46. บทสนทนาเซนกับครูผู้มีใจอารี

46. บทสนทนาเซนกับครูผู้มีใจอารี



บทสนทนาเซนกับครูผู้มีใจอารี

 
 
มีแต่ครูผู้มีใจอารีอย่างครูเซนเท่านั้นที่สามารถทำลายและเต็มใจช่วยทำลายวิธีคิดทั้งหมดที่เป็นแบบทวิคติของผู้เป็นศิษย์ซึ่งเป็นงานที่เหนื่อยยากและลำบากเหลือเกินแต่อาจารย์ซุงซานเป็นครประเภทนี้ท่านเป็นครูเซนชาวเกาหลีท่านแรกที่มาเผยแพร่ธรรมะและพำนักอยู่ในโลกตะวันตกนับตั้งแต่ปี..1972 เป็นต้นมาจนเซนของท่านหยั่งรากลึกในโลกตะวันตกอย่างมั่นคงแล้ว


บทสนทนาเซนระหว่างท่านอาจารย์ซุงซานกับศิษย์หนุ่มผู้แสวงธรรมชาวอเมริกันที่เกิดขึ้นเมื่อเกือบสามสิบปีก่อนนี้คงให้แรงบันดาลใจแก่พวกเราชาวตะวันออกในทางภูมิศาสตร์แต่หลงลืมหัวใจบูรพาไปค่อนข้างมากแล้วได้เป็นอย่างดี


อะไรคือเซนครับอาจารย์ ?”

อะไรคือเธอเล่าพ่อหนุ่ม ?”

“...(ความเงียบ)”

เธอเข้าใจคำถามของเรามั๊ย ?”

ผมไม่ทราบครับ

จิตที่ ไม่ทราบนี่แหละคือตัวเธอ
เพราะเซนคือการเข้าใจถึงตัวเราเอง
ภาวะไม่ทราบ” “ไม่รู้ก่อนที่จะเกิดความคิดนี้แหละคือตัวเราเองที่แท้

นี่คือทั้งหมดของเซนหรือครับอาจารย์ ?”

แค่นี้ยังไม่พออีกรึพ่อหนุ่ม?”

เอ้อผมหมายความว่าในการที่จะเป็นครูเซนได้นั้น
ตัวครูเซนเองควรจะต้องมีความกระจ่างหรือ
ความเข้าใจขั้นท้ายสุดมิใช่หรือครับ

ความเข้าใจทั้งหมดคือไม่มีอะไรต้องเข้าใจ
ไหนเธอเข้าใจอะไร ? ลองแสดงออกมาให้เราดูซิพ่อหนุ่ม

“----ความเงียบ----”

งั้นเราขอถามเธอหน่อยว่าอะไรคือหนึ่งบวกสอง?”

สามครับ

ทำไมเธอไม่ตอบว่าคือสิ่งนั้นล่ะ ?
ขอถามใหม่อะไรคือสีของท้องฟ้า ?”

สีฟ้าครับ

ดีมาก ! เห็นมั๊ยว่าความจริงเป็นสิ่งที่ง่ายมากแต่
ความคิดของเธอต่างหากที่ซับซ้อนเพราะเธอเข้าใจ
มากเกินไปเธอจึงไม่อาจตอบได้เมื่อครู่
อย่างไรก็ดีเธอยังไม่เข้าใจอยู่สิ่งหนึ่ง

อะไรหรือครับ ?”
หนึ่งบวกสองเท่ากับศูนย์ก็ได้
ผมไม่เห็นว่ามันจะเป็นเช่นนั้นไปได้ยังไงเลยครับ

สมมุตินะว่ามีคนให้ลูกแอ๊ปเปิ้ลแก่เราลูกหนึ่งและ
เราก็ทานมันต่อมาเขาได้ให้ลูกแอ๊ปเปิ้ลแก่เราเพิ่ม
อีกสองลูกและเราก็ทานมันอีกจนหมดบัดนี้ลูก
แอปเปิ้ลทั้งหมดได้หายเข้าไปในท้องของเราหมดแล้ว
เพราะฉะนั้นหนึ่งบวกสองก็เท่ากับศูนย์

อืม.......”

เธอต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีนะพ่อหนุ่มก่อนที่เธอจะลืมตา
เกิดมาบนโลกนี้เธอคือศูนย์ตอนนี้เธอมีชีวิตอยู่
เธอจึงคือหนึ่งแต่ในอนาคตเธอก็ต้องตายเธอก็จะกลับ
มาเป็นศูนย์อีกครั้งหนึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายในสากล
จักรวาลล้วนเหมือนกันทั้งสิ้นล้วนเป็นเช่นนี้ทั้งสิ้น
ทั้งหมดถือบังเกิดขึ้นมาจากความว่างและกลับคืนสู่ความว่าง
เพราะฉะนั้นศูนย์จึงเท่ากับหนึ่งและหนึ่งจึงเท่ากับศูนย์

ผมเห็นแล้วครับ

ในโรงเรียนชั้นประถมเขาจะสอนว่าหนึ่งบวกสอง
เท่ากับสามแต่ในสำนักของเรานั้นเราจะสอนว่า
หนึ่งบวกสองเท่ากับศูนย์เธอคิดว่าฝ่ายไหนพูดถูก ?”

ผมคิดว่าถูกทั้งคู่ครับอาจารย์

ถ้าเธอตอบว่าถูกทั้งคู่เราจะตอบว่าไม่ใช่ทั้งคู่

ทำไมหรือครับ?”

เพราะถ้าเธอตอบว่าถูกทั้งคู่ยานอวกาศจะไม่มีทาง
บินไปถึงดวงจันทร์ได้เพราะมีแต่เมื่อหนึ่งบวกสอง
เท่ากับสามเท่านั้นจรวดถึงจะสามารถไปถึงดวงจันทร์
แต่ถ้าหนึ่งบวกสองเท่ากับศูนย์เรารับรองได้เลยว่า
จรวดลำนี้จะต้องตกในระหว่างทางแน่นอนเพราะ
คำนวณผิดพลาดดังนั้นเราจึงตอบว่าไม่มีอันไหนถูกต้อง

ถ้าเช่นนั้นคำตอบที่เหมาะสมควรเป็นเช่นใดครับ ?”

ถูกทั้งคู่เป็นคำตอบที่ผิดดังนั้นเราจึงอัดเธอ
ไม่ใช่ทั้งคู่ก็เป็นคำตอบที่ผิดดังนั้นเราจึงอัดตัวเราเอง
เธอคงรู้แล้วใช่มั๊ยว่าคำสอนหลักในศาสนาพุทธนั้นคือ
คำสอนที่ว่ารูปคือความว่างและความว่างก็คือรูป
ซึ่งนี่ก็หมายความว่าหนึ่งเท่ากับศูนย์และศูนย์เท่ากับหนึ่ง...”

“..................”

“... แต่ใครกันเล่าที่เป็นคนสร้างรูปขึ้นมา ?
ใครกันเล่าที่เป็นผู้สร้างความว่าง ?
ทั้งรูปและความว่างต่างก็เป็นมโนทัศน์
และมโนทัศน์ก็คือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งโดย
ความคิดของตัวเธอเองทั้งสิ้น
แต่ถ้าเราไม่ได้คิดเล่าจะเป็นอย่างไร ?
ก่อนที่จะมีการคิดนั้นไม่มีทั้งตัวเธอหรือตัวเรา
ไม่มีทั้งรูปหรือความว่างไม่มีถูกหรือผิด
เพราะฉะนั้นแม้แต่ประโยคที่พูดว่า
ไม่มีรูปไม่มีความว่างก็ยังผิดอยู่
เพราะในความว่างที่แท้จริงก่อนมีการคิดนั้น
เราจะมีแค่ความกระจ่างของจิตดำรงอยู่เท่านั้น
และขอเพียงเราสามารถรักษาสติมีจิตที่กระจ่างเท่านั้น
สรรพสิ่งก็จะเป็นเฉกเช่นที่มันเป็นนั้นคือ
รูปเป็นรูปและความว่างเป็นความว่าง....”

ผมเกรงว่าตัวผมยังคงไม่เข้าใจในเรื่องนี้อย่างแท้จริงครับอาจารย์

ถ้าเธอต้องการจะเข้าใจนั่นก็เป็นความผิดพลาด
เรียบร้อยแล้วละพ่อหนุ่มขอเธอเพียงเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่น
ไปข้างหน้าต่อไปและสามารถรักษาใจที่ไม่ทราบ
ไม่รู้นี้เอาไว้ได้สักวันเธอก็จะเข้าใจทุกๆสิ่งได้เองแหละ


บทสนทนาระหว่างครูผู้มีใจอารีกับศิษย์หนุ่มผู้แสวงธรรมคู่เดิมยังดำเนินต่อไป...


อาจารย์ครับอะไรคือความรู้แจ้งครับ ?”

ศิษย์รักความรู้แจ้งนั้นเป็นเพียงแค่ชื่อเท่านั้น
ถ้าเธอทำความรู้แจ้งได้มันถึงจะดำรงอยู่
แต่ถ้าความรู้ดำรงอยู่อวิชชาก็ดำรงอยู่ด้วยเช่นกัน
ดี-เลวถูก-ผิดบรรลุ-ยังไม่บรรลุสิ่งเหล่านี้คือคู่ตรงข้ามกัน
และคู่ตรงข้ามทั้งหมดเหล่านี้ก็เป็นเพียงความนึกคิดของตัวเราเอง
ในขณะที่สัจธรรมหรือความจริงเป็นสิ่งสัมบูรณ์หรือเป็น
สิ่งสมบูรณ์พร้อมที่อยู่เหนือความนึกคิดและคู่ตรงข้ามทั้งปวง
ฟังให้ดีนะศิษย์รักถ้าหากเธอทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดบางอย่าง
เธอก็จะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดบางอย่าง
แต่ถ้าเธอไม่ทำอะไรเลยเธอจะได้ทุกสิ่ง

ความรู้แจ้งเป็นแค่ชื่อเท่านั้นจริงๆหรือครับอาจารย์ ?
ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วทำไมอาจารย์เซนถึงต้องบรรลุ
การมีประสบการณ์ในการรู้แจ้งเพื่อที่จะเป็น
อาจารย์เซนที่แท้จริงได้เล่าครับ ?”

มีคำสอนอันหนึ่งที่กล่าวว่า ไม่มีการบรรลุเพราะไม่มี
อะไรที่จะมุ่งไปบรรลุถ้าการรู้แจ้งเป็นสิ่งที่จะต้อง
บรรลุสิ่งนั้นก็ยังไม่ใช่การรู้แจ้ง

ถ้าเช่นนั้นพวกเราทุกคนก็รู้แจ้งแล้วซิครับ?”

เธอเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าไม่บรรลุมั๊ย

ไม่มีครับ

ไม่บรรลุก็คือการบรรลุเธอจะต้องบรรลุการไม่บรรลุ
แต่นี่คือการบรรลุอะไรหรือและนี่มีอะไรที่นั่นที่จะต้องบรรลุหรือ ?”

ความว่างหรือครับอาจารย์ ?”

ในความว่างที่แท้จริงนั้นจะไม่มีทั้งรูปและนามเพราะ
ฉะนั้นจึงไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถ้าหากเธอพูดว่า
ผมได้บรรลุถึงความว่างที่แท้จริงแล้วนั้นแสดงว่าเธอพูดผิด

ผมเริ่มพอจะเข้าใจแล้วครับ

จักรวาลมักเป็นความว่างที่แท้จริงเสมอ
ขณะนี้เธอกำลังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางมายาและความฝัน
ตื่นขึ้นซิศิษย์รักแล้วเธอจะเข้าใจมันเอง

แล้วผมจะตื่นขึ้นมาได้ยังไงละครับอาจารย์ ?”
ง่ายมากเราจะปลุกเธอเอง

ขอความกรุณาช่วยขยายความอีกสักหน่อยได้มั๊ยครับ ?”

ได้ซิเธอสามารถแลเห็นดวงตาของเธอมั๊ย ?”

เห็นได้ในกระจกเงาครับ

นั่นไม่ใช่ดวงตาของเธอนั่นเป็นเพียงสิ่งสะท้อนภาพ
ของดวงตาเธอเท่านั้นดวงตาของเธอย่อมไม่มีทาง  
เห็นตัวมันเองได้เพราะฉะนั้นถ้าหากเธอต้องการที่จะ
แลเห็นดวงตาของเธอนั่นก็เป็นสิ่งที่ผิดตั้งแต่แรกแล้วละ
ฉันใดก็ฉันนั้นถ้าหากเธอต้องการที่จะเข้าใจจิตใจของ
ตัวเธอเองนั่นก็เป็นสิ่งที่ผิดพลาดตั้งแต่แรกแล้วเช่นกัน

แต่เมื่อตอนที่อาจารย์ยังเป็นพระหนุ่มอยู่อาจารย์ก็ได้
มีประสบการณ์ที่เป็นจริงในการรู้แจ้งด้วยตัวของอาจารย์เอง
ไม่ใช่หรือครับอะไรคือประสบการณ์อันนั้นครับ?

คือการที่ฉันอัดเธออยู่นี้
“....???....”

ตกลงเราจะอธิบายเพิ่มเติมให้เธอฟังอีกสักหน่อยนะ
พ่อหนุ่มผู้ช่างสงสัยสมมุติว่ามีของหวาน 3 สิ่งตั้งอยู่
เบื้องหน้าเราคือน้ำผึ้งน้ำตาลและกล้วยหอม
เธอสามารถอธิบายความแตกต่างของความหวานระหว่าง
น้ำผึ้งน้ำตาลและกล้วยหอมได้หรือไม่?”

อืมม......”

เธอยอมรับใช่หรือไม่ว่ามีความแตกต่างกันในรสชาติ
ของความหวานระหว่างของสามสิ่งนี้อยู่จริง
แล้วเธอสามารถอธิบายให้เราฟังได้หรือเปล่า ?”

ไม่ได้ครับ

แต่เธอสามารถบอกได้นี้ว่าจงเปิดปากของคุณแล้ว
ลิ้มรสเองว่านี่คือรสของน้ำผึ้งนี่คือรสของน้ำตาลและ
นี่คือรสของกล้วยหอมจริงมั๊ยเพราะฉะนั้นการที่เธอ
จะเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริงได้เธอจะต้องเข้าใจ
ความหมายของการอัดที่เรากระทำต่อเธอเพราะนี่คือ
สิ่งที่เราได้ถ่ายทอดหรืออัดฉีดความรู้แจ้งเข้าไปสู่ใจของเธอนั่นเอง

อะไรคือความกระจ่างของจิตที่อาจารย์ได้กล่าวถึงเมื่อครู่ครับ ?”
มีใจที่แตกต่างกันอยู่ 3 ประเภทใจแรกเป็นใจที่ยึดติด
หรือใจที่สูญเสียการควบคุมใจที่สองคือใจที่มีสติ
และใจที่สามคือใจที่มีความกระจ่างแจ้ง
ใจที่ยึดติดเป็นใจที่มาจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก
และมักจบลงด้วยความทุกข์

แล้วใจที่มีสตล่ะครับ ?”

คือสภาวะดังต่อไปนี้ยามที่เขาท่องมนตร์ก็จะมีแต่
มนตร์เท่านั้นที่ดำรงอยู่ยามที่เขาเห็นสิ่งดีก็จะมีแต่
โอมมณีปัทเมหุมเท่านั้นและยามที่เขาเห็นสิ่งเลว
ก็จะมีแต่โอมมณีปัทเมหุมเท่านั้นไม่ว่าเขาจะทำอะไร
ไม่ว่าเขาจะเห็นอะไรก็จะมีแต่มนตร์เท่านั้นที่ดำรงอยู่

แล้วใจที่มีความกระจ่างแจ้งละครับเป็นใจแบบใด ? “

ใจที่มีความกระจ่างแจ้งแล้วจะเหมือนกระจกเงา
เมื่อมีสีแดงมากระจกก็จะสะท้อนเป็นสีแดงเมื่อสีขาวมา
กระจกก็จะสะท้อนเป็นสีขาวเมื่อทุกคนเศร้าเราก็เศร้า
เมื่อทุกคนสุขเราก็สุขถ้าใจของเธอไม่ยึดติดกับ
สิ่งใดทั้งสิ้นถ้าเธอไม่มีตัณหาใดเพื่อตัวของเธอเอง
มีแต่ความต้องการที่จะช่วยเหลือผู้คนทั้งปวง
สิ่งเหล่านี้แหละคือใจที่มีความกระจ่าง

“...............”

เพราะฉะนั้นใจที่หมกมุ่นอยู่กับตัณหาส่วนตัวคือใจเล็ก
ส่วนใจที่เป็นหนึ่งคือใจว่างและใจที่กระจ่างคือใจใหญ่
ซึ่งเป็นใจที่ไร้ขอบเขตทั้งในแง่กาละและเทศะ....
ใจที่กระจ่างคือใจแห่งความรักอย่างสมบูรณ์
คือเสรีภาพที่บริบูรณ์พร้อมถ้าหากเธอยังมีตัณหาที่
เห็นแก่ตัวเพื่อตัวเองความรักของเธอก็ยังไม่ใช่รักแท้
จงจำไว้นะศิษย์รักว่าความรักที่ขี้ประติ๋วของคนใจเล็ก
จะแฝงไว้ซึ่งหน่ออ่อนของความทุกข์เอาไว้ภายในเสมอ
ในขณะที่ความรักที่ยิ่งใหญ่ของคนใจใหญ่
จะไม่มีความทุกข์ดำรงอยู่เพราะมันมีแต่รักเท่านั้น
เพราะมันเต็มเปี่ยมไปด้วยรักเท่านั้นมันจึงข้ามพ้น
ทั้งความหฤหรรษ์และความโศกเศร้าได้

แล้วอาจารย์ทำอย่างไรกับเสรีภาพ
ที่บริบูรณ์พร้อมของอาจารย์ครับ ?”

เมื่อเราหิวเราทานข้าวเมื่อเราเหนื่อยเราพักผ่อน

อาจารย์มีคำแนะนำในการฝึกหัดสำหรับผู้เริ่มต้น
ปฏิบัติธรรมอย่างไรบ้างครับ ? และอาจารย์คิดว่าการนั่งสมาธิ
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการฝึกฝนปฏิบัติธรรมหรือไม่ครับ ?”

การฝึกสมาธิเป็นสิ่งสำคัญก็จริงแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
การรักษาใจที่มีสติของเธอในปัจจุบันให้ได้
ในแต่ละขณะจากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง
การนั่งทางกายไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะนั่นเป็นเพียง
รูปแบบภายนอกเท่านั้นที่สำคัญยิ่งกว่าคือ การนั่งทางจิต
เพราะการนั่งที่แท้จริงนั้นหมายถึงการตัดความคิดใดๆ
ทั้งปวงและประคองจิตไม่ให้หวั่นไหวในแต่ละขณะจิต
เซนที่แท้จริงหมายถึงความกระจ่างแจ้งของจิต
อันเป็นสภาวะที่ไม่รู้” “ไม่ทราบก่อนที่จะมี
ความคิดบังเกิดขึ้นถ้าเธอสามารถรักษาสภาวะจิตนี้ได้
ในขณะที่เธอขับรถยนต์หรือเล่นเทนนิสมันก็จะ
กลายเป็นเซนในการขับรถหรือเซนในการเล่นเทนนิส
และนี่แหละคือปฏิบัติการที่แท้ของเซน


ปัจจุบันเซนของอาจารย์ซุงซานเป็นที่รู้จักกันดีในนามของกวนอิมเซน
 








Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้