นรก” ของชนชั้นกลางล่างกำลังมาเยือน (30)
โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย 28 สิงหาคม 2556 เศรษฐกิจไทยยุค “ปฏิแหลเพื่อพี่” กำลังเข้าตาจน ประเด็นที่ถูกจับตามองมากที่สุดในขณะนี้น่าจะอยู่ที่ หนี้สินครัวเรือนและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มจะชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ประเด็นข้างต้นพูดไปยังไม่ทันขาดคำ สภาพัฒน์ก็ประกาศว่าเศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส การบริหารแบบแบ่งงานกันทำ พี่ “ริ” + น้อง “ยำ” ด้วยนโยบายประชานิยมแบบสิ้นคิดที่ทำกับเศรษฐกิจในปัจจุบันจึงได้ผลอย่างที่เห็นอยู่คือเศรษฐกิจหันหัวไปสู่ประตู “นรก” หากเศรษฐกิจไม่ชะลอตัวจากสาเหตุดังกล่าวก็คงไม่มีการดิ้นรนออกมา “แถ” เรื่องตัวเลขหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ร้อยละ 78 ในไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ. 2555 ในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปีของ “โต้ง ผู้โกหก” ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้แยกแยะตัวเลขที่ครัวเรือนไปกู้มาเพื่อทำทุนในธุรกิจ |
||||
จะเห็นได้ว่ามีเพียงส่วนเดียวเท่านั้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลโดยตรงคือ (1) นอกนั้นอีกประมาณครึ่งหนึ่งปล่อยกู้ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐแทบทั้งสิ้น การจะมา “แถ” ว่ารถคันแรกที่ซื้อนั้นเอาไปทำมาหากินมิได้เอาไปขับโชว์ที่บ้านนอกให้รถติดวันหยุดยาวเป็นสิบๆ กม.นั้นก็ทำได้อยู่ แต่หนี้ที่เกิดนั้นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเนื่องมาจากครัวเรือนกว่า 1 ล้านครัวเรือนที่ซื้อรถคันแรกที่ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางล่างที่ต้องลดการบริโภคเพื่อนำเงินส่วนใหญ่มาผ่อนรถ ไม่เช่นนั้นการบริโภคในประเทศจะชะลอตัวไปได้อย่างไร ที่สำคัญก็คือคงจะไม่สามารถฟื้นการบริโภคในเร็ววัน เหตุก็เพราะยังต้องมีภาระผ่อนอย่างน้อยก็อีก 3-4 ปี ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ดูสดใสเมื่อปลายปี 2555 จึงเป็นความหม่นหมองของปี 2556 จากนโยบายประชานิยมแบบสิ้นคิดพี่ “ริ” น้อง “ยำ” และน่าจะติดต่อไปอีก 2-3 ปี หากลูกหนี้เหล่านั้นไม่เป็นหนี้เสียที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เสียก่อน การไม่มีความต้องการในรถใหม่เลยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาเนื่องจากการโหมขายเอายอดในช่วงปลายปีก่อนจึงเป็นข้อพิสูจน์ที่ดี ประเด็นที่ไม่คิดกันก็คือ หากสินเชื่อบุคคลเป็นหนี้เสียก็มีโอกาสสูงที่จะถูกฟ้องร้องเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งหมายความว่าที่กำลังทำงานอยู่อาจถูกให้ออก ไปสมัครใหม่ก็ไม่ได้ ผลกระทบก็จะแผ่ไปในวงกว้างกว่าที่คิดหากสินเชื่อบุคคลเป็หนี้เสีย ปัจจัยที่ซ้ำเติมการบริโภคภายในประเทศให้อ่อนตัวลงยิ่งขึ้นก็คือ การบริหารราคาสินค้าเกษตรที่แทบทุกตัวสินค้าในขณะนี้ลดต่ำลง ขณะที่ราคาค่าไฟฟ้า ค่าทางด่วน ค่าก๊าซหุงต้มและขนส่งกำลังจะขึ้นราคาสวนทาง นี่คือนรกของคนชั้นกลางล่างไม่ว่าสีใด “ชอบมั้ยค๊า...!!!” ยางเป็นตัวอย่างที่ดี เหตุก็เพราะยางมีลักษณะเดียวกับข้าว ที่ไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกที่มีการผลิตมากเกินกว่าความต้องการในประเทศ ยางในประเทศจึงต้องพึ่งพาการส่งออกมากกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณที่ผลิตได้ในแต่ละปี กลไกตลาดทั้งภายนอกและภายในประเทศจึงเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งยางและข้าวเช่นเดียวกัน น้อง “ยำ” อาจจะไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจไทยเบื้องต้นว่าไทยนั้นมีพืชส่งออกที่สำคัญมาช้านานคือข้าวกับยาง มิใช่เป็นผู้ผลิตรายเล็กรายย่อยของโลกแต่อย่างใด แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ น้อง “ยำ” จะรู้หรือไม่ว่า การเลือกทาง “มาร” ใช้การประกันราคาเป็นการแทรกแซงกลไกตลาดมิให้มันทำงานได้ ผลเลวร้ายที่จะติดตามมาก็คือ ผู้ผลิตสินค้าทุกประเภทจะมาเรียกร้องให้รัฐเข้ามาแทรกแซงรับซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดเหมือนดังเช่นข้าว มิเช่นนั้นก็จะเป็นสองมาตรฐานไป ราคาสินค้าทุกประเภทจึงกลายเป็นเรื่องการเมืองไปหมด นี่จึงตัวอย่างของนโยบายประชานิยมแบบสิ้นคิดโดยแท้ ที่แตกต่างกันก็คือ โดยการส่งเสริมให้ปลูกยาง 1 ล้านไร่ในช่วงปี พ.ศ. 2547-49 ที่ พี่ “ริ” เอง “ยำ” เองโดยน้องยังไม่มาช่วย “ยำ” แต่ยางกลับไม่ได้รับการประกันราคาให้สูงกว่าราคาตลาดโลกเช่นเดียวกับข้าวทั้งๆ ที่มีการปลูกแพร่หลายทั่วประเทศถึง 65 จังหวัด บึงกาฬ เลย อุดรฯ ในภาคอีสานเพียง 3 จังหวัดรวมกันก็มีเกือบล้านห้าแสนไร่ เหนือก็เช่น เชียงรายก็มีกว่าสองแสนไร่ มิใช่เฉพาะแต่ภาคใต้แต่เพียงลำพัง ส.ส.ในพื้นที่ปลูกยางที่ท่านเลือกมา นอกจากแก้รัฐธรรมนูญให้พี่ของน้อง “ยำ” แล้วทำอะไรให้ท่านในเรื่องนี้บ้าง? นี่คือการเมืองที่ “กินได้” เพราะเมื่อราคายางลดลงครึ่งหนึ่งก็หมายถึงรายได้ของท่านจะลดลงครึ่งหนึ่งเช่นกัน “ชอบมั้ยค๊า...!!!” ที่เหมือนกันก็คือ ที่ใดโครงการใดที่ พี่ “ริ” เอง การทุจริตก็ตามมาเหมือน หมากับขี้เรื้อน การทุจริตกล้ายางก็เช่นเดียวกับการทุจริตจำนำข้าวที่น้อง “ยำ” ด้วยในปัจจุบัน ประเด็นของยางก็คือ จะอ้างเหตุผลใดต่อไปได้อีกที่จะไม่ช่วยผู้ปลูกยางในเมื่อต่างก็เป็นเกษตรกรคนไทย ผู้ปลูกข้าวได้ประกันราคาไปแล้วทำไมยาง มัน ปาล์ม ข้าวโพด ฯลฯ จึงไม่สมควรจะได้ความช่วยเหลือจากรัฐเช่นเดียวกัน ที่ “โง่” มากไปกว่านั้นก็คือ ในเมื่อเศรษฐกิจไทยต้องลุ้นระทึกว่าในไตรมาสที่ 3 (ก.ค.-ก.ย.) ที่ผ่านมาแล้วค่อนทางจะฟื้นหรือไม่ เหตุใดจึงไม่รีบหาเงินมาอัดฉีดรับซื้อยางในราคาที่ผู้ปลูกเรียกร้อง จะ 100 หรือ 120 บาท/ก.ก.ตามที่อำมาตย์เต้นไปโกหกเอาไว้จะเจ๊งได้อีกซักกี่หมื่นล้าน ที่จำนำข้าวมันเจ๊งไปแล้วมากกว่านี้หลายเท่านักมิใช่หรือ จะฆ่าเนื้อทำไมจึงเสียดายพริกขนาดนี้ ที่สำคัญจะได้ใจคนปลูก สลายม็อบยาง และทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นบวกอย่างแน่นอนไปได้ในคราวเดียวกัน หากไม่ทุจริตคิดฉ้ออย่างเช่นข้าว เงินส่วนใหญ่ก็จะถึงมือผู้ปลูกยางซึ่งจะถูกนำไปใช้จ่ายอย่างรวดเร็วไม่เก็บซ่อนเอาไว้อย่างเงินทุจริตแน่นอน เศรษฐกิจก็จะกลับฟื้นคืนชีพได้ ที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วมิใช่หรือว่า “ขี้ข้า” ทั้งหลายนั้นทำงานไม่เป็น มาตรการรับซื้อยางข้างต้นอย่างน้อยก็ดีกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ “โต้ง ผู้โกหก” หรือการปราบม็อบของ “ประชา” อย่างแน่นอน นรกของชนชั้นกลางล่างกำลังมาเยือน “ชอบมั้ยค๊า...!!!” |