คำนิยม
หลายวันก่อนได้พบเจอกับมิตรสหายรุ่นน้องคนหนึ่งเขาเอ่ยปากชมข้อเขียนของ ปกป้อง จันวิทย์ ซึ่งเขียนคำนิยมให้กับหนังสือ "การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงลึก"”ของ “อาจารย์สุวินัย” (คำนิยมของอาจารย์ปกป้องสามารถอ่านได้ในภาคผนวกท้ายเล่ม)
ในช่วงที่ผ่านมานั้นมีงานเขียนของ สุวินัย ภรณวลัย ออกมาอย่างน้อยที่สุดที่พอจะจัดแบ่งเป็นชุดๆได้ก็ 2 ชุดคือ
ชุดภูมิปัญญาตะวันออก (มวยจีนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า , ความรักกับจอมยุทธ์ , วัชรเซน , มูซาชิฉบับท่าพระจันทร์ , ยอดคคน HEART&SOUL และงานแปลหนังสือชุดหมากล้อมซึ่งได้แก่หมากพลิ้วสะท้านฟ้า , สัปยุทธ์ไร้เทียมทาน , เพลงหมากเทพคำนวณ)
และอีกหนึ่งคือ “ชุดภูมิปัญญาบูรณาการ” (แกะรอยทักษิโณมิคส์ , การเมืองเชิงบูรณาการ , การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงลึกและภูมิปัญญามูซาชิ...วิถีแห่งกลยุทธ์เชิงบูรณาการสนพ. Open books) (อนึ่งรายชื่องานเขียนทั้งหมดของอาจารย์สุวินัยภรณวลัยสามารถดูได้จาก www.dragon-press.com)
หนังสือที่อยู่ในมือของท่านนี้เป็นหนังสือในชุดภูมิปัญญาตะวันออกหากแต่เป็นงานที่เขียนขึ้นใหม่โดยในภาคแรกนั้นเป็นงานเขียนในเรื่องคัมภีร์มังกรวัชระของเขาที่ได้รับการปรับปรุงใหม ส่วนภาคหลังนั้นเป็นงานที่ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ “หัวใจบูรพา”ซึ่งจัดพิมพ์เพื่อฉลองครบรอบ 48 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีโดยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่กระนั้นก็ไม่ได้เผยแพร่แก่สาธารณชนในวงกว้างมาก่อน
หากงานเขียนใน ชุดภูมิปัญญาบูรณาการ เป็นตัวแทนของ แก่นความคิด”ของ สุวินัย คงจะไม่เกินเลยไปหากจะเรียกงานเขียนใน ชุดภูมิปัญญาตะวันออก ว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ถึง แก่นชีวิต”ของเขาซึ่งแม้ว่าทั้ง 2 สิ่งนั้นถูกสะท้อนออกมาอย่างเสมือนแทบจะหาจุดเชื่อมร้อยไม่ได้
หนึ่งนั้นคือบทวิเคราะห์ที่หยั่งลึกทางเศรษฐศาสตร์การเมืองและศาสตร์แขนงต่างๆ
อีกหนึ่งคือบันทึกแห่งชีวิตบนรอยทางแห่งการพัฒนาตัวตนตามวิถีตะวันออก
แต่ในที่สุดคำนิยมของคนรุ่นใหม่ คนหนึ่งอย่าง ดร. ปกป้อง จันวิทย์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็น่าจะทำหน้าที่ต่อเชื่อมรอยแยกในความรู้สึกดังกล่าวได้ในระดับหนึ่งนั่นไม่นับว่ามันอาจทำหน้าที่เป็นสะพานความคิดที่จะนำ“สารและสาระ”จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่ผู้คนรุ่นเดียวกับตนดังที่มิตรสหายรุ่นน้องของผมเขารู้สึกได้
จะว่าไปแล้วสำหรับผม “คำนิยมของปกป้อง” (ซึ่งค่อนข้างจะยาวกว่าคำนิยมโดยทั่วไป) กลับไปปลุกเร้าบรรยากาศ โหยหาอดีตขึ้นในห้วงความรู้สึกของผมเองผมนึกไปถึงตัวเองเมื่อเกือบสิบปีก่อนเด็กหนุ่มที่ถูกบ่มมาในเบ้าแบบวัตถุนิยมเต็มคราบแม้ไม่ปฏิเสธแต่ก็ไม่เคยเชื่อหรือมอบศรัทธาแก่ผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณคนใด
นั่นไม่นับว่าออกจะเฝ้ามองอย่างหวาดระแวงไปด้วยซ้ำเมื่อเดินเข้าไปพบกับ สุวินัย เป็นครั้งแรกอย่างกล้าๆ กลัวๆ ว่าจะโดนไล่ตะเพิดออกมา
วันที่เริ่มก้าวไปทาง ทิศตะวันออก”ที่เขาเคยเดินที่วังวนแห่งชะตากรรมที่พัดพาเราไปเจอเรื่อง ตลกร้าย จากเบื้องบนด้วยกัน
วันที่สายลมแห่งการแยกจากพัดพาเราออกห่างกันหรือจะนับถึงวันนี้ที่ผมยังคงเรียกขาน สุวินัย ว่า อาจารย์”และเคารพโดยความหมายที่เป็นแก่นของถ้อยคำนี้
เวทินชาติกุล
ว่าที่ดุษฎีบัณฑิตคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิเศษภาควิชาปรัชญามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ