ผู้หญิงที่ผมรู้จัก 9
โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย
1 ตุลาคม 2557
ผู้หญิงที่ผมรู้จักในสัปดาห์นี้หลายคนอาจรู้จัก เป็นอย่างดีสำหรับ Girl Group ที่มีสมาชิกมากที่สุดในโลกซึ่งจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก AKB48
นักร้องหญิงกลุ่มนี้ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2005 จากไอเดียของ อะกิโมะโตะ ยะสุชิ (秋元 康) ที่อยากสร้างไอดอลที่คนทั่วไปสามารถเข้าใกล้และสัมผัสตัวจริงได้ การแบ่งออกเป็น 3 ทีมๆ ละ 16 คนโดยมีทีมสำรองที่มีสมาชิกอีกเป็นจำนวนมากจึงทำให้สามารถเปิดการแสดงสดที่ โรงละครย่านอะกิฮะบะระได้ทุกวันโดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปและยังสามารถ ขยายตัวออกไปในเมืองต่างๆ ทั้งในและนอกญี่ปุ่นในชื่อตัวย่อต่างๆ กัน SKE NMB HKT JKT SNH ที่ต่างลงท้ายตัว 48 ทั้งสิ้น
พวกเธอไม่ได้เป็นนักร้องประสานเสียง ดังนั้นจึงมีผู้สงสัยหลายคนว่าทำไมจึงต้องมีจำนวนมากมายขนาดนี้? ประมาณ 150 คนจากการสัมภาษณ์กับแอนนา โคเรน
คำตอบจึงอยู่ที่ โอเนียงโกะคลับ (おニャンこクラブ) ที่เป็นต้นแบบที่มาของ AKB48 เมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมาที่เกิดจากไอเดียของ อะกิโมะโตะ เช่นกัน
คลับลูกแมว (โอเนียงโกะ) เป็นกลุ่มนักร้องหญิงที่ถือกำเนิดในปี 1985 โดยตั้งเป้าหมายสำหรับกลุ่มนักเรียน ม.ปลายชายเป็นหลัก คลับลูกแมวจึงเป็นเสมือนการปั้นไอดอลสำหรับนักเรียน ม.ปลายชายซึ่งอาจคล้ายกับเพื่อนร่วมชั้นหรือโรงเรียนใกล้ๆ บ้าน
อะกิมะโตะอาศัยรายการทีวีช่วงเย็นเป็นสื่อในการส่งสาส์นจากบรรดาลูก แมวที่จะคัดเลือกมาจาก Popular Vote จากผู้ชมรายการซึ่งแน่นอนก็คือกลุ่มนักเรียนด้วยกันนั่นเอง
ความสำเร็จอย่างรวดเร็วและล้นหลามของคลับลูกแมวก็นำมาซึ่งการล่ม สลายอย่างรวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากบรรดาลูกแมวทั้งหลายเมื่อเด่นดังแล้วก็คิดว่าพวกเธอนั้นสามารถบิน เดี่ยวในโลกบันเทิงได้โดยง่าย อายุของคลับลูกแมวจึงมีประมาณ 2 ปีเศษเท่านั้นก็ต้องเลิกไปเพราะต่างคนต่างอยากบินเดี่ยว
อะกิโมะโตะจึงน่าจะเรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและล้มเหลวจากไอเดียตน เองว่าสามารถปั้นดินให้เป็นดาวได้แต่ต้องสามารถควบคุมดาวเหล่านี้ให้อยู่มือ ให้ได้ หาไม่แล้วเมื่อดินกลายเป็นดาวแล้วอำนาจควบคุมของตนก็จะหมดไป
การนำเอาระบบการคัดตัวมาใช้คัดสมาชิก AKB โดยตั้งเป้าจากนักเรียนหญิงทั่วไปอายุระหว่าง 13-16 ปีโดยให้มี 3 ทีมๆ ละ 16 คนและยังหาสำรองไว้อีกเพื่อเลื่อนชั้น ในขณะที่พวกตัวจริงก็กำหนดให้มีการเกษียณอายุในการทำงานประมาณ 3 ปีในรูปแบบของการ “สำเร็จการศึกษา”
เงื่อนไขข้างต้นจึงนำไปสู่ “การผูกขาด” โดยอะกิโมะโตะในฐานะนายทุนในระบอบทุนนิยมที่ชัดเจน ไม่ว่าสมาชิกจะเป็นรายบุคคลหรือทีมก็ไม่สามารถสร้างอำนาจต่อรองกับเขาได้ เหตุก็เพราะทุกคนเป็น น.ส.ก. หรือ 少女A ที่ล้วนเป็น Nobody ในช่วงแรกเข้า หากสามารถเป็น Somebody ในเวลาต่อมาก็เป็นได้ไม่นานก็ต้องลาจากไป สมาชิกทุกคนจึงต้องพึ่ง AKB ขณะที่ AKB ไม่จำเป็นต้องพึ่งสมาชิกแต่อย่างใด
ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ก็คือ สมาชิกคลับลูกแมวส่วนใหญ่หลังจากยุบเลิกก็ไม่สามารถเอาดีได้ในวงการบันเทิง เช่นเดียวกับสมาชิก AKB48 ที่ “สำเร็จการศึกษา” ไปก็ยังไม่ปรากฏว่าสามารถใช้วุฒิที่ได้จากการเป็นสมาชิก AKB48 ไปสู่ความสำเร็จอย่างที่หวังได้ มีใครจำใครได้บ้างในบรรดาสมาชิกตระกูล 48 นี้?
AKB48 จึงถูกลงทุนสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นไอดอลสดใสไปตลอดกาลไม่มีแก่ ไม่ต้องเกรงกลัวเรื่องอื้อฉาวเพราะหากมีก็หาทดแทนได้โดยง่ายเนื่องจากสมาชิก ทุกคนล้วนเป็น “ดิน” มีที่มาจากสาว ม.ปลายทั่วๆ ไป ในขณะที่เมื่อได้เป็น “ดาว” ตัวจริงในแต่ละทีมก็ต้องแข่งขันกันเพื่อมายืนเป็นแถวหน้า ขณะที่ตัวสำรองก็ต้องการเข้ามาแทนที่ AKB48 จึงไม่มีวันจะเป็นเหมือน คลับลูกแมว Led Zeppelin หรือ ดงบังชินกิ ที่ต้องล้มวงไปก่อนเวลาอันควรเพราะหาใครมาทดแทนสมาชิกดั้งเดิมไม่ได้
กฎห้ามมีเพื่อนชายจึงเป็นการแสดงอำนาจผูกขาดที่อะกิโมะโตะมีต่อสมาชิก AKB48 อย่างชัดเจน
ความสามารถในวงการบันเทิงทั้งเขียนเนื้อร้องหรือการสร้างสรรค์ล้วน เอื้อให้เขาเป็น “ผู้ประกอบการ” ขาใหญ่ไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะในการสร้างไอดอล เพลงที่นักร้องหลายๆ คนใช้แจ้งเกิดหรือกลับมาแจ้งเกิดล้วนมาจากเขา
อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงวิพากษ์ติดตามมาเกี่ยวกับ “จุดขาย” ที่เขานำเสนอว่ามีความเหมาะสมเพียงใด เพราะเนื้อหาในเพลงที่เขานำเสนอเพื่อให้บรรดาไอดอลของเขาร้องที่มักเป็นไปใน ลักษณะของสองแง่สามง่ามโดยเฉพาะเรื่องเพศ
ตัวอย่างเช่น เพลงที่แจ้งเกิดของคลับลูกแมวก็คือ เซล่า ฟุกุ โอ๊ะ นูกะซะไนเดะ (セーラー服を脱がさないで) หรือ (โปรด) อย่าถอดชุดนักเรียนของฉันนะ ฟังแค่ชื่อเพลงก็ยั่วยวนเสียเหลือเกินแล้วสำหรับหนุ่ม ม.ปลายทั้งหลายแหล่ที่จะมาฟังสาว ม.ปลายร้องให้ฟัง ยังไม่ต้องลงไปถึงเนื้อร้องหรือรูปแบบการนำเสนอ แต่อะกิโมะโตะก็แก้ตัวว่าแล้วแต่มุมมองแต่เขามิได้จะสื่อไปในทางนั้น? กรุณาดูคลิปสัมภาษณ์ที่ 2 ประกอบคำแปลในคลิปเพลงแรก
ในขณะที่ AKB48 ในปัจจุบันก็ไม่น้อยหน้านอกนากเนื้อหาในเพลงแล้ว Music Video หลายเพลงก็นำเสนอโดยร้องอยู่ในชุดชั้นในหรือชุดว่ายน้ำ
ก่อนจะไปดูผลงานของพวกเธอ อยากให้ดูคำสัมภาษณ์ของอะกิโมะโตะที่ แอนนา โคเรน จาก CNN ที่ไปสัมภาษณ์เกี่ยวกับเขาและ AKB48 มี 2 ตอนจะได้รู้จักเขาและแนวคิดของเขาดีมากขึ้น ภาษาฟังไม่ยากและถามตรงไม่เยิ่นเย้อ
https://www.youtube.com/watch?v=uThd4Hru61o
https://www.youtube.com/watch?v=PbhFViGPJHo
คลิปแรกเป็นเพลง セーラー服を脱がさないで มีซับไทยด้วยแต่ไม่น่าจะตรงนัก มาดอนน่าก็เถอะทำอะไรไม่ได้หรอก ขอขอบคุณเจ้าของไว้ ณ ที่นี้
http://alive.in.th/watch_video.php?v=X1Y7WDB326G4
คลิปต่อไปเป็นของ AKB 48 เพลง Dear My Teacher แต่ลองดูเนื้อร้องเอาก็แล้วกันว่า “รัก” นั้นจะตีความแบบไหนดี? http://alive.in.th/watch_video.php?v=N8YK616WD566
คลิปนี้น่าจะเป็นแบบเต็มครอบครัว 48 ทั้งหลายที่โตเกียวโดมเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นถึง Nobody Somebody และ การแข่งขัน-ผูกขาด ได้เป็นอย่างดี ไมค์ไม่น่าจะพอจำนวนคน หรือหากใครถือไมค์ร้องแล้วเสียงจะออกหรือไม่ก็ยังน่าสงสัย ส่วนกล้องจะจับภาพได้หรือไม่นั้นหากไม่ได้อยู่แถวหน้าคงจะยาก https://www.youtube.com/watch?v=C1sk1SMQJOo
สุดท้ายเป็นการนำเอาเพลงของ คยอง-คยอง (なんてったってアイドル) อะกินะ(少女A) และคลับลูกแมว (セーラー服を脱がさないで) มาร้องใหม่ เพลงที่ 1 และ 3 เป็นผลงานของอะกิโมะโตะ ฟังดูแล้วใครร้องดีกว่ากัน https://www.youtube.com/watch?v=wXeqSDwlN-4