44. เซนของนักรบ

44. เซนของนักรบ



เซนของนักรบ


 
 
เซนได้เข้ามามีอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่อสังคมญี่ปุ่นมากกว่าสังคมจีนที่มันก่อเกิดเสียอีกโดยเฉพาะอิทธิพลที่มีต่อวิถีนักรบ(บูชิโด) ของญี่ปุ่นซึ่งยังคงทรงพลังและส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งมาจนถึงสมัยนี้พระเซนญี่ปุ่นที่ถ่ายทอดหัวใจเซนให้แก่วงการนักรบญี่ปุ่นอย่างเอาการเอางานคือท่านทากุอันโชโฮ(..1573-1645) โดยท่านได้แต่งคัมภีร์พระอจลนาถหรือคัมภีร์แห่งจิตของพระผู้ไม่หวั่นไหว (ฟุโดจิชินเมียวโรคุ) อันเป็นเคล็ดวิชาดาบอยู่ที่ใจให้แก่ยางิวมุเนโนริผู้เป็นทั้งเพื่อนและศิษย์ของท่านโดยที่ยางิวมุเนโนริผู้นี้เป็นถึงครูดาบของโชกุนเลยทีเดียว


ท่านทากุอันสอนว่าหัวใจของเซนคือความคิดที่ไม่มีความคิด(มุเน็น-โนะ-เน็น) คือไม่มีการปรุงแต่งของใจและหัวใจของดาบ (และวิทยายุทธ์ทุกแขนง)ก็คือความคิดที่ไม่มีความคิดเช่นกันคำว่าไม่มีความคิดของท่านทากุอันหมายถึงการไม่เอาใจของเราไปวางไวที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะคนที่เข้าถึงเคล็ดลับอันนี้และสามารถนำไปใช้ได้ในวิถีชีวิตประจำวันเขาจะไม่ทุกข์อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์กับผู้คนเลยและการจะชนะใครๆก็ไม่ใช่เรื่องยากเพราะจะไม่มีใครไม่มีสิ่งใดและไม่มีเรื่องใดมาบั่นทอนจิตใจของเขาได้อีกต่อไป


กล่าวในการประลองหรือการต่อสู้คำว่าไม่มีความคิดหมายถึงการไม่เอาใจไปวางไว้ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะคือต้องเอาใจวางไว้ทุกจุดทุกตำแหน่งทั่วตัวและรอบๆตัวนักรบ (นักกีฬา) ที่เข้าถึงเคล็ดอันนี้ได้จะกลายเป็นนักรบ (นักกีฬา) ที่ยิ่งใหญ่


ท่านทากุอันกล่าวว่าถ้าใจเราติดขัดอยู่ที่ใดจุดใดจุดนั้นก็จะเกิดช่องว่างใหคู่ต่อสู้โจมตีได้เพราะการที่ใจติดขัดย่อมแสดงว่าได้เกิดความหลงขึ้นภายในเราแล้วฉะนั้นเมื่อนักดาบฝึกฝนตนเองจนเข้าสู่สภาพไร้ใจ” (มุชิน) หรือสภาพความคิดที่ไม่มีความคิดได้แล้ว


เมื่อนั้นเขาจะไม่มีช่องว่างเกิดขึ้นแม้แต่น้อยสภาพเช่นนี้คือสภาพที่ท่านทากุอันเรียกว่าสภาวะจิตของพระผู้ไม่หวั่นไหวหรือปัญญาที่ไม่สั่นคลอนอันเป็นสภาพที่การใช้ดาบของนักดาบผู้นั้นจะเป็นไปเองดังใจปรารถนาที่ยอดเยี่ยมเกินกว่าจะบรรยายผู้ที่ใช้ดาบหรือใช้มือเปล่าต่อสู้ด้วยสภาวะจิตอันนี้ได้ต้องกลายเป็นยอดฝีมืออย่างไม่ต้องสงสัย


เพราะฉะนั้นในสายตาของท่านทากุอันการฝึกวิชาของนักดาบและการฝึกวิทยายุทธ์ของชาวยุทธ์ทั้งหลายจึงมิใช่การฝึกสิ่งใดอื่นนอกจากการฝึกฝนเพื่อขจัดความติดข้องทางใจให้หมดไปจากจิตใจของตนนั่นเองนักรบผู้ที่สามารถขจัดความติดข้องทางใจให้หมดไปจากจิตใจตัวเองได้คนผู้นั้นคือผู้ยอดเยี่ยมทั้งวรยุทธ์และเซน


ท่านทากุอันกล่าวว่าปัญญาที่ไม่หวั่นไหวหมายถึงแม้ใจของเราจะเคลื่อนไหวไปทั้งสี่ทิศแปดทิศได้อย่างเสรีตามใจปรารถนาแต่ใจของเรากลับมิได้ถูกทำให้ยึดติดเลยแม้แต่น้อยคนเราหากมีปัญญาที่ไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้วต่อให้มีมือมากถึงพันมือดุจกวนอิมก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หมดต่อให้ต้องทำงานมากแค่ไหนก็ไม่เครียดสามารถรักษาจิตใจอันปลอดโปร่งเอาไว้ไดสิ่งที่คนเราควรให้ความนับถือไม่ใช่อำนาจชื่อเสียงเงินทองแต่คือใจที่ไหลลื่นไม่ติดขัดไม่ขาดตอนไม่หยุดนิ่งนี้


ใจที่จดจ่อหรือถูกทำให้หวั่นไหวโดยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนกลายเป็นความหลงนี่แหละคือใจของปุถุชนแต่ใจที่มีปฏิกิริยาฉับพลันโดยเป็นไปเองโดยไม่มีช่องว่างคือปัญญาของพุทธะเพราะเป็นใจที่ไม่ยึดติด


ท่านทากุอันกล่าวว่าใจของผู้บรรลุวิชาจะไม่ยึดติดกับสิ่งใดแม้เพียงชั่วขณะเหมือนการกดลูกน้ำเต้าที่กำลังลอยอยู่บนผิวน้ำที่จะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่คนเราไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามพอเกิดความคิดว่าจะทำสิ่งนั้นใจก็จะไปหยุดอยู่กับสิ่งนั้นเพราะฉะนั้นคนเราจึงควรทำให้เกิดใจโดยไม่มีที่ใดให้ยึดติดอนึ่งความเคร่งครัดของใจก็ยังไม่ใช่ระดับใจที่สูงสุดในทัศนะของเซนการคุมใจไม่ให้วอกแวกก็ยังเป็นการฝึกใจในระดับที่ยังไม่บรรลุต่อเมื่อได้ฝึกฝนใจอย่างหนักต่อเนื่องเป็นเวลายายนานแล้วจึงจะสามารถบรรลุถึงระดับใจที่อิสรเสรีดังใจนึกไม่ว่าจะปล่อยใจไปในทิศทางใดก็ตามได้นี่คือระดับที่ทำให้เกิดใจโดยไม่มีที่ใดให้ยึดติดอันเป็นระดับสูงสุด


จะฝึกใจไม่ให้ยึดติดในที่ใดเลยได้อย่างไร? เซนสอนว่าก็ต้องกำหนดใจไว้ทั่วทุกๆแห่งไม่ใช่จดจ่อเฉพาะจุดหนึ่งจุดใดซึ่งการทำใจให้แผ่ขยายคลุมกว้างไปทั่วทุกส่วนของร่างกายก็คือการทำให้ร่างกายของเราเต็มเปี่ยมด้วยปราณหรือชี่” (คิ) นั่นเองเพราะที่ใดที่ใจไปถึงที่นั่นปราณของเราก็จะตามไปถึงด้วยเช่นกัน


เพราะฉะนั้นการฝึกฝนลมปราณที่นำไปสู่การไม่ยึดติดของใจไม่ว่าจะฝึกด้วยศิลปะการต่อสู้อย่างนักรบหรือด้วยการบำเพ็ญทางจิตอย่างนักบวชสุดท้ายก็นำไปสู่สภาวะใจที่ไร้ใจด้วยกันทั้งสิ้นภาวะเช่นนี้แหละที่ท่านทากุอันเรียกว่าเกิดปัญญาที่ไม่หวั่นไหวอันเป็นปัญญาที่มิใช่ได้มาจากคำสอนของครูบาอาจารย์แต่เป็นปัญญาที่ตัวเองได้มาด้วยตัวเองจากตัวเอง


มันเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่การจะฝึกใจไม่ให้ยึดติดเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญญาที่ไม่หวั่นไหวนี้หนทางที่ลัดและตรงที่สุดก็คือการฝึกใจให้ยึดติดอยู่กับมรรคที่เป็นปณิธานความมุ่งมั่นของตนเพียงหนึ่งเดียวและฝึกหนักอย่างวิริยะพากเพียรจนกระทั่งแม้แต่มรรคนั้นตัวเองก็ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหาอีกต่อไปแล้วในที่สุด
 







Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้