ภาคผนวก 4 ชี่กงกับหมากล้อม โดย อาจารย์หยาง เผย เซิน

ภาคผนวก 4 ชี่กงกับหมากล้อม โดย อาจารย์หยาง เผย เซิน



ชี่กงกับหมากล้อม
 
                     โดยอาจารย์หยางเผยเซิน
 


เมื่อไม่นานมานี้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสรู้จักอาจารย์ ดร.สุวินัย  ภรณวลัย ซึ่งท่านได้สอนอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เนื่องจากพวกเราต่างก็มีความชื่นชมชี่กงและหมากล้อมเหมือนกันจึงทำให้การสนทนาของพวกเรามีรสชาติมากอีกทั้งข้าพเจ้ายังรู้สึกแปลกใจว่าความสนใจด้านวัฒนธรรมและศิลปะโบราณจีนของท่านนั้นเหนือกว่าข้าพเจ้า


และหากเปรียบเทียบกันหนุ่มสาวจีนรุ่นปัจจุบันที่เสาะแสวงเพียงเทคนิคของโลกตะวันตก  แต่กลับทอดทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ตกทอดจากบรรพบุรุษเหมือนสิ่งไร้คุณค่าความแตกต่างจากการเปรียบเทียบทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกตกใจมากเมื่อคนจีนและคนเชื้อสายจีนทุกคนต่างก็เป็นลูกหลานของหวงตี้และเอี๋ยนตี้ (ฮองเต้สองพระองค์ที่ประเทศจีนให้ความเคารพว่าเป็นต้นตระกูลของชนชาติจีน) ก็ต้องมีหน้าที่ช่วยกันสืบทอดวัฒนธรรมของจีนรวมทั้งสนับสนุนให้เจริญรุ่งเรืองด้วย


ท่านดร. รู้ว่าเมื่อก่อนนี้ข้าพเจ้าเคยเขียนบทความทางวิชาการเรื่องชี่กงกับหมากล้อมไว้ชิ้นหนึ่งและขณะนี้ท่านก็กำลังค้นคว้าว่าจะนำชี่กงไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับหมากล้อมได้อย่างไร ? ดังนั้นท่านจึงเร่งรัดให้ข้าพเจ้าแปลบทความนี้เป็นภาษาไทยเพื่อนำไปเผยแพร่กับผู้ที่ชื่นชอบหมากล้อมและชี่กงในประเทศไทย


บทความเรื่องชี่กงกับหมากล้อมที่ข้าพเจ้าเขียนก่อนหน้านี้เป็นบทความของข้าพเจ้าที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมการวิจัยบทความทางวิชาการซึ่งจัดโดยสมาคมวิจัยชี่กงและพลศึกษาเมื่อ..1992 เพราะที่ประเทศจีนชี่กงและหมากล้อมถูกจัดเป็นการออกกำลังกายประเภทหนึ่ง


ประจวบเหมาะกับชี่กงและหมากล้อมเป็นกิจกรรมที่ข้าพเจ้าให้ความสนใจมากที่สุดและเป็นวิชาชีพของข้าพเจ้าเพราะข้าพเจ้ามีอาชีพสอนชี่กงและหมากล้อมเกี่ยวกับชี่กงและหมากล้อมนั้นข้าพเจ้าไม่เหมือนกับบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจเฉพาะเวลาว่างจากงานเท่านั้นแต่ได้ทุ่มเททั้งจิตวิญญาณและเวลาชั่วชีวิตดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการเขียนบทความเรื่องชี่กงกับหมากล้อมของข้าพเจ้าจึงไม่ใช่เป็นสิ่งยากลำบากแต่เป็นเรื่องแปลกที่งานวิจัยและบทความเกี่ยวกับชี่กงและหมากล้อมนั้นมีน้อยมาก


เมื่อรู้จักกับอาจารย์ดร. สุวินัย  ภรณวลัย ที่ประเทศไทยผู้ซึ่งให้ความสนใจกับการศึกษาวิชานี้เนื่องจากบทความที่ข้าพเจ้าเขียนนั้นอยู่ที่ประเทศจีนส่วนรายละเอียดยังจำได้แต่จากการที่ข้าพเจ้าได้ทำการฝึกฝนและสัมผัสมาเป็นเวลาอีกสิบกว่าปีจึงคิดว่าลงมือเขียนใหม่จะดีกว่าใช้บทความเดิมและหากอาจารย์ ดร.สุวินัย ภรณวลัย ไม่เร่งรัดข้าพเจ้าก็ยังไม่ลงมือเขียนเพราะเกรงว่าเขียนแล้วไม่มีใครสนใจดังนั้นสาเหตุที่บทความนี้สามารถเขียนจบเร็วขนาดนี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์ดร. สุวินัย ภรณวลัย ด้วย...



                                                                                                        ..........................


 
 
ชี่กงและหมากล้อมนั้นเปรียบเสมือนไข่มุกที่เปล่งแสงเจิดจ้าสองลูกซึ่งเป็นวัฒนธรรมโบราณของประเทศจีนที่มีประวัติศาสตร์มาเป็นเวลากว่า 3,000 ปีแต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแหล่งกำเนิดของมันรู้ว่ามันมีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เท่านั้นและตั้งแตประเทศจีนเริ่มมีตัวอักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆก็ปรากฏว่ามีทั้งชี่กงและหมากล้อมอีกทั้งสองสิ่งนี้ยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคัมภีร์อี้จิงด้วยคัมภีร์อี้จิงนั้นเป็นทฤษฎีศึกษาเกี่ยวกับหยินและหยางและเป็นทฤษฎีแห่งเต๋าอีกด้วยเพราะชี่กงหมากล้อมและอี้จิงล้วนแต่ยึดเต๋าเป็นจุดหมายปลายทาง


ลำดับขั้นของการฝึกฝนชี่กงเริ่มต้นจากการฝึกฝนร่างกายและการเลือกสรรธัญญาหารเพื่อการเสริมสร้างแก่นสารหรือฮอร์โมน (จิง) จากนั้นจึงฝึกฝนแก่นสารฮอร์โมนให้เป็นพลังปราณ(ชี่) ฝึกพลังปรานให้เป็นพลังจิตวิญญาณ (เสิน) ฝึกพลังจิตวิญญาณให้คืนสู่สุญตาหรือความว่างเปล่า  (Training Mentality turn to Empty)  สุดท้ายคือการฝึกความว่างเปล่าเข้าสู่เต๋า


ภาวะขั้นสูงสุดของหมากล้อมคืออะไร ? ปัญหานี้มีน้อยคนที่ตอบได้แม้แต่นักเล่นหมากล้อมที่อยู่ตำแหน่งขั้นสูงๆแต่โชคดีมีอยู่ท่านหนึ่งที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นราชาแห่งหมากล้อมท่านปรมาจารย์อู๋ชิงหยวนที่เฉลยปัญหานี้ท่านบอกว่าขั้นสูงสุดของหมากล้อมนั้นคือภาวะจิตปกติ


ภาวะจิตปกติทางนิกายมหายานเรียกว่าเต๋าดังนั้นจะเห็นได้ว่าชี่กงและหมากล้อมนั้นเหมือนกันแม้มีความแตกต่างแต่เป้าหมายสุดท้ายก็คือเต๋านั่นเอง


ที่ประเทศจีนไม่มีใครไม่รู้จักชี่กงคนจีนที่เคยฝึกเรียนชี่กงมีประมาณร้อยล้านคนส่วนที่ประเทศไทยนั้นชี่กงยังเป็นสิ่งที่ยังไม่แพร่หลายหากพูดถึงโยคะคนไทยส่วนมากจะรู้จักเพื่อให้ประชาชนไทยมีความเข้าใจเรื่องชี่กงข้าพเจ้าจึงขอให้คำจำกัดความสั้นๆว่าประเทศจีนจัดโยคะอยู่ในประเภทหนึ่งของชี่กงและประเทศอินเดียก็จัดชี่กงเป็นประเภทหนึ่งของโยคะอาจจะกล่าวว่าชี่กงและโยคะเป็นพี่สาวและน้องสาวฝาแฝดกันเพียงแต่คนหนึ่งเกิดที่ประเทศจีนอีกคนเกิดที่ประเทศอินเดียเท่านั้นและเนื่องจากความแตกต่างของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันจึงทำให้มีความแตกต่างกันบ้างแต่แก่นแท้ส่วนใหญ่ยังเหมือนกัน


สำหรับบุคคลทั่วไปชี่กงยังเป็นภาพที่ไม่ชัดเจนความจริงของชี่กงคืออะไร? ปัจจุบันมีคำนิยามและคำอธิบายต่างๆนานาแต่ข้าพเจ้าได้ให้คำนิยามของชี่กงว่า


ชี่กงคือการออกกำลังกายอย่างพิเศษชนิดหนึ่งเป็นการออกกำลังที่ฝึกฝนทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกันรวมทั้งเป็นวิธีพิเศษที่ฝึกฝนเจินชี่” (ปราณแท้) และจิตสำนึกของคนด้วยเมื่อชี่กงเป็นการฝึกฝนเจินชี่และจิตสำนึกดังนั้นเราจึงต้องมาทำความเข้าใจว่าอะไรคือเจินชี่และอะไรคือจิตสำนึก


เจินชี่ประกอบขึ้นจาก 4 ส่วนคือ
1.     พลังดั้งเดิมจากพ่อแม่
2.     อากาศบริสุทธิ์ที่หายใจ
3.     พลังธัญญาหาร
4.     พลังดั้งเดิมของจักรวาล


 
(1)    พลังดั้งเดิมจากพ่อแม่
เวลาที่คนอยู่ในครรภ์มารดาเจินชี่ในร่างกายคือพลังดั้งเดิมที่ได้รับจากพ่อแม่ชีวิตของคนเริ่มต้นจากไข่ฟองหนึ่งที่ปฏิสนธิกับตัวอสุจิจากนั้นไข่ฟองนี้จะเจริญเติบโตเป็นทารกด้วยการอาศัยพลังดั้งเดิมของพ่อแม่หลังจากคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้วพลังดั้งเดิมเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งตันเถียนตำแหน่งมิ่งเหมิน” (ทวารชีวิต) และไต


(2)    อากาศบริสุทธิ์ที่หายใจ
เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาก็เริ่มต้นหายใจและจะต้องหายใจตลอดเวลาหากหยุดหายใจเมื่อไรชีวิตก็สิ้นสุดเมื่อนั้นร่างกายคนจะหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์จากธรรมชาติหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าชิงชี่เข้าไปในร่างกายและหายใจเอาอากาศขุ่น (คาร์บอนไดออกไซด์) ออกจากร่างกายจากนั้นจึงหายใจเอาชิงชี่” (ออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์) เข้าไปอีกคนโบราณได้เรียกการสลับเปลี่ยนอากาศธาตุชนิดนี้ว่าทู่กู้น่าซินมีวิธีออกกำลังกายของสมัยโบราณส่วนหนึ่งใช้วิธีหายใจเท่านั้นวิธีโบราณเรียกว่าทู่น่า” (ชื่อย่อของทู่กู้น่าซิน”) และทู่น่าก็เป็นเพียงวิธีฝึกวิธีหนึ่งของชี่กงเท่านั้นจึงไม่ใช่เป็นชี่กงที่สมบูรณ์แบบ


(3)    พลังธัญญาหาร
พลังของธัญญาหารหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากู่ชี่หมายถึงอาหารต่างๆเช่นน้ำข้าวผักรวมทั้งยารักษาโรคเป็นต้นเมื่อรับประทานอาหารเหล่านี้แล้วผ่านการย่อยและดูดซึมของกระเพาะและลำไส้รวมทั้งปรับสภาพเป็นพลังธัญญาหารของร่างกายเพื่อความเจริญเติบโตและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของร่างกายดังนั้นกู่ชี่จึงเป็นแหล่งกำเนิดสารอาหารที่สำคัญหลังจากคนคลอดจากครรภ์มารดา


บุคคลที่ไม่ฝึกฝนเรียนชี่กงมาก่อนก็จะได้เจินชี่ที่เป็นส่วนประกอบของชี่ทั้งสามดังกล่าวข้างต้นเพื่อเป็นพลังงานสำหรับการใช้แรงงานความสำนึกคิดในชีวิตประจำวันและกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์เป็นต้นพลังดั้งเดิมของพ่อแม่และพลังที่ได้รับหลังกำเนิดจะเกื้อกูลและสนับสนุนซึ่งกันและกันเมื่อพลังทั้งสองรวมตัวกันก็แปรสภาพเป็นเจินชี่และเจินชี่ที่ชี่กงพูดถึงก็คือเจินชี่ชนิดนี้


เจินชี่คือวัตถุที่ไหลเวียนชนิดหนึ่งหลังจากก่อตัวขึ้นแล้วจะโคจรในเส้นชีพจรจิงลั่วทั่วกายเข้าในออกนอกและขึ้นสูงลงต่ำทั่วทุกส่วนของร่างกายเมื่อเจินชี่กระจายไปทั่วกายแล้วก็จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานสำหรับการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ  รวมทั้งประคับประคองประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะให้ปกติถ้าเปรียบเทียบเจินชี่กับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเรียกว่าเซี่ยชี่ดังนั้นเจินชี่คือสิ่งที่บ่งบอกถึงองค์รวมของประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวของชีวิตแรงต้านทานของร่างกายว่าแข็งแกร่งหรืออ่อนแอ


เจินชี่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพของร่างกายใกล้ชิดมากเมื่อเจินชี่สมบูรณ์ก็ไม่เจ็บไข้บ่อยเวลาป่วยก็รักษาให้หายเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วดังนั้นการบำรุงรักษาเจินชี่ไม่ให้สิ้นเปลืองมากเกินไปจึงเป็นวิธีที่สำคัญสำหรับการขจัดโรคและทำให้อายุยืน


ผู้ที่ฝึกเรียนชี่กงนอกจากสามารถฝึกให้ร่างกายเกิดพลัง 3 ชนิดดังกล่าวข้างต้นแล้วยังสามารถใช้พลังดั้งเดิมของจักรวาล (พลังจักรวาล) ให้เป็นประโยชน์ด้วย


(4)    พลังดั้งเดิมของจักรวาล ( พลังจักรวาล)
พลังดั้งเดิมของจักรวาลมีอยู่ทั่วทุกแห่งหนมากน้อยแล้วแต่สถานคนทั่วไปมักจะพูดว่าฮวงจุ้ยดีและไม่ดีบริเวณที่พลังจักรวาล (ชี่) รวมตัวอยู่มากมีความเข้มข้นมากแสดงว่าฮวงจุ้ยดีบุคคลที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ก็จะรู้สึกมีความสุขจิตใจเบิกบานมีกำลังวังชาในการทำงานและทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จรวมทั้งเป็นสถานที่ที่เหมาะที่สุดเพื่อทำการฝึกชี่กงด้วยเพราะร่างกายสามารถรวบรวมเจินชี่มาทดแทนส่วนที่สิ้นเปลือง


พลังจักรวาลที่พวกเราพบเห็นเป็นประจำคือแสงอาทิตย์พลังจากทะเลพลังจากภูเขาพลังจากต้นไม้และพลังงานจากพื้นดินบุคคลทั่วไปสามารถดูดซึมพลังเหล่านี้โดยไม่รู้สึกตัวเช่นไปทัศนาจรและเวลาเดินขึ้นภูเขาเมื่อเดินผ่านต้นไม้สองข้างทางเราจะได้กลิ่นหอมของต้นไม้โชยมากับสายลมเป็นพักๆนอกจากนี้ยังมีเสียงน้ำไหลในบรรยากาศเช่นนี้จะทำให้จิตใจของเรารู้สึกปลอดโปร่งและมีชีวิตชีวาซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเราได้รับพลังจากภูเขาและต้นไม้นั่นเอง


บุคคลที่ไม่เคยฝึกเรียนชี่กงก็สามารถดูดซึมพลังจักรวาลตามธรรมชาติได้แต่ปริมาณที่ได้รับนั้นน้อยมากถ้าหากเราฝึกเรียนชี่กงแล้วจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการซึมซับมากถึง 10-100 เท่า


คนเราต้องใช้  “เจินชี่ทุกวันในการดำรงชีวิตอีกทั้งปริมาณที่ใช้ยังมากกว่าได้รับอีกจึงทำให้คนเรารู้สึกอ่อนเพลียและไม่มีกำลังถ้าหากคนเราหันมาฝึกเรียนชี่กงและสามารถซึมซับพลังจักรวาลจำนวนมากแล้วก็สามารถทดแทนส่วนที่ใช้ไปและทำให้ร่างกายของเรามีพละกำลังตลอดเวลารวมทั้งทำให้แรงต้านทานโรคของร่างกายแข็งแกร่งขึ้นด้วย


 
เมื่อเราเข้าใจความหมายของเจินชี่แล้วลำดับต่อไปข้าพเจ้าจะพูดถึงจิตสำนึกซึ่งวิชาชี่กงมีชื่อเรียกต่างๆกันเช่นจิตหรือเสินอี้เนี่ยงซินอี้แม้ชื่อจะต่างกันแต่ความหมายเหมือนกันวิชาชี่กงสมัยโบราณได้แยกเสินออกเป็น 2 ชนิดคือซื่อเสินและหยวนเสิน


ซื่อเสินคือจิตสำนึก” “หยวนเสินคือจิตใต้สำนึกที่แพทย์แผนปัจจุบันกล่าวถึงแม้จะไม่เหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็มีส่วนเหมือนกันมาก


ปัจจัยสำคัญของการฝึกชี่กงคือการเคลื่อนไหวการหายใจและการกำหนดจิตการกำหนดจิตมีความสำคัญที่สุดหากปราศจากการกำหนดจิตก็ไม่ใช่ชี่กงเป็นเพียงการบริหารกายเฉยๆเท่านั้น


การกำหนดจิตคืออะไร ? การกำหนดจิตคือพลังจิตของเราการกำหนดจิตยังมีชื่อเรียกว่ากำลังจิตและ  “กวงเสี่ยง” ( จินตภาพ)


กวงเสี่ยงของเวลาฝึกชี่กงนั้นไม่เหมือนกับการใช้ความคิดในชีวิตประจำวันเพราะความคิดที่เราใช้ชีวิตประจำวันนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องราวและสิ่งนอกกายเช่นจะทำงานลุล่วงได้อย่างไร ? ขั้นตอนในการทำงานและผลลัพธ์เมื่อทำไม่สำเร็จ (เช่นถูกผู้บังคับบัญชาดุ) เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่านจากเรื่องหนึ่งแล้วต่อเนื่องไปอีกเรื่องหนึ่งไม่มีที่สิ้นสุด


แต่การเคลื่อนไหวของจิตสำนึกของผู้ที่ฝึกชี่กงนั้นเป็นรูปแบบภายในคือการเคลื่อนไหวของจิตสำนึกมาเชื่อมติดกับการเคลื่อนไหวของชีวิตรวบรวมและย่อการเคลื่อนไหวของจิตสำนึกให้หดตัวอยู่ภายในเป็นการรวบรวมการเคลื่อนไหวของจิตสำนึกที่ไม่เป็นระเบียบให้เป็นเรื่องเดียวกันคิดถึงแต่เรื่องเดียวเท่านั้นสิ่งนี้แหละคือจิตวิญญาณของชี่กงเพราะเป็นตัววัดว่าวิธีการฝึกร่างกายชนิดใดเป็นชี่กงหรือไม่อย่างไร ? เช่นยาบำรุงร่างกายอุปกรณ์การแพทย์สำหรับบำรุงร่างกายและการออกกำลังกายนั้นเนื่องจากไม่ได้อาศัยการเคลื่อนไหวของจิตสำนึกภายในจนทำให้ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพแข็งแรงดังนั้นจึงไม่สามารถเรียกว่าชี่กง    


 
แล้วจะนำมาใช้กับหมากล้อมได้อย่างไร ? นี่เป็นหัวข้อที่ข้าพเจ้าศึกษามาตลอดวิธีใช้ความคิดของหมากล้อมนั้นมี 2 ชนิดคือความคิดด้วยเหตุผลที่บุคคลทั่วไปใช้กันชนิดหนึ่งส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบความคิดที่นักหมากล้อมฝีมือสูงจึงจะรู้จักใช้รูปแบบความคิดนี้เรียกว่า ญาณทัสนะ (Intuition) ความคิดแรงดลใจ (Inspiration) ความคิดด้วยเหตุและผลรวมทั้งความสามารถในการคำนวณนั้นสามารถยกระดับได้ด้วยการฝึกฝน


แต่สำหรับ ความคิดแรงดลใจนั้นไม่สามารถฝึกฝนด้วยวิธีธรรมดาถ้าต้องการใช้และยกระดับประสิทธิภาพของ ความคิดแรงดลใจมีวิธีลัดวิธีหนึ่งคือฝึกเรียนชี่กงเพราะสาระสำคัญที่ชีกงฝึกฝนนั้นคือ กวงเสี่ยง (จินตภาพ) ซึ่งเป็นการฝึกประสิทธิภาพของ ญาณทัสนะ


กวงเสี่ยงนั้นจะต้องอาศัยความสามารถจิตนภาพสมองข้างขวาและความสามารถในการจินตภาพนี้เป็นการบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้เล่นหมากล้อมดังนั้นถ้ากวงเสี่ยงของผู้เล่นมีประสิทธิภาพเพียงใดก็สามารถคำนวนการเปลี่ยนแปลงของหมากได้มากกว่าเพียงนั้น       


ในทำนองเดียวกันนักหมากล้อมที่มีความสามารถในการคำนวณยิ่งสูงเท่าใดเป็นการแสดงว่าความสามารถของ กวงเสี่ยงยิ่งสูงเท่านั้นด้วยเหตุนี้การฝึกชี่กงจึงสามารถยกระดับความสามารถในการคำนวณของนักเล่นหมากล้อมในขณะเดียวกันการฝึกหมากล้อมก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ กวงเสี่ยงของผู้ฝึกเรียนชี่กงเช่นกัน


เวลาแข่งขันเล่นหมากล้อมนั้นแพ้ชนะขึ้นอยู่ 2 ปัจจัยคือ
1.     เทคนิค    
2.     สภาพจิตใจ


สภาพจิตใจหมายถึงขณะเล่นอยู่นั้นเกิดความโลภกลัวตื่นเต้นประมาทและรีบร้อนเป็นต้นปัจจัยดังกล่าวข้างต้นยิ่งเกิดขึ้นมากเท่าใดแสดงว่าสภาพจิตยิ่งบกพร่องมากเท่านั้นวิธีที่ดีที่สุดคือรักษาให้อยู่ในสภาพ จิตปกติเพื่อให้จิตสงบเช่นเดียวกับน้ำที่นิ่งผู้ฝึกเรียนชี่กงที่ประสบความสำเร็จล้วนสามารถทำให้จิตอยู่ในสภาพสงบและสภาพของจิตลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เล่นหมากล้อมสามารถแสดงศักยภาพในการเล่นได้เต็มที่


หมากล้อมเป็นการออกกำลังกายที่ต้องสิ้นเปลืองพลังกายพลังสมองและพลังจิตมากชนิดหนึ่งโดยเฉพาะการแข่งขันระดับที่มีความสำคัญนอกจากจะต้องแข่งขันเทคนิคและสภาพจิตแล้วยังต้องแข่งกำลังภายในร่างกายด้วยการฝึกเรียนชี่กงนั้นนอกจากสามารถยกระดับของสภาพจิตแล้วยังสามารถเพิ่มพลังงานด้วยดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ชื่นชอบหมากล้อมหรือนักหมากล้อมอาชีพล้วนแต่ควรจะต้องฝึกฝนชี่กง



.......................
 

ประวัติอาจารย์หยางเผยเซิน
(ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทย (สาขาสีลม) และบริษัทพลังชี่กงจำกัด)

อาจารย์หยางเผยเซินเกิดที่มลฑลกวางตุ้งอำเภอแต้จิ้วประเทศจีนในปี..1969


เมื่ออายุ 8 ขวบได้ศึกษาปรัชญาพระพุทธศาสนามหายานเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์หงส์เชี้ยนวัดไคหยวนเจิ้นกว๋าศึกษาเกี่ยวกับพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธศาสนาสมาธิหมากล้อมและฝึกพลังชี่กงเมื่ออายุ 10 ปีได้เป็นตัวแทนของซัวเถาเข้าแข่งขันหมากล้อมได้อันดับที่ 2 ในปี..1985 เริ่มศึกษาพลังชี่กงจากสำนักต่างๆโดยมีอาจารย์อู่อิ้งจาวเป็นผู้ฝึกสอน


จากนั้นอาจารย์หยางเผยเซินยังได้ศึกษาพลังชี่กงกับอาจารย์ท่านอื่นๆเรื่อยมาและในปี.. 1990 ก็ได้รับหนังสือรับรองหมอฝังเข็มและนวดจากสถาบันวิจัยวิชาฝังเข็มและนวดแห่งมณฑลกวางตุ้ง


ปีค..1992 จบหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์จีนฮว๋าเซียจากสถาบันกวดวิชาการแพทย์ชั้นสูง


ในปี..1993 ได้รับหนังสือรับรองอาจารย์กำลังภายในลมปราณจากสำนักงานค้นคว้าวิจัยหลักวิทยาศาสตร์ลมปราณแห่งประเทศจีนต่อมาได้ก่อตั้งบริษัทพลังชี่กงในมณฑลกวางตุ้งเริ่มสอนพลังชี่กงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาในปีเดียวกันนี้อาจารย์หยางยังได้ฝึกหมากล้อมถึงระดับ 5 ดั้ง (ขั้นที่ 5) จากสมาคมหมากล้อมแพทย์แผนจีน


ในปี..1994 เดือนที่ 1 นายกสมาคมแต้จิ้วฮ่องกงคุณหลังไห่ได้เชิญอาจารย์หยางเผยเซินไปสอนและบำบัดผู้ป่วยในฮ่องกงในเดือนที่ 12 เจ้าของโรงงานทำพลาสติกย่านสุขสวัสดิ์คุณหยั่งฮุ้ยชินเชิญอาจารย์หยางเผยเซินมาประเทศไทยเพื่อบำบัดและสอนพลังชี่กงเป็นการส่วนตัวให้กับคุณหยั่งและในกลุ่มเพื่อนๆ


ต่อมาในปี..1995 ได้ก่อตั้งชมรมศึกษาวิชาพลังชี่กงกวนอิมจื้อไจ้กงแห่งประเทศไทยทำการสอนและบำบัดโรคด้วยพลังชี่กงตั้งแต่ปี.. 1995 เป็นต้นมาอาจารย์หยางเผยเซินได้รับเชิญจากหน่วยงานต่างๆรวมทั้งสถาบันการศึกษาในประเทศไทยให้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิคการเสริมสร้างพลังจิตเพื่อสุขภาพและการบำบัดโรคด้วยพลังชี่กงในโอกาสต่างๆเรื่อยมา

ปัจจุบันอาจารย์หยางเผยเซินได้ทำการสอนวิชาพลังชี่กงให้กับลูกศิษย์ในประเทศไทยไปแล้วทั้งหมด 56 รุ่นมีจำนวนลูกศิษย์กว่า 1,000 คน  


ที่อยู่  : บริษัทพลังชี่กงจำกัด
เลขที่ 317 ตึกกมลสุโกศลชั้น 15 ห้องซีถนนสีลมแขวงสีลม
เขตบางรักกรุงเทพฯ 10500  
                            

โทร
 :  0-2631-0072


MOBILE : 0-89513-4917
 
 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้