ผู้หญิงที่ผมรู้จัก 2
โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย
13 สิงหาคม 2557
หาก เปรียบเทียบช่วงเวลา หรือ Time Line ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นกับชีวิตนักร้องของอะกินะแล้วจะเห็นได้ว่ามีจุดเปลี่ยน หรือ Turning Point ที่ใกล้เคียงกันมาก
นับจากการแจ้งเกิดเข้าวงการในปี 1982 จนถึงปี 1989 อะไรที่เธอร้องก็กลายเป็นทองคำไปเสียทุกเพลงก็ว่าได้ น่าเชื่อได้ว่ายอดขายแผ่นเสียงและซีดีของเธอทั้งหมดที่มีกว่า 25 ล้านแผ่นนั้น 2 ใน 3 จะมาจากในช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ของเธอระหว่างปี 1982-1989
จุดผกผันที่สำคัญจุดหนึ่งในชีวิตของเธอก็คือเมื่อเธอพยายามฆ่าตัวตาย ในปี 1989 แต่ไม่สำเร็จในที่พักของเพื่อนชาย คอนโดะ มาซาฮิโกะ (近藤真彦) ซึ่งเป็นนักร้องเช่นกันแต่สังกัดคนละค่ายเพลง
มีหลายคนหลายทฤษฎีที่พยายามจะอธิบายสาเหตุของการพยายามฆ่าตัวตาย แต่ในความเห็นของผู้เขียนแล้วการอ่อนต่อโลกและขาดคนแนะนำในทิศทางที่ถูกต้อง น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาอธิบายได้
การประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยอายุเพียง 16 ปี ทำให้รักแรกพบที่จริงจังกับคอนโดะเกือบกลายเป็นโศกนาฏกรรม โลกในวงการบันเทิงนั้น รักจริง รักหลอก รักโปรโมต รักหวังผล หรือแม้แต่รักเขาข้างเดียว ล้วนจำแนกแยกแยะและยอมรับความจริงได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอะกินะผู้ยังอ่อนต่อโลก หากยังมีผู้ให้คำแนะนำ เธอคงจะไม่ต้องซื้อหาบทเรียนเรื่องรักและชีวิตในราคาที่แพงเช่นนี้
ไม่ว่าเธอจะพลาดพลั้งไปอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ “กล้า” ที่จะเผชิญหน้ากับความจริง ด้วยวัยเพียง 22 ปีเศษการออกมาแถลงข่าวต่อหน้าสื่อฯ พร้อมกับคอนโดะขอโทษในสิ่งที่ได้ทำไป หากดูภาพข้างล่างขณะแถลงข่าว ภาษาพูดอาจไม่สื่อได้ดีเท่ากับภาษากาย ดวงตาแม้อ่อนล้าก็ยังแสดงออกอย่างเต็มเปี่ยมว่า “กล้า” เป็นอย่างยิ่งที่จะออกมาปฏิเสธในความสัมพันธ์ ทั้งๆ ที่ใน “ใจ” นั้นรู้ดีว่าเป็นไปอย่างที่พูดหรือไม่เพื่อมิให้อีกค่ายเพลงหนึ่งเอาเป็น เหตุฟ้องร้องเพราะการพยายามฆ่าตัวตายนั้นไปทำให้ศิลปินของเขามัวหมองว่าเป็น ต้นเหตุ ในขณะที่อีกฝ่ายก็บอกว่าเป็นเรื่องที่อีกฝ่ายคิดไปเอง
|
ที่มา : google.com |
|
|
สังคมญี่ปุ่นนั้นดูจากกรณีนี้แล้วจึงเข้มแข็งเพราะสามารถเรียกร้อง โดยไม่ต้องใช้กฎหมายให้ผู้ที่อาศัยความนิยมของประชาสังคมหรือสาธารณะบุคคล ต้องออกมาพูดชี้แจงและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ไม่เฉพาะวงการนักร้องนักแสดง การเมืองก็เช่นกัน การแสดงความรับผิดชอบจึงเป็นมาตรฐานขั้นต่ำทางจริยธรรมที่บุคคลสาธารณะพึง กระทำ รัฐมนตรีหรือนายกฯ ลาออกเองเพื่อรับผิดชอบต่อการกระทำจึงเป็นสิ่งที่เห็นเป็นปกติ ดูอย่างนายกฯ อาเบะก็ได้ว่าเพราะรอบแรกลาออกสังคมจึงให้โอกาสกลับมาเป็นรอบสองได้ ขณะที่นักการเมืองไทยถึงขั้นศาลตัดสินว่าผิดก็ยังหาว่าศาลตัดสินไม่ดีเสียอีก
บางคนอาจจะบอกว่านี่คือจุดผกผันจากรุ่งโรจน์ไปสู่ตกอับในช่วงเวลา หลังจากการพยายามฆ่าตัวตายในปี 1989 อันเป็นปีเดียวกับเศรษฐกิจฟองสบู่ญี่ปุ่นแตกที่ทำให้ตกต่ำต่อเนื่องไป อีกกว่า 20 ปี
ชื่อนั้นอาจตั้งพลาดแต่ฉายานั้นมิผิดอย่างแน่นอน อะกินะมีฉายาว่า เจ้าหญิงนักร้อง ใช่เพราะหลายอัลบั้มของเธอในช่วงหลังมักใช้คำว่า อุตะหิเมะ (歌姫) หากแต่เพลงของเธอที่นำเสนอนั้นมีการพัฒนาไปอย่างหลากหลายไม่ซ้ำรูปแบบ ป็อป ป็อป-แดนซ์ ร็อก ลาติน ริทึมแอนด์บลูส์ หรือแม้แต่ เองกะ (ลูกทุ่งญี่ปุ่น-ผู้เขียน) เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่ง มัทซึดะ เซโกะ หรือคู่หู โคะอิซูมิ เคียวโกะ นักร้องไอดอลในยุคเดียวกันแล้วจะเห็นได้ชัดว่ามีความหลากหลายมากกว่ามาก
คะซะริจะไน โนะ โยะ นะมิดะวะ (飾りじゃないのよ涙は ) น้ำตามิใช่เครื่องประดับ (ของผู้หญิง-ผู้เขียน) เป็น Signature เพลงหนึ่งของเธอ http://www.youtube.com/watch?v=nRPNR6RqWKc ด้วยลีลาการร้องที่ไม่ธรรมดา จากท่อนเนื้อร้องที่ร้องอย่างรวดเร็วจนแทบจะฟังไม่ทันเลยทีเดียว ไม่รู้ว่าร้องไปได้อย่างไร ตกม้าตายแน่หากใครเลือกเพลงนี้ไปร้องคาราโอเกะ เพลงนี้ อิวะซะกิ ฮิโรมิ (岩崎 宏美) นำไป Cover (นำเอาไปร้องใหม่ในสไตล์ตนเอง-ผู้เขียน) ในแนวแจ๊ส
http://www.youtube.com/watch?v=2bQrG9OGfvg ซึ่งทำให้สามารถร้องท่อนเนื้อได้ช้าลงไปอย่างมาก ลองฟังเปรียบเทียบดูว่าชอบสไตล์ใครมากกว่ากัน
Tatoo เพลงย้อนยุคสมัยต้นศตวรรษที่ 19 ก่อนฟังแนะนำให้เคลียร์พื้นที่รอบๆ ตัวก่อน มิเช่นนั้นอาจจะกระจุยกระจายไปตามความเร่าร้อนของอะกินะจากเพลงนี้ http://www.youtube.com/watch?v=JmHIaG4vYlA
Desire (情熱) มิใช่เฉพาะวลี get up get up get up get up burning love ที่ก้องในโสตประสาทของคนญี่ปุ่นในยุคนั้นแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่การเปลี่ยนโฉมเป็นหญิงงามเมือง จากภาพของไอดอลกลายเป็นเกอิชา สลัดความเป็นไอดอลเข้าสู่ Mature เต็มตัว ด้วยผมบ๊อบสั้นพร้อมกิโมโนแบบทันสมัยจนทำให้ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยม ประจำปีเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันจาก Meu Amore (http://www.youtube.com/watch?v=OHxA_pDdr88) ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ได้แต่มีข่าวว่าลังเลว่าจะมอบให้ดีหรือไม่เพราะเป็น รางวัลของผู้ใหญ่ที่ขณะนั้นอะกินะยังไม่ครบ 20 ปีมิใช่สำหรับไอดอล
ก่อนที่จะร้องเพลง Desire นี้มีคลิปการร้องเพลงชนะเลิศในรายการ Star is Born ของญี่ปุ่นที่อะกินะเข้ามาแข่งขันเป็นปีที่ 3 เป็นเวทีที่ทั้ง มัทซึดะ เซโกะ โคะอิซูมิ เคียวโกะ และใครๆ อีกหลายคนในยุคทศวรรษ 1980 ใช้เป็นบันไดเข้าสู่วงการ หน้าตาก่อนเข้าวงการนั้นดูแล้วเป็นอย่างไรบ้าง? http://www.youtube.com/watch?v=R6zU9ZnUjGc
การพัฒนาความสามารถในการร้องเพลงได้หลากหลายสไตล์น่าจะเป็นทั้งข้อ ได้เปรียบและข้อด้อยในเวลาเดียว เหตุก็เพราะอาจเสียกลุ่มแฟนเพลงตนเองไปโดยง่าย แม้จะได้ผู้ฟังกลุ่มใหม่จากแนวเพลงใหม่ที่นำเสนอแต่ก็อาจจะไม่สามารถชดเชย กลุ่มเดิมที่เป็นแฟนแบบป็อป-ไอดอลที่อาจมีจำนวนมากกว่า ดูจากกลุ่มที่ชอบป็อป-ไอดอล เช่น AKB48 ก็ได้ว่ามีจำนวนมากขนาดไหน ในขณะที่ผู้จัดการ AKB48 ก็วางแนวเพลงให้เป็นป็อป-ไอดอลไปตลอดกาล เปลี่ยนคนร้องได้แต่ไม่ยอมเปลี่ยนแนวเพลง
เมื่อผ่านจุดสูงสุด หากไม่สามารถกลับคืนสู่สามัญได้ ยังคงหลงวนเวียนอยู่กับความสำเร็จในอดีตที่ได้ผ่านพ้นไปแล้วก็คงอยู่ได้ ลำบาก นักร้อง นักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือแม้แต่เศรษฐกิจก็จึงไม่แตกต่างกัน เมื่อรุ่งโรจน์ก็ยินดีได้ แต่เมื่อตกต่ำก็ต้องหาทางแก้ไข
เจ้าหญิงนักร้องของอะกินะผู้นี้มิได้มาด้วยโชคช่วย หากแต่ด้วยชีวิตแลกมาจริงๆ