ของเทวดา แต่เมื่อเขาบริโภคโลกสวรรค์จนสิ้นบุญแล้ว เขาย่อมกลับมายังโลกมนุษย์อีก ผู้ปฏิบัติตามหลักในพระเวทแต่ยังแสวงกามอยู่ก็ต้องไปๆ มาๆ เช่นนี้ แต่คนใดที่บูชาตัวเราโดยไม่คิดถึงสิ่งอื่นๆ ตัวเราย่อมให้สิ่งที่จำเป็นทั้งหมดแก่เขา ปกป้องคุ้มครองสิ่งที่เขามี ผู้ใดที่ภักดีเทพองค์อื่นแม้ผิดทางแต่ก็ยังถือว่าบูชาตัวเรา เพราะตัวเราเป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นเจ้าแห่งยัญพิธีทั้งปวง แต่เพราะเขาไม่รู้ตัวเราดังนั้นเขาจึงต้องกลับมาเกิดบนโลกนี้อีก ผู้บูชาเทวดาย่อมถึงเทวดา ผู้บูชาบรรพบุรุษย่อมถึงบรรพบุรุษ ผู้บูชาภูตผีย่อมถึงภูตผี ผู้ภักดีในตัวเราย่อมถึงตัวเรา
อรชุน !!! ไม่ว่าเธอจะทำอะไร จะบริโภคอะไร จะบูชาอะไร จะถวายอะไร จะบำเพ็ญตบะอะไรก็ตามจงมอบสิ่งนั้นให้แก่ตัวเรา แล้วเธอจะพ้นจากพันธะของกรรมไม่ว่าผลดีหรือผลชั่ว เมื่อเธอสละผลทุกๆ สิ่งแก่ตัวเราด้วยโยคะจนหลุดพ้นแล้ว เธอจะบรรลุถึงตัวเราได้ ตัวเราเป็นผู้ที่มีความเสมอภาคต่อสรรพสัตว์ ความเกลียดใครและความรักใครไม่มีแก่ตัวเรา ผู้ใดคบเราด้วยความภักดีผู้นั้นย่อมอยู่ในตัวเราและตัวเราก็ย่อมอยู่ในตัวผู้นั้น ต่อให้เป็นคนบาปหนาหากภักดีต่อเราก็ยังถือว่าเขาเป็นคนดีเพราะเขามีความตั้งใจชอบ เขาจะกลายเป็นผู้เที่ยงธรรมได้รับสันติเป็นนิตย์เพราะผู้ภักดีต่อตัวเราย่อมไม่เสื่อมสลาย ดังนั้นจงใส่ใจในตัวเรา ภักดีต่อตัวเรา บูชาตัวเรา นมัสการตัวเรา ยึดตัวเราเป็นที่พึ่ง อย่างนี้แล้วเธอจักบรรลุถึงเราได้
บทที่ 10 ทิพยศักดิ์ของพระเจ้า
กฤษณะ : อรชุน !!! จงตั้งใจฟังบรมพจน์ของเราอีกครั้ง เราถ่ายทอดสิ่งนี้ให้แก่เธอผู้เป็นที่รักก็เพื่อประโยชน์ของตัวเธอเอง ทวยเทพและฤๅษีทั้งหลายก็ไม่รู้แดนเกิดของตัวเรา เพราะตัวเราคือเหตุเบื้องต้นของเทวดาและฤๅษีทั้งหลายเหล่านั้น ผู้ใดที่ตรัสรู้ได้ว่าตัวเราซึ่งไม่เกิดไม่ได้ มีเริ่มต้นเป็นเจ้าโลก ผู้นั้นไม่งมงายและจะพ้นห้วงบาปในแดนมฤตยู พุทธิ ญาณ ความไม่หลง ขันติ สัตย์ การบังคับตนภายนอก การบังคับตนภายใน สุขทุกข์ ความมี ความเป็น ความไม่มี ความไม่เป็น ความกลัว ความไม่กลัว ความไม่เบียดเบียน ความสม่ำเสมอ ความพอใจ ตบะ ทาน ยศ อัปยศ สิ่งเหล่านี้เป็นสันดานต่างๆ กันของสัตว์ทั้งหลายที่ออกมาจากตัวเรา ผู้ใดรู้วิภูติหรือทิพย์ศักดิ?ของตัวเราโดยถ่องแท้ ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าประกอบด้วยโยคะอันไม่หวั่นไหวอย่างไม่ต้องสงสัย เราเป็นเหตุอุบัติของสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งหลายล้วนเกิดจากตัวเรา ผู้มีปัญญาที่รู้เรื่องนี้ย่อมยกย่องบูชาเราจากใจ จงใส่ใจในเรา เพ่งพลังปราณไปที่เราเข้าใจซึ่งกันและกันพูดถึงเราเป็นนิตย์ เขาย่อมยินดีและร่าเริงอยู่เสมอ ผู้มีสมาธิอยู่เสมอ
บูชาเราด้วยใจปิติ เราย่อมให้พุทธิโยคะหรือโยคะเพื่อการตรัสรู้แก่เขา ซึ่งจะทำให้เขาบรรลุถึงตัวเราได้ และเพื่ออนุเคราะห์พวกเขาเหล่านั้น เราจะเข้าไปอยู่ในอาตมันของพวกเขาเพื่อขจัดความมืดมนอันเกิดจากอวิชชาให้พินาศไปด้วยแสงแห่งปัญญาอันเจิดจ้า
อรชุน :ท่านเป็นพรหมอันประเสริฐ เป็นที่สถิตอันประเสริฐ เป็นความบริสุทธิ์ยิ่ง เป็นความยั่งยืน เป็นความแพร่หลายไปทั่ว ฤๅษีทั้งหลายได้พูดถึงตัวท่านคือพูดถึงอาตมันบัดนี้ตัวท่านก็ได้ บอกเช่นนั้นกับตัวข้า สิ่งที่ท่านบอกกับข้านั้น ข้ามั่นใจว่าเป็นความจริง เพราะการสำแดงให้ปรากฏของท่าน แม้แต่เทวดาหรืออสูรก็ไม่รู้ ย่อมมีแต่ตัวท่านเองที่รู้จักอาตมันด้วยอาตมัน คือรู้จักตนของตนด้วยตนเอง เพราะท่านคือเจ้าโลก ผู้เป็นเทพเจ้าของเทวดา ผู้เป็นเจ้าแห่งสรรพสัตว์ และเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง ท่านแผ่ปกโลกด้วยทิพย์ศักดิ์อันใด ท่านย่อมกล่าวได้หมดไม่มีเหลือ ข้าควรจะรู้และคิดถึงท่านอย่างไรด้วยการทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอของตัวข้า โปรดบอกข้าอีกครั้งหนึ่งด้วยเถิดเกี่ยวกับทิพย์ศักดิ์ของท่าน เพราะข้ายังฟังคำพูดอัน เป็นอมฤตนี้ไม่อิ่มเลย
กฤษณะ : ตกลงเราจะกล่าวทิพย์ศักดิ์ของอาตมันอันเป็นทิพย์เฉพาะที่สำคัญแก่เธอ เพราะว่ารายละเอียดของตัวเรานั้นพิศดารยิ่งหาที่สิ้นสุดไม่ได้ เราเป็นอาตมันอาศัยอยู่ในสรรพสัตว์ เราเป็นเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้ ในหมู่อาทิตย์เรา คือวิษณุ ในหมู่สิ่งสุกสว่างเราคืออาทิตย์อันเรืองแสงในบรรดาดวงดาวเราคือดวงจันทร์ ในบรรดาเทวดาเราคือพระอินทร์ ในบรรดาอินทรีย์เราคือใจ ในบรรดาสัตว์เราคือเจตนา ในบรรดาภูเขาเราคือเขาสุเมรุ ในบรรดาทะเลเราคือมหาสมุทร ในบรรดาวาจาที่เปล่งออกมา เราคือเอกอักษร (โอม) ในบรรดายัญพิธีเราคือคำบริกรรม ในบรรดาสิ่งมั่นคงเราคือภูเขาหิมาลัย ในบรรดาปลาเราคือมังกร ในบรรดาแม่น้ำเราคือแม่น้ำคงคา เราคือเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งสังสารวัฏทั้งหลายโดยแท้ อรชุน !!! เราเป็นความนิ่งของสิ่งเร้นลับ เราเป็นญาณของผู้มีญาณ เราเป็นเมล็ดพืชของสรรพสิ่ง มหาสากลจักรวาลที่ปรากฎหากไม่มีตัวเราเสียแล้วย่อมมีไม่ได้ วิภูติหรือทิพยศักดิ์ของเราไม่มีสิ้นสุด สิ่งที่เรากล่าวแก่เธอ เป็นเพียงส่วนน้อยของทิพย์ศักดิ์อันไร้ขอบเขตของเราเท่านั้น อรชุนเธอจะรู้มากขนาดนั้นไปทำไมกัน แค่รู้ว่ามีตัวเราและส่วนหนึ่งของตัวเราเป็นผู้ค้ำจุนจักรวาลนี้เอาไว้ก็พอแล้ว
บทที่ 11 รูปลักษณ์ของพระเจ้า
อรชุน : ความเร้นลับแห่งอาตมันที่ท่านได้บอกแก่ข้าด้วยเมตตานั้นได้ช่วยขจัดความงมงายของข้าไปจนหมดสิ้นแล้ว ข้าได้ฟังแล้วถึงการเกิดและการตายของสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งความยิ่งใหญ่อันไม่ดับสูญของตัวท่านด้วย ข้าไม่สงสัยเลยในสิ่งที่ท่านพูด มันต้องเป็นเช่นนั้นแน่ แต่ข้าก็ยังอยากเห็นรูปลักษณ์เห็นรูปลักษณ์ที่เป็นทิพย์ของท่าน ถ้าหากท่านเห็นว่าข้าสามารถเห็นรูปลักษณ์นั้นได้ ขอท่านโปรดแสดงให้ข้าได้เห็นอาตมันที่ไม่มีวันเสื่อมสลายด้วยเถิด
กฤษณะ : อรชุน !!! เชิญดูเอาซิ รูปลักษณ์ของเราอันเป็นทิพย์หลายร้อย หลายพัน หลายอย่าง หลายสีและหลายอาการ จงดูสิ่งน่าอัศจรรย์เป็นอย่างมากซึ่งเธอไม่เคยเห็น จงดูจักรวาลทั้งหมดเสียในวันนี้พร้อมทั้งสิ่งที่เคลื่อนที่และคงที่ทั้งหมดที่ตั้งอยู่ในความเป็นอันเดียวกัน ในร่างของตัวเรานี้ และจงดูสิ่งต่างๆ ที่เธออยากดูเสียเลย แต่เธอจะไม่อาจมองเห็นตัวเรา ด้วยตาเปล่าของเธอได้ เราจะให้ตาทิพย์แก่เธอเพื่อดูอำนาจแห่งโยคะอันยิ่งใหญ่ของตัวเรา
...จากนั้นกฤษณะก็สำแดงทิพยรูปอันยิ่งใหญ่แก่อรชุนซึ่งมีหลายหน้า หลายตา หลายหลาย เป็นทเพที่มีแต่ความอัศจรรย์ไม่สิ้นสุดปรากฏทุกแห่งเปรียบได้กับแสงอาทิตย์พันดวงประดังขึ้นพร้อมกันในฟากฟ้าถึงจะใกล้เคียงกับความสว่างจ้าของอาตมันพอได้บ้าง อรชุนถึงกับตะลึงงันพิศวงงงงวย เขายกมือขึ้นพนมพร้อมกับก้มศรีษะคารวะกฤษณะด้วยจิตบูชาสูงสุด...
อรชุน : โอ ท่านกฤษณะ ข้าเห็นทวยเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในร่างของท่าน ข้ายังเป็นรูปลักษณ์อันไม่สิ้นสุดด้วยประการทั้งปวงของท่าน ข้าไม่อาจมองเห็นที่สุดท่ามกลางและ เบื้องต้นของตัวท่านได้เลยมันโชติช่วงเจิดจ้ารุ่งโรจน์โดยรอบอย่างไม่อาจประมาณได้ ข้ารู้สึกครั่นคร้ามในตัวท่านเหลือเกิด พอข้าเห็นรูปลักษณ์ที่แท้จริงของท่าน ข้ากลับไม่พบความเข้มแข็งและความสงบเลย ข้ารู้สึกหน้ามืดไม่เป็นสุขท่านน่ากลัวเหมือนไฟประลัยกัล ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเล่า ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ข้าด้วยเถิดทำไมท่านถึงมีรูปลักษณ์อันร้อนแรงที่แผนเผามวลหมู่โลกด้วยเล่า ข้าใคร่ทราบเบื้องต้นของท่านเพราะข้าไม่ทราบประวัติของท่าน
กฤษณะ : เพราะตัวเราเป็น “กาลเวลา” ที่ทำการผลาญโลกด้วย เมื่อเวลาแห่งการทำลายล้างมาถึงกองทัพของศัตรูถูกทำลายสิ้นยกเว้นแต่ตัวเธอเท่านั้น ฉะนั้นเธอจงลุกขึ้นไปสู้รบเถิดอรชุน ศัตรูของท่านตัวเราได้ฆ่าเสียก่อนแล้ว เธอจงชนะอย่ากลัวรบซิ จงเป็นผู้ชนะปวงศัตรูในสนามรบ
อรชุน : ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าที่ผ่านมาข้าชะล่าใจที่พูดกับพระองค์โดยคิดว่าพระองค์เป็นเพื่อน จึงใช้คำว่ากฤษณะเอ๋ย เพื่อนเอ๋ย เพราะข้ายังไม่รู้ความประเสริฐยิ่งของพระองค์ ข้าจึงผลั้งเผลอไปด้วยความรักใคร่ สิ่งใดที่ข้าประพฤติล่วงเกินพระองค์ในการเดินเล่น การนอน การนั่ง และการบริโภคเพื่อหยอกล้อกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลังข้าขอขมาต่อพระองค์ผู้หาประมาณ มิได้ พระองค์เป็นบิดาของโลกซึ่งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ พระองค์เป็นผู้น่านับถือเคารพยกย่องของโลกนี้ พระองค์เป็นครูที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าครูทั้งหลายไม่มีใครเสมอเหมือนใน 3 โลกนี้ ข้าขอทอดกายลงนอบน้อมเลื่อมใสต่อพระองค์ผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ได้โปรดงดโทษแก่ตัวข้า เหมือนบิดางดโทษบุตร เพื่อนงดโทษเพื่อน และคู่รักงดโทษคู่รักด้วยเถิด ข้าได้เห็นรูปที่ไม่เคยเห็นมาเลยจึงมีความยินดีและครั่นคร้ามด้วยความเกรงกลัว แต่ข้าก็ยังปรารถนาที่จะเป็นรูปลักษณ์ของพระองค์ที่เป็นวิษณุที่มี 4 กร ขอพระองค์ได้โปรดอนุเคราะห์ข้าด้วยเถิด
กฤษณะ : อรชุน ตัวเรายินดีที่จะแสดงรูปลักษณ์นี้ให้เธอเห็นด้วยอำนาจแห่งโยคะของเรา ซึ่งนอกจากตัวเธอแล้วจะไม่มีใครเคยเห็นเลย จงรู้ไว้ด้วยว่าการจะได้เห็นตัวเรานั้น พระเวทก็ไม่ใช่ ยัญพิธีก็ไม่ใช่ การเล่าเรียนก็ไม่ใช่ ทานก็ไม่ใช่ การบูชาก็ไม่ใช่ ตบะก็ไม่ใช่ นอกจากตัวเธอแล้วไม่มีใครได้เห็นรูปร่างอย่างนี้ของเราเลย เธออย่ากลัวไปเลยเธออย่าหวาดหวั่นไปเลยที่ได้เห็นรูปร้ายแรงเช่นนี้ของตัวเรา จงเปลื้องความหวาดกลัวทำใจให้ร่าเริง แลดูรูปลักษณ์อันนี้ของเราเถิด
...พอกฤษณะกล่าวเช่นนั้นแก่อรชุนแล้วก็แสดงรูป 4 กรของตนเองอีกครั้งก่อนที่จะกลับมาเป็นผู้มีรูปร่างละมุนละม่อมอีกเพื่อปลอบอรชุน...
อรชุน : ข้าแต่พระองค์ พอข้าได้เห็นรูปมนุษย์อันละมุนละม่อมของพระองค์แล้ว ตัวข้าก็ได้สติกลับคืนสู่ความเป็นปกติของตัวข้าแล้ว
กฤษณะ : รูปของตัวเราที่เธอได้เห็นนี้ ยากที่ใครจะเห็นได้แม้แต่เทวดาเองก็ยังอยากที่จะเห็นรูปนี้เป็นนิตย์ ตัวเราได้บอกเธอไปแล้ว ใครๆ ไม่อาจเห็นตัวเราได้ด้วยเวท จบะ ทาน ยัญพิธี แต่ด้วยภักดีเท่านั้นหาใช่สิ่งอื่นไม่ที่จะทำให้เห็นตัวเราและอาจบรรลุถึงตัวเราได้นะอรชุน ผู้ใดทำกรรมเพื่อตัวเรา มีตัวเราเป็นจุดหมาย ภักดีต่อตัวเราละทิ้งความยึดติด ไม่คิดร้ายจองเวรผู้ใด ผู้นั้นย่อมมาถึงตัวเราได้
บทที่ 12 โยคะแห่งความภักดี
อรชุน : ในระหว่างคนที่ภักดีบูชาตัวท่านด้วยความสำรวมเสมอ กับคนที่บูชา “พระเจ้า” ผู้ไม่ประจักษ์ไม่รู้เสื่อมสลาย คนไหนจะเป็นผู้ที่รู้เข้าใจโยคะมากกว่ากันโปรดบอกข้าด้วยเถิด
กฤษณะ : ผู้ใดมีจิตเป็นเอกัคตาคือมีใจจดจ่อเพียงหนึ่งเดียวในตัวเรา บูชาตัวเราด้วยความสำรวมเสมอ มีศรัทธาสูงมั่น เราเห็นว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่รู้เข้าใจโยคะดีกว่าผู้ที่บูชาผู้ไม่รู้เสื่อม ผู้ไม่อาจพรรณาได้ ผู้ไม่ประจักษ์ผู้อยู่ในที่ทั่วไปไม่อาจคาดคิดไปถึงตั้งมั่นเหมือนภูเขาไม่หวั่นไหว และเที่ยงแท้สามารถควบคุมอินทรีย์ทั้งปวงได้ มีใจเมตตายินดีช่วยเหลือทุกคน คนผู้นั้นก็ย่อมเข้าถึงตัวเราได้แน่เช่นกันเพียงแต่การมีใจตั้งมั่นในสิ่งที่ไม่ประจักษ์ออกมานั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะคติของพรหมไม่มีรูปร่าง คนที่สำคัญผิดคิดว่าพรหมมีร่างกายเป็นตัวตนย่อมยากที่จะเข้าใจได้
ผู้ใดก็ตามที่สละกรรมทั้งปวงให้แก่ตัวเรา คิดถึงตัวเราอย่างเดียว เพ่งจิตต่อตัวเราด้วยสมาธิอันแน่วแน่ ผู้นั้นย่อมคบกับตัวเราได้ และตัวเราจะเป็นผู้ฉุดเขาผู้นั้นขึ้นจากทะเลแห่งสังสารวัฏซึ่งเป็นแดนมฤตยูโดยไม่ชักช้า เพราะฉะนั้นเธอจงวางใจในตัวเราปล่อยให้ความรู้ของเธอเข้าสู่ตัวเรา เธอจะอยู่ในตัวเราโดยแท้ต่อนี้ไปไม่ต้องสงสัยเลย แต่ถ้าหากเธอยังไม่อาจตั้งจิตไว้ในตัวเราได้โดยมั่นคง เธอก็จงปรารถนาเพื่อบรรลุตัวเราด้วยการฝึกโยคะเถิดนะอรชุน !!! และถ้าหากเธอไม่สามารถฝึกโยคะได้ เธอก็จงเป็นผู้กระทำกรรมเพื่อตัวเราเถิด เมื่อเธอกระทำกรรมเพื่อตัวเราแล้ว เธอจะบรรลุความสำเร็จแม้ในการกระทำอย่างนี้ เธอก็ไม่อาจทำได้ก็จงสละผลของกรรมทั้งปวงเสียด้วยการบังคับตน เพราะว่าการฝึกโยคะไม่ดีไปกว่าญาณและญาณไม่ดีไปกว่าฌาณและฌาณไม่ดีไปกว่าการสละผลของกรรม เนื่องจากการสละผลของกรรมจะทำให้บุคคลได้รับสันตินิรันดร
ผู้ใดไม่เกลียดชังต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีเมตตากรุณาโดยแท้ปราศจากการถือตัวและอหังการ ปฏิบัติต่อสุขและทุกข์อย่างเท่าเทียมกัน คอยแต่จะให้อภัยถือสันโดษเนืองนิตย์ เป็นผู้ประกอบสมาธิบังคับใจให้ตั้งอยู่ในความมั่นคง มีใจและปัญญาแน่นแฟ้นในตัวเรา ภักดีต่อตัวเรา เขาผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของตัวเรา ถ้าเขาไม่ทำให้โลกเดือนร้อยและโลกก็ไม่สามารถทำให้เขาเดือดร้อน พ้นจากความยินดียินร้าย ความอิจฉาริษยา ความกลัว ความวิตก คนผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของตัวเรา ผู้ใดที่ไม่มุ่งหวังต่ออะไร บริสุทธิ์ ขะมักเขม้น วางเฉย พ้นจากความกลัว สละความอยากส่วนตัวทุกอย่างในการกระทำ ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของตัวเรา ผู้ใดที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่เศร้าโศก ไม่ปรารถนา สละความดีและความชั่ว มีความภักดี ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของตัวเรา ผู้ใดวางตนสม่ำเสมอในศัตรูและมิตรในการได้รับความนับถือและดูหมิ้น มีความสม่ำเสมอในหนาวร้อนสุขทุกข์เว้นจากการคลุกคลี ถือเอานินทากับสรรเสริฐว่าเท่ากัน สงบนิ่งสันโดษ ไม่ยึดติด มีความเห็นมั่นคง มีภักดี ย่อมเป็นที่รักของตัวเรา ส่วนผู้ที่ตั้งมั่นในศัทธา นับถือตัวเราเป็นอย่างยิ่ง มีความภักดี ปฏิบัติตามคำสอนอันเป็นอมฤตธรรมที่เราสอนอยู่ในที่นี้ คนผู้นั้นจะเป็นยอดที่รักของตัวเรา
บทที่ 13 ร่างกายกับผู้รู้ร่างกาย
อรชุน : ข้าแต่พระองค์ ข้าใครจะทราบสิ่งเหล่านี้คือประกฤติกับปุรุษและเนื้อนากับผู้ล่วงรู้ถึงเนื้อนานั้น
กฤษณะ : ร่างกายนี้เรียกว่าเป็น “เนื้อนา” เพราะร่างกายเป็นที่ปรากฏของผลแห่งกรรมดุจเนื้อนาเป็นที่ปลูกหว่านพืชก็งอกงามปรากฏขึ้นมาได้ ผู้ที่รู้ร่างกายนี้จึงได้ชื่อว่าผู้ล่วงรู้ถึงเนื้อนา หรือผู้มีปัญญาตัวเราคือผู้รู้เนื้อนานั้น ในบรรดาเนื้อนาทั้งหลายตัวเราเห็นว่าความรู้เกี่ยวกับเนื้อนาและผู้รู้เนื้อนาเป็นความรู้ยิ่งยวด เนื้อนานั้นคืออะไร เป็นเช่นไร เปลี่ยนแปลงอย่างไรเกิดจากอะไร ผู้รู้เนื้อนานั้นคือใคร มีอานุภาพอย่างไรเราจะบอกเรื่องเหล่านี้ให้เธอฟัง
ธาตุทั้ง 5 หรือดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศที่รวมกันเรียกว่ามหาภูติ อหังการและพุทธิสิ่งที่ไม่มีตัวปรากฏคือประกฤติ (ได้แก่มายา) อินทรีย์สิบ ความใคร่ ความเกลียด สุข ทุกข์ การปรุงแต่ง เจตนา สิ่งเหล่านี้หลอมรวมอยู่ในร่างกายคน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมแล้วเรียกว่า “เนื้อนา” ความไม่ถือตัว ความไม่ดื้อกระด้าง อหิงสา การให้อภัย ความซื่อตรง ความเคารพต่อครูบาอาจารย์ ความสะอาดหมดทั้งกายใจ ความมั่นคง การบังคับตน ความเบื่อหน่ายในอารมณ์ของอินทรีย์ ความไม่มีอหังการ การเห็นทุกข์โทษในเกิดแก่เจ็บตาย การไม่ติดอยู่ในอารมณ์ การไม่ถือว่าบุตร ภรรยา เคหสถานเป็นของตน ความมีใจสม่ำเสมอเป็นนิตย์ในสุขเวทนาและทุกข์เวทนา ความมีใจภักดีในตัวเราเท่านั้นด้วยโยคะที่แน่วแน่ อยู่ในสถานที่สงบไม่ยินดียินร้ายในสังคมหมู่ชน ล่วงรู้ในความรู้เกี่ยวกับอาตมัน หมั่นศึกษาอย่างต่อเนื้องไม่ท้อถอยจนได้แก่นสารแห่งความรู้ ผู้ที่ปฏิเสธสิ่งนี้คือผู้ไม่รู้
เราจะกล่าวถึงสิ่งที่ควรรู้แก่เธอ เมื่อรู้แล้วจะได้รับความเป็นอมฤตนั่นคือพรหมที่ไม่มีเบื้องต้นที่ข้ามพ้นทั้งความมีและความไม่มีได้ พรหมนั้นมีอยู่ทั่วไปห่อหุ้มสิ่งทั้งหมดในโลกนี้ไว้ พรหมเป็นผู้แจ่มแจ้งในอินทรีย์ทั้งปวงแต่เว้นจากอินทรีย์ทั้งปวงพรหมไม่ยึดติดกับสิ่งใดแต่ค้ำจุนพยุงทุกๆสิ่งเอาไว้ พรหมเป็นผู้บริโภคคุณสมบัติทั้ง 3 แต่ข้ามพ้นคุณสมบัติทั้ง 3 พรหมอยู่ทั้งภายนอกและภายในของสรรพสัตว์ เป็นทั้งคงที่และเคลื่อนที่เป็นสิ่งละเอียดที่ใครๆ ก็ไม่อาจรู้ได้ อยู่ทั้งในที่ใกล้และที่ไหล พรหมไม่แบ่งแยกระหว่างสรรพสัตว์ในวัตถุทั้งหลาย ทั้งดำรงอยู่เหมือนแยกต่างหาก พรหมเป็นผู้สร้าง ผู้หล่อเลี้ยง และผู้ทำลายสรรพสิ่ง พรหมเป็นแสงสว่างทั้งหลาย อยู่พ้นความมืดเป็นญาณเป็นทางแห่งความรู้อาจเข้าถึงได้ด้วยญาณ ดำรงอยู่ในหัวใจของสิ่งทั้งปวง
เราได้กล่าวเรื่องเนื้อหา ความรู้ และทางแห่งความรู้โดยย่อไปแล้ว ผู้ที่ภักดีต่อตัวเราเมื่อทราบแล้วย่อมเข้าสู่สภาวะแห่งตัวเราได้ เธอควรรู้ว่าประกฤติและปุรุษทั้ง 2 สิ่งนี้หาเบื้องต้นมิได้ การเปลี่ยนแปลงทั้งปวงและคุณสมบัติล้วนเกิดจากประกฤติ ตัวประกฤตินี้เป็นเหตุให้เกิดกายและใจ ส่วนปุรุษได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งการเสวยสุขและทุกข์ ปุรุษตั้งอยู่ในประกฤติ เสวยคุณสมบัติอันเกิดจากประกฤติ การที่ปุรุษติอยู่ในคุณสมบัติทั้ง 3 นั้นเป็นเหตุแห่งชาติกำเนิดของเขาที่เป็นความดีและความชั่ว ปุรุษอันประเสริฐในร่างกายมีชื่อเรียกว่า “ผู้ดู ผู้อนุมัติ ผู้ค้ำจุน ผู้เสพ ผู้เป็นเจ้า และปรมาตมัน” ผู้ใดรู้จักปุรุษและประกฤติพร้อมด้วยคุณสมบัติอย่างนี้ ผู้นั้นแม้จะเป็นอย่างไรในปัจจุบันนี้ก็ตาม ตัวเขาย่อมไม่ต้องเกิดอีก
บางคนเห็นอาตมันในตัวเองด้วยฌาณสมาธิ บางคนเห็นด้วยจิตคน บางคนเห็นด้วยความรู้ (สางขยโยคะ) และบางคนเห็นด้วยกรรมโยคะ แต่บางคนไม่รู้อย่างนี้ได้ยินมาจากผู้อื่นแล้วปฏิบัติด้วยศรัทธา คนผู้นั้นแม้อาศัยแค่การสดับฟังก็ยังสามารถข้ามพ้นมฤตยูได้บ้าง อรชุน เธอจงรู้เอาไว้เถอะว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง “เนื้อนา” กับ “ผู้รู้เนื้อนา” ระหว่างประกฤติกับปุรุษ ผู้ใดเห็นปรมาตมันดำรงอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลายเห็นความสม่ำเสมอ ไม่เสื่อมสูญในสิ่งที่เสมื่อมสูญ ผู้นั้นย่อมไม่ทำร้ายอาตมันของตัวเอง และสามารถบรรลุบรมคติได้ ผู้ที่เห็นว่าประกฤติเป็นผู้ทำกรรมทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเห็นว่าอาตมันไม่ได้เป็นผู้กระทำอะไรเลย เมื่อใดก็ตามที่เขาพิจารณาเห็นภาวะต่างๆ ของสรรพสัตว์ล้วนตั้งอยู่บนความเป็นหนึ่งเดียว เมื่อนั้นเขาย่อมบรรลุถึงพรหม
อากาศดำรงอยู่ทั่วไปโดยไม่ติดขัดอะไรเลยเพราะเป็นของละเอียดฉันใด อาตมันก็ฉันนั้นมันดำรงอยู่ในสิ่งทั่วไปย่อมไม่ติดอยู่ในร่างกาย ดวงอาทิตย์ดวงเดียวส่องโลกนี้ทั้งหมดฉันใด ผู้อยู่ใน “เนื้อนา” หรืออาตมันก็ย่อมส่อง “เนื้อนา” ทั้งหมดได้ฉันนั้น ผู้ใดที่รู้ความแตกต่างระหว่าง “เนื้อนา” กับ “ผู้รู้เนื้อนา” ด้วยญาณจุกษุหรือดวงตาแห่งความรู้เช่นนี้ย่อมพ้นจากประกฤติหรือพลังมายาของสิ่งทั้งปวงและสามารถบรรลุถึงอาตมันได้
บทที่ 14 คุณสมบัติทั้ง 3
กฤษณะ : เราจะกล่าวอีกครั้งเกี่ยวกับญาณอันประเสริฐสุดในบรรดาญาณทั้งหลาย ซึ่งมุนีทั้งหลายที่ได้รับฟังความรู้นี้แล้วจะสามารถบรรลุความสำเร็จอันยอดยิ่งได้ มุนีเหล่านี้ได้อาศัยญาณเหล่านี้บรรลุถึงตัวเราจึงไม่เกิดในกัลป์เริ่มต้นและไม่กระวนกระวายในคราวพินาศ ครรภ์ของตัวเราคือ “มหาพรหม” ในครรภ์นั้นตัวเราได้หยอดเชื้อไว้ การถือกำเนิดของสรรพสัตว์ย่อมมาจากครรภ์นั้น รูปทั้งหลายเกิดในครรภ์ทั้งปวง มหาพรหมเป็นครรภ์แห่งครรภ์เหล่านั้น ส่วนตัวเราเป็นบิดาผู้ประทานเมล็ดพืชให้
คุณสมบัติทั้ง 3 ได้แก่สัตวะ รชะ และตมะ ทั้ง 3 ย่อมเกิดจากประกฤติซึ่งเป็นหลังที่ผนึกวัญญาณอันไม่เสื่อมสูญในร่างกาย ในบรรดาคุณสมบัติทั้ง 3
“สัตวะ” หรือความดีเป็นผู้ฉายแสงไม่มีมลทิน แต่เนื่องจากยังติดยึดอยู่กบัความสุขและความรู้ สัตวะจึงผูกมัดผู้คนเอาไว้
“รชะ” หรือพลังงานเป็นตัวย้อมอันเกิดจากตัณหาราคะ รชะจึงผูกมัดผู้คนให้ยึดติดกับการกระทำ
“ตมะ” หรือความเฉื่อยเกิดจากความไม่รู้ เป็นเครื่องล่อลวงวิญญาณทั้งหลายให้ลุ่มหลง ตมะจึงผูกมัดผู้คนด้วยความประมาท ความเกียจคร้าน และการหลับ
สัตวะทำให้ติดอยู่กับความสุข รชะทำให้ติดอยู่กับกรรม ตมะเป็นตัวห่อหุ้มความรู้ด้วยความไม่รู้จึงทำให้ติดอยู่กับความประมาท
เมื่อสัตวะเหนือกว่ารชะและตมะ คนจะรู้สึกถึงสัตวะ
เมื่อรชะเหนือกว่าสัตวะและตมะ คนจะติดอยู่กับรชะ
เมื่อตมะเหนือกว่าสัตวะและรชะ คนจะทำตามตมะ
เมื่อแสงแห่งญาณความรู้ส่องไปทั่วทวารในร่างกาย จงรู้ไว้เถิดว่าสัตวะอยู่เหนือแล้ว หากเกิดความโลภ ความพยายามในทางโลก การเริ่มลงมือทำการ ความไม่สงบ และความทะยานอยาก จงรู้ไว้เถิดว่ารชะอยู่เหนือแล้ว หากเกิดความไม่แจ่มแจ้ง ไม่พยายาม ประมาท โมหะ ก็จงรู้ว่าตมะอยู่เหนือแล้ว หากผู้ใดตายในขณะที่สัตวะอยู่เหนือกว่า เขาจะไปยังโลกที่ปราศจากมลทินที่เป็นที่อาศัยของปราชญ์อันยอดเยี่ยม หากผู้ใดตายในขณะที่รชะอยู่เหนือกว่า เขาจะไปเกิดในที่ผู้คนมีความยึดติดในกรรม หากผู้ใดตายขณะที่ตมะอยู่เหนือกว่า เขาจะไปเกิดในครรภ์ของคนโง่เขลา ผลกรรมของผู้ทำดีทำถูกต้องย่อมเป็นสัตวะไร้มลทินเป็นสุข ผลกรรมของรชะคือความทุกข์และผลกรรมของตมะคือความไม่รู้
ความรู้หรือญาณเกิดจากสัตวะ ความโลภเกิดจากรชะ ความประมาท โมหะ ความไม่รู้เกิดจากตมะ ผู้ตั้งอยู่ในสัตวะย่อมไปสู่เบื้องบน ผู้ตั้งอยู่ในรชะย่อมดำรงอยู่เบื ้องกลาง ผู้ตั้งอยู่ในตมะที่ต่ำช้าย่อมไปสู่เบื้องล่าง เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เห็นว่าไม่มีผู้กระทำอื่นใดนอกจากคุณสมบัติทั้ง 3 นี้แล้ว เขาจะรู้ถึงสิ่งที่สูงกว่าคุณสมบัติทั้ง 3 นั้น เขาย่อมมาถึงตัวเรา ผู้ที่ก้าวข้ามพ้นคุณสมบัติทั้ง 3 ซึ่งเกิดจาก “ร่างกาย” หรือ “เนื้อนา” เหล่านี้ได้แล้ว เขาผู้นั้นย่อมพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และได้รับอมฤต
อรชุน : ข้าแต่พระองค์ คนที่จะข้ามพ้นคุณสมบัติทั้ง 3 ได้จะต้องมีลักษณะอย่างไร ประพฤติตนอย่างไร และเขาข้ามพ้นไปด้วยอาการอย่างไร
กฤษณะ : ผู้ที่ไม่รังเกียจแสงสว่างของสัตวะ การดำเนินการของรชะ และโมหะของตมะ เมื่อประสบและไม่คร่ำครวญ เมื่อไม่ประสบย่อมข้ามพ้นคุณสมบัติทั้ง 3 ได้ ผู้ข้ามพ้นคุณสมบัติทั้ง 3 คือผู้ที่ประพฤติตนดังนี้ “นั่งอยู่โดยไม่หวั่นไหวในคุณสมบัติทั้ง 3 ทำตัววางเฉยโดยรู้ว่าคุณสมบัติทั้งหลายมีอยู่ แต่มั่นคงไม่ไหวหวั่น” ผู้ที่สามารถวางตนเสมอกันไม่ว่าทุกข์หรือสุข ตั้งอยู่ในภาวะแห่งตัวเรา เห็นก้อนดิน ก้อนหิน และทองคำมีสภาพเสมอกัน สิ่งที่รักและไม่รักมีสภาพเท่ากัน เป็นผู้มีปัญญามั่นคงไม่ว่าถูกติเตียนหรือสรรเสริญมีสภาพเท่ากัน การนับถือเคารพและการถูกดูหมิ่นมีสภาพเท่ากันเพื่อนและศัตรูมีสภาพเท่ากัน สละการเริ่มดำเนินการทั้งปวงได้ เขาผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ล่วงพ้นคุณสมบัติทั้ง 3 และผู้ใดที่ปฏิบัติต่อตัวเราด้วยโยคะคือความภักดีไม่เปลี่ยนแปลง ผู้นั้นเมื่อข้ามพ้นคุณสมบัติทั้ง 3 ไปแล้ว ย่อมกลายเป็นพรหมเป็นอันหนึ่งเดียวกับพรหม เพราะตัวเราเป็นที่อาศัยของพรหมของอมฤต ของความไม่เสื่อมสลาย ของธรรมอันยั่งยืนและของอนันตสุข
บทที่ 15 ผู้ประเสริฐสุด
กฤษณะ : กล่าวกันว่าต้นโพธิ์ที่ไม่เสื่อมสูญมีรากอยู่เบื้องบนมีกิ่งอยู่เบื้องล่าง มีใบเป็นพระเวท ผู้ใดรู้จักต้นไม้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้พระเวท กิ่งก้านของต้นโพธิ์ต้นนี้งอกงามด้วยคุณสมบัติทั้ง 3 มีอารมณ์เป็นหน่อแผ่ไปในเบื้องบนและเบื้องล่าง รากที่แผ่ไปแม้ในโลกมนุษย์มีกรรมเป็น เครื่องผูกมัดในโลกนี้จะเห็นรูปร่างของต้นไม้นี้ไม่ได้เลยยอดและโคนต้นและที่เกิดก็ไม่มีควรใช้อาวุธคือความไม่ยึดติดไปตัดต้นไม้ ซึ่งมีรากมั่นคงนี้เสีย แล้วแสวงหาที่ซึ่งไปแล้วไม่กลับมาอีก โดยคิดว่าข้าจะดำเนินไปสู่พรหมซึ่งเป็นที่เริ้มกระทำอันเก่าแก่ ผู้ไม่หลงไม่ถือตัว เอาชนะความยึดติดได้ มีสมาธิในอาตมันอยู่เสมอ มีกามอันหยุดสนิทพ้นแล้วจากภาวะแห่งความเป็นคู่คือสุขและทุกข์ย่อมถึงที่ที่ไม่เสื่อมสูญนั้น
ณ ที่ที่เป็นสถานพำนักของตัวเรา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงไฟส่องแสงไปไม่ได้ ผู้ใดไปถึงที่นั้นแล้วย่อมไม่กลับมา ส่วนหนึ่งของตัวเราคือชีวภูตอันนิรันดรในชีวโลกหรือสังสารวัฏ เมื่อได้รับร่างกายแล้วย่อมพาอินทรีย์ทั้ง 5 และอินทรีย์ที่ 6 คือใจมาด้วย โดยตั้งอยู่ในประกฤติหรือพลังมายา ครั้นเมื่อชีวภูตหรือเจ้าแห่งร่างกายเคลื่อนออกจากร่างกายแล้วย่อมพาอินทรีย์เหล่านี้ไปด้วยเหมือนลมที่พากลิ่นดอกไม้ไปจากที่ เจ้าแห่งร่างกายนี้อาศัยหู ตา กาย ลิ้น จมูก และใจเสวยอารมณ์ ผู้งมงายย่อมไม่เห็นชีวภูติที่กำลังเคลื่อนที่ ตั้งอยู่ เสวยอารมธ์อยู่ หรือกำลังประกอบคุณสมบัติอยู่ มีแต่ผู้มีปัญญาญาณเท่านั้นถึงจะแลเห็นได้
โยคีทั้งหลายได้พยายามอย่างยิ่งจนจิตสงบจึงเห็นอาตมันด้วยใจที่เป็นสมาธิ แต่ผู้ที่ไม่อาจบังคับใจได้ แม้พยายามอยู่ย่อมไม่เห็นอาตมัน แสงของดวงอาทิตย์ที่ส่องโลก แสงของดวงจันทร์ แสงของดวงไฟ เธอจงรู้ไว้ด้วยว่าแสงเหล่านั้นคือแสงของตัวเรา ตัวเราแทรกอยู่ในพื้นแผ่นดินค้ำจุนววรพสิ่งด้วยอำนาจของตัวเรา เราเป็นดวงจันทร์ น้ำค้าง ที่หล่อเลี้ยงต้นไม้ทั้งปวง ตัวเราเป็นไฟแห่งชีวิตอาศัยอยู่ในร่างสัตว์ทั้งหลาย ประกอบด้วยลม หายใจเข้าออกทำการย่อยอาหารทั้ง 4 คือของกิน ของเสีย ของดูด และของดื่ม ตัวเราตั้งอยู่ในดวงใจของสัตว์ทั้งปวง สติ การไร้สติ ปัญญา การไร้ปัญญา ย่อมมาจากตัวเรา ตัวเราคือทุกสิ่งที่กล่าวในพระเวท ตัวเราคือผู้เขียนพระเวทและตัวเราคือผู้รู้พระเวท
ในโลกนี้มีปุรุษ 2 อย่างคือสิ่งที่เสื่อมกับสิ่งที่ไม่เสื่อม แต่ก็ยังมีปุรุษอีกอันหนึ่งอยู่ต่างหากเป็นปุรุษสูงสุดที่เรียกว่าปรมาตมัน ซึ่งไม่เสื่อมสูญเป็นใหญ่ยิ่งแทรกอยู่ใน 3 โลก ธำรงโลกทั้งหลายเอาไว้ เพราะเหตุที่ตัวเราข้ามพ้นทั้งสิ่งที่เสื่อมและสิ่งที่ไม่เสื่อม ตัวเราจึงถูกเรียกว่า “ปุรุโษตตมะ” หรือ “ผู้ประเสริฐสูงสุด” ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ผู้ใดที่ไม่งมงาย รู้จักตัวเราว่าเป็นปุรุโษตตมะ ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่ารู้จักสิ่งทั้งปวง เขาย่อมบูชาตัวเราด้วยสรรพภาวะของเขา อรชุน !!! ศาสตร์อันเร้นลับที่สุดนี้ ตัวเราได้ถ่ายทอดออกมาแล้ว ผู้ใดที่เรียนรู้ศาสตร์อันนี้ได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำกิจเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
บทที่ 16 ความเป็นเทพกับความเป็นอสูร
กฤษณะ : ความไม่กลัว ความบริสุทธิ์แห่งใจ การปฏิบัติตาม คำสอนของโยคะแห่งความรู้ ทาน การบังคับอินทรีย์ภายนอก การบูชา การศึกษาพระเวท ตบะ ความซื่อตรง อหิงสา ความจริง ความไม่โกรธ การบริจาค สันติ การไม่กล่าวร้าย ความกรุณา ความไม่หวั่นไหว ความอ่อนโยน ความละอาย ความไม่ล่อกแล่ก กำลังใจ ความมั่นคง การไม่ถือโทษผู้อื่น ความไม่ริษยา ความไม่จองหอง นี่คือคุณลักษณะของผู้ที่เกิดมาพร้อมกับความเป็นเทพ
ส่วนคุณลักษณะของผู้ที่เกิดมาพร้อมกับความเป็นอสูรมีดังต่อไปนี้ ความกระด้าง ความโกง ความเย่อหยิ่ง ความโกรธ ความหยาบคาย ความไม่รู้ความเป็นเทพมีไว้เพื่อความหลุดพ้นหรือโมกษธรรม ส่วนความเป็นอสูรมีไว้เพื่อการถูกจองจำในวัฎสงสาร อรชุน เธอจงอย่าเสียใจหรือวิตกไปเลยเพราะตัวเธอเกิดมาก็มีความเป็นเทพอยู่ในตัวเธอแล้ว ในโลกนี้มีการปรากฎของสัตว์อยู่ 2 อย่างเท่านั้นคือ พวกที่เป็นเทพกับพวกที่เป็นอสูร เรื่องความเป็นเทพ ตัวเราได้กล่าวไปแล้วโดยพิสดาร คราวนี้จงฟังเรื่องความเป็นอสูรจากตัวเราบ้าง
พวกที่มีความเป็นอสูรไม่รู้ว่าตัวเองควรจะทำอะไรและไม่ควรจะทำอะไร พวกนี้ไม่มีทั้งความสะอาดบริสุทธิ์ ความประพฤติที่ถูกต้อง และความสัตย์จริง พวกนี้มักกล่าวเสมอว่า “จักรวาลนี้ไม่มีสัจธรรม ไม่มีบรรทัดฐาน ไม่มีพระเจ้า ไม่มีอะไรอื่น นอกจากเกิดมาเพราะการร่วมประเวณีโดยมีกามเป็นมูลเหตุ”
พวกนี้มีความประพฤติเสื่อม มีมิจฉาทิฐิเห็นผิดเป็นถูก จึงเป็นผู้มีปัญญาน้อย มีกรรมอันร้ายกาจ ไม่เกื้อกูลโลก เขามีชีวิตเพื่อสร้างความเสื่อมให้แก่โลก พวกนี้คดโกง ถือตัว มัวเมา ประพฤติไม่สะอาด อยู่ในกามอันไม่รู้จักเต็ม มีความเห็นผิดประพฤติผิดเพราะอยู่ในโมหะ พวกนี้เชื่อว่าเป้าหมายสุดยอดของชีวิตนี้คือการเสวยกามซึ่งเป็นความอยากความหลงที่ไม่มีวันสิ้นสุดนอกจากจะสิ้นสุดลงด้วยความตาย พวกนี้ถูกมัดโดยบ่วงคือความหวังตั้งร้อยอย่างพันอย่าง อาศัยกามและโกรธ พยายามสะสมทรัพย์โดยวิธีที่ไม่ยุติธณรมเพื่อบริโภคกาม พวกนี้หลงละเมือว่า
“กูได้ทรัพย์ในวันนี้แล้ว กูจะสนองความอยากของกู สมบัตินี้เป็นของกูแล้ว สมบัติก้อนใหม่ย่อมเป็นของกูอีก”
“ศัตรูคนนี้ของกูถูกฆ่าไปแล้ว และกูก็จะฆ่าศัตรูคนอื่นอีก กูเป็นเจ้า กูเป็นผู้เสพผู้บริโภค กูเป็นผู้สำเร็จ กูเป็นผู้มีอำนาจ กูมีความสุขจริง”
“กูร่ำรวย กูมีชาติตระกูลดี ไม่มีใครเทียมเท่ากูได้ กูจะประกอบยัญพิธี กูจะให้ทาน กูจะบันเทิง”
นี่แหละคือความไม่รู้ที่ชักให้พวกนี้หลงไป พวกนี้หัวหมุนไปด้วยความคิดตั้งหลายอย่าง ถูกตาข่ายคือโมหะห่อหุ้มเอาไว้จนดิ้นไม่หลุด ตกอยู่ในการเสวยกาม พวกนี้ย่อมตกลงไปในนรกคือความไม่บริสุทธิ์ พวกนี้ชอบยกย่องตนเอง ไม่นอบน้อมใคร มัวเมาในทรัพย์และถือตัว ทำยัญพิธีแต่ในนามเป็นแค่รูปแบบปราศจากการปฏิบัติธรรม พวกนี้จำนนต่ออหังการ อำนาจ ความกระด้าง กาม และโกรธ พวกนี้ไม่ชอบอาตมันในตัวเองและในตัวผู้อื่น เปี่ยมไปด้วยความริษยา ในโลกนี้ผู้มีแต่ความชิงชัง ดุร้าย เป็นคนชั่วช้าเลวทราม ตัวเราจะโยนพวกมันไปเกิดในครรภ์ของอสูรเป็นกำเนิดที่ไม่ดีงาม พวกมันจะเป็นคนโง่เขลากำเนิดเป็นอสูรชาติแล้วชาติเล่า ไม่มีวันมาถึงตัวเรา แต่จะจมลงสู่ก้นบึงแห่งความต่ำช้า ประตูนรกมีอยู่ 3 ทางคือโลภ โกรธ และกาม ซึ่งจะนำความฉิบหายมาสู่ตน พึงสละประตูทั้ง 3 นี้เสีย ผู้ที่สามารถไปพ้นจากประตูนรกทั้ง 3 แล้วตั้งใจประพฤติความดีงามเพื่อตน ย่อมบรรลุบรมคติได้ อรชุน เธอพึงยึดคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินว่าสิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ แล้วปฏิบัติกรรมในโลกนี้ไปตามนั้น
บทที่ 17 ศรัทธา 3 อย่าง
อรชุน : ข้าแต่พระองค์ ผู้ใดที่ประกอบพิธีบูชาด้วยจิตศรัทธา แต่ไม่ถูกวิธีตามที่บัญญติไว้ในพระ คัมภีร์ศรัทธาของเราจะเป็นอย่างไร จะเป็นสัตวะหรือรชะหรือตมะ
กฤษณะ : ศรัทธานั้นมีอยู่ 3 อย่างจำแนกตามธรรมชาติของมนุษย์ผู้นั้นคือศรัทธาที่ประกอบด้วยสัตวะ รชะ และตมะ ขอให้เธอจงตั้งใจฟังให้ดี คนเราทุกคนย่อมเกิดศรัทธาตามนิสัยของคนผู้นั้น ผู้ใดมีศรัทธาอย่างไรผู้นั้นก็เป็นอย่างนั้นเป็นไปตามนั้น ผู้มีศรัทธาที่ประกอบด้วยสัตวะ ย่อมบูชาเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาที่ประกอบด้วยรชะย่อมบูชาอำนาจและเงินทอง ผู้มีศรัทธาประกอบด้วยตมะย่อมบูชาฝูงเปรตและภูติผีทั้งหลาย ผู้ใดบำเพ็ญตบะอย่างเข้มงวด แต่มีความกระด้างอหังการตกอยู่ในกามและราคะ ไม่มีปัญญาขัดเกลาอินทรีย์ในร่างกาย ไม่มีปัญญาขัดเกลาอาตมันในสุขุมกาย ย่อมบำเพ็ญพรตผิดจากคัมภีร์อย่างร้ายแรง จงรู้ไว้เถิดว่าผู้นั้นแนบแน่นอยู่ในความเป็นอสูร
อาหารที่ผู้คนชอบก็มีอยู่ 3 ชนิดคือยัญ ตบะ และทาน เราจะจำแนกของ 3 อย่างนี้ให้เธอฟังดังต่อไปนี้
อาหารที่ผู้ที่ดำรงอยู่ในสัตวะชอบคืออาหารที่ผดุงอายุ สติปัญญา กำลัง อนามัย ความปรีดา มีรสนุ่มนวล ยั่งยืนถูกใจ อาหารที่ผู้ดำรงอยู่ในรชะชอบคืออาหารที่เผ็ด เปรี้ยว เค็ม ร้อนจัด มีรสจัด หยาบ ไหม้ อาหารประเภทนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคและทุกข์โศก อาหารที่ผู้ดำรงอยู่ในตมะชอบคืออาหารที่สุกๆ ดิบๆ ปราศจากรสเหม็นเน่าบูด ยัญหรือการบูชาผู้ใดที่ผู้ทำไม่หวังผลจากการบูชาโดยคิดทำ เพราะเป็นสิ่งที่ควรบูชาเท่านั้น ยัญนั้นเป็นของผู้ที่ดำรงอยู่ในสัตวะ ยัญหรือการบูชาใดที่ผู้กระทำเพื่อหวังผลหรือเพื่ออวดตัวเอง ยัญนั้นเป็นของผู้ที่ดำรงอยู่ในรชะ ยัญหรือการบูชาใดที่ไม่มีวิธี ไม่มีมนตร์กำกับ ปราศจากความเลื่อมใส ยัญนั้นเป็นของผู้ที่ดำรงอยู่ในตมะ
การบูชาเทพเจ้า พราหมณ์ อาจารย์ และนักปราชญ์การมีความบริสุทธิ์ ความซื่อตรง พรหมจรรย์ และอหิงสาจัดเป็นตบะส่วนร่างกาย คำพูดอันไม่ทำความเดือดร้อน มีสัจจะ น่ารัก เป็นประโยชน์ และการฝึกหัดบริกรรมพระเวทเหล่านี้จัดเป็นตบะส่วนวาจา ความผ่องใสแห่งใจ ความสงบแน่วแน่ ความนิ่ง การข่มใจ ความไม่บริสุทธิ์แห่งนิสัยเหล่านี้จัดเป็นตบะส่วนใจ ตบะทั้ง 3 อย่างนี้หากโยคีผู้ไม่หวังผลบำเพ็ญแล้วด้วยจิตศรัทธานั้นสูง จัดเป็นตบะของผู้ดำรงอยู่ในสัตวะ ตบะที่ทำเพื่อได้รับชื่อเสียง เกียรติยศ และการบูชาการกระทำโดยการอวดตัว จัดเป็นตบะของผู้ดำรงอยู่ในรชะย่อมไม่ยั่งยืน ตบะที่ทำด้วยความโง่เขลาไม่ว่าเป็นการเบียดเบียนตนเองหรือเพื่อทำลายผู้อื่นเรียกว่าเป็นตบะของผู้ดำรงอยู่ในตมะ
ท่านที่ให้แก่ผู้ที่ไม่เคยอุปการะโดยคิดว่าเป็นสิ่งที่ควรให้ในเวลา สถานที่กับบุคคลที่สมควรให้ทานนั้นจัดเป็นทานชนิดที่ประกอบด้วยสัตวะ แต่ทานที่ให้เพื่อตอบแทนผู้อุปการะหรือให้โดยหวังผลหรือให้แล้วเกิดความเสียดาย ทานนั้นจัดเป็นทานชนิดที่ประกอบด้วยรชะ ทานที่ให้โดยไม่นับถือและดูหมิ่นแก่ผู้ไม่สมควรรับ ทั้งไม่เหมาะด้วยเวลาและสถานที่ ทานนั้นจัดเป็นทานชนิดที่ประกอบด้วยตมะ คำว่า “โอม” “ตัด” “สัต” เป็นชื่อของพรหมทั้ง 3 คำ ผู้ที่นับถือพรหมจะออกเสียงว่า “โอม” เรื่อยๆ ไปแล้วทำยัญทาน ตบะกรรมตามที่กล่าวไว้แล้ว ผู้ที่มุ่งความหลุดพ้น (โมกษะ) ออกเสียงว่า “สัต” แล้วจึงทำยัญ ทาน ตบะกรรมโดยไม่หวังผล คำว่า “สัต” ได้แก่ ความดี ความจริง และกุศลกรรม การตั้งมั่นในยัญ ตบะ ทานจัดว่าเป็น “สัต” กรรมสำหรับยัญ ตบะ ทานก็จัดว่าเป็น “สัต” เช่นกัน การบูชา การให้ทาน การบำเพ็ยตบะที่กระทำโดยไม่มีศรัทธาเลยเรียกว่า “อสัต” มันไม่มีประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้าเลย
บทที่ 18 โยคะแห่งการสละเพื่อโมกษะ
อรชุน : ข้าแต่พระองค์ ตัวข้าอยากทราบแก่นแท้ของการสละกิเลสและการสละผล
กฤษณะ : นักปราชญ์รู้ดีว่าการสละกิเลส (สันยาส) คือการสละกรรมทั้งปวงที่เกิดจากกาม ผู้เห็นแจ้งแห่งกรรมทั้งปวงนี้ว่าการสละผล ผู้รู้บางคนกล่าวว่ากรรมที่มีโทษเป็นสิ่งควรสละ บางคนก็กล่าวว่ากรรมที่เป็นยัญ ทาน ตบะ เป็นสิ่งที่ไม่ควรสละ จงฟังข้อยุติของเราเถิดอรชุน !!! ในการเสียสละนั้นเขาว่ากันว่ามีอยู่ 3 ชนิด กรรมที่เป็นยัญทาน ตบะซึ่งเป็นสิ่งไม่ควรสละ มันเป็นสิ่งที่ควรทำโดยแท้ เพราะยัญ ทาน ตบะเป็นเครื่องชำระให้บริสุทธิ์ ของผู้มีปัญญาทั้งหลาย แต่กรรมเหล่านี้ก็ควรกระทำโดยไม่ยึดติดและไม่หวังผล นี่เป็นความเห็นของตัวเราอย่างเด็ดขาดและสูงสุด การสละกรรมที่เป็นหน้าที่เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเป็นความหลงเป็นการสละของผู้มีตมะผู้ใดสละกรรมเพราะคิดว่าเป็นทุกข์โดยกลัวร่างกายลำบากผู้นั้นทำการสละชนิดประกอบด้วยรชะจะไม่ได้รับผลจากการสละนั้นเลย กรรมใดที่ผู้นั้นกระทำอยู่เนืองนิตย์ เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่โดยตรง และกระทำโดยสละความยึดติดและหวังผลกรรมนั้นจัดเป็นการสละชนิดประกอบด้วยสัตวะ ผู้สละที่ประกอบด้วยสัตวะมีปัญญาตัดความสงสัยทั้งปวงได้แล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ระอารังเกียจต่อกุศลกรรมและไม่ยึดติดกับกุศลกรรม คนที่ไม่สามารถสละกรรมได้สิ้นแต่สามารถสละผลแห่งกรรมได้ผู้นั้นเรียกว่า “ผู้เสียสละ” ผลแห่งกรรมนั้นมีอยู่ 3 อย่าง คือไม่ดีล้วนๆ ดีล้วนๆ และระคนกันทั้ง 2 อย่าง ผู้ที่ไม่อาจสละความอยากและอัตตาได้ เมื่อตายไปแล้วจะได้รับผลอย่างใด อย่างหนึ่งนี้ แต่ผู้ที่สละกิเลสได้เป็นสันยาสีจะไม่รับผลใดๆ
อรชุน !!! เธอจงรู้เหตุ 5 อย่างของกรรมทั้งปวงจากวิชาสางขยะของตัวเราเพื่อความเป็นที่สุดแห่งกรรม ซึ่งได้แก่ที่ตั้งแห่งกาย ผู้มำเครื่องมือต่างๆ ความพยายามต่างๆ และเทพผู้ดลใจ กรรมทั้งหลายที่กระทำด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าถูกหรือผิดล้วนมาจากเหตุ 5 อย่างที่หล่าวมาแล้วนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เห็นว่าอาตมันเป็นผู้ทำจึงเป็นความเข้าใจผิดเพราะเขามีปัญญาไม่บริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่มีอหังการและมีปัญญาไม่ติดอยู่ในสิ่งอะไร ไม่ว่าฆ่าใครหรือถูกใครฆ่าก็ได้ชื่อว่าเขาไม่ได้ฆ่าใครและไม่ได้ถูกใครฆ่า ความรู้ สิ่งที่ถูกรู้ และผู้รู้ 3 อย่างนี้สะกิดให้เกิดกรรม เครื่องมือการทำ และผู้ทำ 3 อย่างนี้สงเคราะห์ให้เกิดกรรม ความรู้ใดที่ทำให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวอันไม่เสื่อมสูญในสรรพสิ่งและทำให้เห็นถึงความไม่แยกกันในสิ่งที่แยกกันอยู่ ความรู้นั้นเป็นความรู้ที่ประกอบด้วยสัตวะ ความรู้ใดที่ทำให้รู้ในสรรพสิ่งเป็นภาวะต่างๆ อันต่างชนิดกัน ความรู้นั้นเป็นความรู้ที่ประกอบด้วยรชะ ความรู้ใดที่ไม่ตั้งอยู่บนความจริงยึดติดกับผลเพียงเล็กน้อยไม่ถ่องแท้แต่ทำเหมือนรู้หมดความรู้นั้นเป็นึวามรู้ที่ประกอบด้วยตมะ
กรรมใดที่ผู้ไม่ประสงค์ผลทำแล้วโดยไม่ยึดติดในทุกขณะและไม่ยินดียินร้ายในกรรมนั้น จักเป็นการกระทำอันประกอบด้วยสัตวะ
กรรมใดที่ผู้ปรารถนากามและมีอหังการทำด้วยความพยายามมากกรรมนั่นจัดเป็นการกระทำอันประกอบด้วยรชะ
กรรมใดที่ทำด้วยโมหะโดยไม่คิดถึงความเสียหายภายหน้า ให้ร้ายแก่กัน ไม่คำนึงถึงความสามารถของตน กรรมนั้นจัดเป็นการกระทำอันประกอบด้วยตมะ
ผู้กระทำที่ทำโดยปราศจากความยึดติด ไม่มีอหังการ มั่นคงอุตสาหะ ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะความสำเร็จหรือล้มเหลว ผู้นั้นเรียกว่าผู้ประกอบด้วยสัตวะ
ผู้กระทำที่ทำโดยยังราคะยังปรารถนาผลของกรรม ยังโลภอยู่ ยังเบียดเบียนผู้อื่น ยังไม่บริสุทธิ์ ยังมีความดีใจเสียใจอยู่ ผู้นั้นเรียกว่าผู้ประกอบด้วยรชะ
ผู้กระทำที่ทำโดยจิตที่ไม่ตั้งมั่น โง่เขลา ดื้อรั้น คดโกง ชอบรังควานผู้อื่น เกียจคร้าน เจ้าทุกข์ ผลัดวันประกันพรุ่ง ผู้นั้นเรียกว่าผู้ประกอบด้วยตมะ
พุทธิใดที่เป็นความรู้ที่ทางโลกและรู้ทางออกจากโลก รู้สิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ รู้สิ่งที่ควรกลัวและสิ่งที่ไม่ควรกลัว พุทธินั้นประกอบด้วยสัตวะ ส่วนพุทธิที่ไม่รู้จริงในเรื่องเหล่านี้เป็นพุทธิที่ประกอบด้วยรชะ หากพุทธินั้นเป็นความรู้ที่เห็นผิดเป็นถูกกุจมีความมืดห่อหุ้มเอาไว้ พุทธินั้นประกอบด้วยตมะ
ความมั่นคงใดที่ทรงไว้ซึ่งกิริยาของใจ ลมหายใจและอินทรีย์ด้วยโยคะอันแน่วแน่ ความมั่นคงนั้นประกอบด้วยสัตวะ ส่วนความมั่นคงใดทรางไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม ความปรารถนา และทรัพย์ ทำให้ผู้คนยึดติดอยู่กับการหวังผล ความมั่นคงนั้นประกอบด้วยรชะ ส่วนความมั่นคงของผู้มีปัญญาทรามที่ไม่ยอมละทิ้งความหลับไหล ความกลัว ความโศก ความทุกข์ร้อน และความเมามัว ความมั่นคงนั้นประกอบด้วยตมะ ความสุขก็มี 3 ประการเช่นกัน เมื่อใดฝึกหัดแล้วจะได้รับความรื่นรมย์และสิ้นทุกข์
สุขใดที่ในเบื้องต้นเหมือนยาพิษแต่ภายหลังเหมือนน้ำอมฤต สุขนั้นประกอบด้วยสัตวะ ซึ่งเกิดจากความเลื่อมใสในพุทธิที่ตั้งมั่นอยู่ใน อาตมัน
สุขใดในเบื้องต้นเหมือนน้ำอมฤตแต่ภายหลังเหมือนยาพิศ เพราะเกิดจากอารมณ์และสัมผัสที่ผันแปรไป สุขนั้นได้ชื่อว่าประกอบด้วยรชะ
สุขใดที่ในเบื้องต้นและเบื้องท้ายล้วนเป็นความเคลิบเคลิ้มมัวเมาเกิดจากความหลับไหล ความเกียจคร้าน ความประมาท สุขนั้นประกอบด้วยตมะ
ความสงบระงับ การบังคับตน ความสะอาด ความอดกลั้น ความเที่ยงตรง ความฉลาด ความรู้ ความนับถือเทวดา เป็นการกระทำของพราหมณ์เกิดจากสภาพของเขา ความกล้าหาญ พลัง ความมั่นคง ความสามารถ การไม่หนีศึก ทาน ความสามารถในการบริหารเป็น การกระทำของนักรบหรือผู้นำเกิดจากสภาพของเขา ผู้มีความรู้อันไม่ติดอยู่ในอารมณ์ทั้งปวง ชนะตนเอง พ้นจากตัณหาย่อมได้รับความสำเร็จคือความสิ้นกรรม
ทำอย่างไรผู้คนถึงจะได้รับความสำเร็จในการเข้าถึงพรหมอันยิ่งยวด? เธอจงฟังวิธีจากตัวเราดังต่อไปนี้โดยย่อนะอรชุน ผู้ประกอบด้วยพุทธิอันหมดจด ข่มตัวเองได้ด้วยความมั่นคง สละอารมณ์ ละความรักความชัง เสพที่สงัด บริโภคน้อย บังคับกาย วาจา ใจ ยึดสมาธิเป็นหลัก ไม่กำหนดยินดีเป็นนิตย์ พ้นอหังการ ความห้าวหาญ ดื้อ กาม โกรธ ความโลภ ไม่มีตัวตน มีสันติในใจ ผู้นั้นย่อมเหมาะที่จะเข้าถึงพรหม ผู้ที่ตรัสรู้พรหมมีใจผ่องใสย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ปรารถนามีความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อสรรพสิ่ง ผู้นั้นย่อมได้รับความภักดีเลิศต่อตัวเรา เขาจะรู้จักตัวเราที่แท้จริงจากความภักดีของเขา ต่อจากนั้นเขาจะเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวเรา ผู้ใดนึกถึงตัวเราในการกระทำสรรพกรรมทุกเมื่อ เขาจะบรรลุภาวะที่เป็นอมตะโดยการอำนวยของตัวเรา ถ้าเธอสละกรรมทั้งปวงของเธอเพื่อตัวเรา มีเราอยู่ในใจเสมอ เธอจะสามารถข้ามอุปสรรคทั้งปวงที่ยากจะข้ามได้ เพราะการอำนวยและเอ็นดูของตัวเรา แต่ถ้าเธอทะนงตนไม่เชื่อฟังเธอจะพินาศ ต่อให้เธอตั้งใจว่าจะไม่สู้รบ ความตั้งใจของเธอก็จะไร้ผลเพราะนิสัยเดิมของเธอจะผลักดันเธอให้สู้รบ เพราะตัวเธอเป็นนักรบ เธอไม่มีอำนาจในการขัดขืนมันได้เลยอรชุน
พระเจ้าดำรงอยู่ในหัวใจของสรรพสิ่ง ยังให้สรรพสิ่งเวียนว่ายตายเกิดในกงล้อแห่งมายา เธอจงถือพระเจ้าเป็นที่พึ่งโดยประการทั้งปวง แล้วเธอจะเข้าถึงความสงบระงับอันประเสริฐเพียงแท้ เพราะความอำนวยของพระเจ้า นี่แหละคือญาณหรือความรู้อันเร้นลับสุดที่เร้นลับ ที่ตัวเราได้บอกแก่เธอไปแล้ว ขอให้เธอจงพิจารณาเอาเองให้ถี่ถ้วนแล้วปฏิบัติตามที่เธอปรารถนาเถิดเราจะสรุปคำสอนอันเร้นลับสุดยอดของตัวเรานี้ให้เธอฟังอีกครั้งนะอรชุน เพราะเธอเป็นที่รักของเรา ตัวเราจึงต้องบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่เธอ เธอจงมีใจยึดมั่นในตัวเรา ภักดีต่อตัวเรา บูชาตัวเรา นอบน้อมต่อตัวเรา แล้วเธอจะเข้าถึงตัวเราโดยแท้ เราขอให้คำสัญญานี้แก่เธอ เธอจงสละกรรมและหน้าที่ทั้งหลายเพื่อตัวเรา แล้วเราจะเปลื้องบาปทั้งปวงจากตัวเธอ ขออย่าได้เศร้าโศกไปเลย เราอยากจะบอกเรื่องนี้แก่เธอโดยเฉพาะเพราะเราไม่อยากบอกเรื่องนี้แก่ผู้ที่ไม่บำเพ็ญตบะ ไม่ภักดี ไม่ต้องการฟัง และผู้ที่ริษยาในตัวเรา ขอเธอจงอย่าบอกเรื่องนี้ให้คนเหล่านี้รู้ด้วย ผู้ที่ภักดีต่อตัวเราเป็นอย่างยิ่งย่อมแสดงความรู้อันเร้นลับนี้แก่ผู้ที่ศรัทธาในตัวเราเช่นกัน ไม่มีการรับใช้ตัวเราอันใดจะประเสริฐเท่าการเผยแพร่เรื่องนี้ให้มนุษย์ที่ศรัทธาในตัวเราได้รับทราบอีกแล้ว และจำไม่มีใครในโลกนี้ที่จะเป็นที่รักของเราเท่ากับเขา อรชุน เธอได้ฟังเรื่องนี้จากเราแล้ว เธอสามารถขจัดความหลงของเธอได้หรือยัง
อรชุน : ข้าแต่พระองค์ ความหลงของข้าพินาศหมดสิ้นแล้วข้าได้สติขึ้นกลายเป็นผู้มั่นคงสิ้นความสงสัยทั้งปวงข้าจะกระทำตามถ้อยคำของพระองค์ทุกประการ