การปกปิดอำพรางความเป็นเจ้าของที่แท้จริงทรัพย์สินของทักษิณ ชินวัตร อดีตภรรยา ลูกทั้ง 3 คน พี่เมีย น้องสาวตัวเอง ในความเป็นเจ้าของบริษัท ชินคอร์ป (มหาชน)จำกัด ก็เนื่องมาจากต้องการปิดบังความเป็นเจ้าของในกิจการที่เป็นบริษัทแม่ที่ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ 2 บริษัทคือ บริษัทเอไอเอส ที่รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่จากทีโอที (องค์การโทรศัพท์ เดิม) และ บริษัทชินแซทเทลไลท์ หรือไทยคมที่เข้ามาบริหารจัดการสัมปทานดาวเทียมกับกระทรวงคมนาคม (กระทรวงไอซีทีในสมัยปัจจุบัน) ร่วมกับบริษัทชินคอร์ปที่เป็นคู่สัญญาโดยตรง
กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาโดยแท้ในการซุกหุ้น ของทักษิณและภรรยาตั้งแต่เริ่มแรกจวบจนปัจจุบัน การ "ซุกหุ้น" ภาคแรกของทักษิณ ชินวัตร และ เครือญาติในชื่อของ คนรับใช้ คนขับรถ คนสวนแม้จะจบลงได้ด้วยคำพิพากษาประวัติศาสตร์มหัศจรรย์ของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่น่าจะทำให้ทักษิณได้ฉุกคิดถึงเรื่อง "ความเห็นแก่ตัว" ของผู้ที่จะอาสาเข้ามาทำการเมือง ดังที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายประเสริฐ นาสกุลได้เขียนเอาไว้ในคำวินิจฉัยส่วนตนแต่อย่างใด
ทักษิณเป็นผลของอดีตที่ยังคงคิดและทำเหมือนเดิม มิได้เป็นการคิดใหม่และทำใหม่ เพราะไม่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของชาติ ซึ่งแก้ไขไม่ได้ด้วย “เงิน” อย่างเดียว การโอ้อวดโฆษณาให้ประชาชนทราบเพียงว่าประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ มีเงินมีทองมากมาย ไม่ทุจริตผิดกฎหมาย และไม่อำพราง แล้วอุทิศตัวหันมาทำงานทางการเมือง แต่มิได้แสดงหรือเปิดเผยว่า ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในอดีตภายในระยะเวลาอันสั้นนั้นกระทำได้อย่างไร ดังนั้นจะแก้ปัญหาส่วนรวมของชาติอย่างไรหากขัดกับผลประโยชน์ของครอบครัว เครื่องหมายการค้าที่สำคัญอันหนึ่งของทักษิณและระบอบของเขาก็คือการปกปิดอำพรางความเป็นเจ้าของหรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็นการ “ซุกหุ้น” นั่นเอง
ประชานิยมของนักการเมืองเช่นทักษิณ ชินวัตร จึงเป็นเพียง “ แมว” ไว้จับหนู(อำนาจ) เท่านั้น จะสี(ดีหรือเลว)อะไรก็ไม่แปลก เพราะมีไว้เข้าสู่อำนาจ มิได้มีเพื่อประชาธิปไตยแต่อย่างใด ทักษิณ ชินวัตรอ้างอยู่เสมอๆ ว่าประชาชนนิยมในตัวเขาและนโยบายประชานิยมของเขา แต่โดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการเลือกตั้งเมื่อต้นปี พ.ศ. 2544 ก็คือ พรรคไทยรักไทยแม้ได้รับการเลือกตั้งมาเป็นอันดับหนึ่งแต่ก็ไม่ได้เสียงข้างมากเกินครึ่งหนึ่ง และที่สำคัญยังไม่มีใครได้เคยลิ้มรสชาตินโยบายประชานิยมทั้งหลายของทักษิณ ชินวัตร
ผลจากการฟ้องร้องที่นายโภคิน พลกุลมีต่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธในขณะนั้น โดยนายสุเทพตั้งข้อสงสัยว่านายโภคินอยู่ในการประชุมเมื่อ 29 มิ.ย. 40 ที่มีการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากแบบคงที่มาเป็นแบบลอยตัว ทั้งที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งข้อสงสัยในพฤติกรรมของนายโภคินว่าจะนำเอาความลับเกี่ยวกับการเปลี่ยน แปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนในการประชุมดังกล่าวไปแจ้งกับทักษิณ ชินวัตร ได้ทำให้สังคมได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษิโณมิกส์และระบอบทักษิณของเขาอย่าง ชัดเจนมากขึ้นกว่าข้อสันนิษฐานที่สังคมได้ตั้งขึ้นมาในช่วงเวลานั้น คดีนี้มีการต่อสู้กันถึงศาลฎีกาหลังจากที่ศาลชั้นต้นตัดสินให้นายสุเทพชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 10 ล้านบาทจากที่เรียกร้องไว้ถึง 2,500 ล้านบาทและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในภายหลัง ประเด็นหลักที่ต่อสู้กันในศาลซึ่งเป็นที่น่าสนใจในที่นี้ก็คือ นายโภคินเป็นผู้ล่วงรู้ความลับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนและนำไปแจ้งกับทักษิณ ชินวัตรหรือไม่
จริยธรรมเข้าใจอย่างง่ายๆ ก็คือ การรู้จักแยกสิ่งถูกออกจากผิด ดีออกจากเลวเป็นสำคัญ ความกล้าหาญทางจริยธรรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขุนนาง นักวิชาการ(technocrat ) สามารถดำรงตนเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงานของตน เพราะนอกจากจะรู้ผิดชอบชั่วดีแล้ว ยังต้องกล้าที่จะไม่ทำชั่ว ความกล้าหาญของ “คนกล้า” จึงไม่ต้องบ้าเลือด เช่น เสธ.แดงคนดัง ไม่ต้องบังคับให้คนไทยต้อง “ขอโทษประเทศไทย” เช่น หนังโฆษณาเพราะไม่กล้าระบุว่าทักษิณ ชินวัตรกับพวกคือคนที่ต้อง“ขอโทษประเทศไทย”
ข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารดูจะเป็นเรื่องเดียวผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ข้าราชการ หรือแม้แต่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ได้ให้ความสนใจเปิดเผยข้อเท็จจริงกับเจ้าของประเทศอย่างแท้จริงว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งที่พวกเขาเหล่านั้น ปฏิญาณตนแล้วว่าจะปกป้องรักษาเอาไว้ด้วยชีวิต วันนี้ต้องขอแทรกบทความต่อเนื่องขนาดยาว “รำลึกทักษิณและระบอบทักษิณ” ด้วยเรื่องสำคัญก็คือการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกปราสาทพระวิหารโดยกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว
วิกฤตธนาคารโดยแท้จริงแล้วน่าจะเป็นวิกฤต “ความเชื่อมั่น”ที่ประชาชนเคยมีต่อขุนนางนักวิชาการทั้งหลายที่ได้สูญสลายหายไป เฉกเช่นเดียวกับที่ประชาชนเคยมีต่อนักการเมือง ฉันใดก็ฉันนั้น วิกฤตในเงินตรา (currency crisis) ต่างประเทศ เป็นวิกฤตแรกที่มีสาเหตุมาจาก ธปท.มุ่งมั่นที่จะรักษาระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่เอาไว้ ทั้งๆ ที่ภาวการณ์ในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยแต่อย่างใด มีการขาดดุลการค้าสูง มีความอ่อนแอเป็นอย่างมากในระบบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีความไม่โปร่งใสของการลดทุนและเพิ่มทุนธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การของนายวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการ ธปท.ในขณะนั้น
ต้นตอของวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงครั้งหนึ่ง มิใช่เรื่องของ “ความไม่รู้” หรือ “โชคร้าย” หรือโดนต่างชาติ “กลั่นแกล้ง -โจมตี” ดังที่หลายๆ คนเคยเข้าใจผิดมาก่อนแต่อย่างใด หากแต่เป็นผลของการกระทำของ “คน” ของเราเองที่มี “ความรู้” แต่เลือกที่จะ”โง่” ในเรื่องที่ควร “ฉลาด” วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน แต่เกิดมาจากปัญหาเดียวกันคือการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศที่ไม่มีการจัดการควบคุมจัดการในเชิงนโยบายที่ดี ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แทนที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยตามเป้าประสงค์กลับกลายเป็นโทษ เพราะเมื่อมีการเปิดเสรีให้เงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายเข้าออกประเทศได้โดยเสรี แต่กลับไม่มีการดำเนิน “นโยบายที่สอดคล้องเพื่อรองรับ
หากพิจารณาถึง จุดหักเหที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ จะพบว่ามี จุดหักเหที่สำคัญอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตจากจุดต่ำสุดในราวๆ ไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) ดังจะเห็นได้จากกราฟแท่งที่แสดงอัตราการเจริญเติบโตที่กลับหัวลงที่แสดงการติดลบมากที่สุด (-13.9) เมื่อผ่านพ้นเวลาจากจุดนั้นเป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยก็เริ่มที่จะขยายตัวติดลบน้อยลงไปเรื่อยๆ จนเริ่มขยายตัวเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) เป็นต้นมา จนติดลบอีกครั้งหนึ่งในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)
ชุดนโยบายเศรษฐกิจของทักษิณ ชินวัตรในสมัยที่ยังอยู่ในตำเหน่งนายกรัฐมนตรีถูกเรียกขนานนามว่า ทักษิโณมิกส์หรือ Thaksinomicsในภาษาอังกฤษ ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากเป็นการเลียนแบบ รีแกนโณมิกส์หรือ Reaganomics ซึ่งเป็นนโยบายเศรษฐกิจด้านอุปทาน (supply side) ที่มีชื่อเสียงของประธานาธิบดีโรนัล รีแกนของประเทศสหรัฐอเมริกา สิ่ง เกิดควบคู่กันไปกับทักษิโณมิกส์ ก็คือ การปกครองของประเทศไทยในสมัยทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีที่ อาศัยเฉพาะการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยเป็นกลไกเข้าสู่อำนาจ แต่หลังจากนั้นได้แปรสภาพไปเป็นเผด็จการรัฐสภา ระบบการปกครองดังกล่าวที่บิดเบือนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย จึงถูกเรียกว่า ระบอบทักษิณ (Thaksinocracy) หรือ ทักษิณาธิปไตย หรือ ทรราชเสียงข้างมาก หรือ สมบูรณาญาสิทธิ์จากการเลือกตั้ง บ้าง แต่ไม่ว่าจะอยู่ในชื่อใดก็ตามแต่ระบอบทักษิณก็มิใช่ระบอบประชาธิปไตยประเทศ ตามเจตจำนงที่คนไทยส่วนใหญ่ต้องการตามรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นฉบับปี พ.ศ. 2540 หรือฉบับปี พ.ศ. 2550 อย่างแน่นอน