ผู้หญิงที่ผมรู้จัก 13
โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ สุวินัย ภรณวลัย
29 ตุลาคม 2557
ในปี 2010 มีหนังชุดทางโทรทัศน์ที่ไม่เหมือนใครออกมา 2 เรื่องในแวลาใกล้เคียงกันซึ่งผู้เขียนไม่เคยพบเห็นมาก่อนคือ นะกะเซะ โนะ โอนะ (ナサケの女) นำแสดงโดย โยเนะกุระ เรียวโกะ บทภาพยนตร์โดย นะกะโซโนะ มิโฮะ (中園 ミホ) และ โอกอน โนะ บุตะ (黄金の豚) นำแสดงโดย ชิโนะฮะระ เรียวโกะ บทภาพยนตร์โดย โยชิดะ โทะโมะโกะ (吉田 智子)
หากยังจำได้ นะกะโซโนะ คือ 1 ในผู้เขียนบท doctor x หนังชุดที่กำลังฮิตติดลมบนอยู่ในขณะนี้ เธอเขียนบท นะกะเซะ โนะ โอนะ ให้เป็นเรื่องราวของการสืบสวนการหลีกเลี่ยงภาษีของสำนักงานสรรพากรโตเกียว โดย โยเนะกุระ รับบท มัทซึฮิระ มัทซึโกะ (松平 松子) เจ้าหน้าที่สรรพากรที่ย้ายมาจากบ้านนอกที่มีวิธีไล่ล่า-สืบหาการหลบเลี่ยง ภาษีที่ไม่เหมือนใคร ขณะที่โอกอน โนะ บุตะ นั้น โยชิดะเขียนบทให้เป็นเรื่องราวของการคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ โดย ชิโนะฮะระ รับบท ซึซึมิ ชินโกะ (堤 芯子) ลูกสาวร้านขายผักที่เคยติดคุกเนื่องจากต้องคดีฉ้อโกงแต่กลับถูกเสนองานในขณะ ได้ทัณฑ์บนให้มาเป็นหนึ่งในทีมตรวจสอบในสำนักงานตรวจสอบบัญชีที่คล้ายคลึง กับงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)+ป.ป.ช.ของไทย
ภูมิหลังในอดีตที่แตกต่างจึงทำให้ ซึซึมิ ชินโกะ มีวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลและวิธีในการจัดการปัญหาคอร์รัปชันแตกต่างไปจาก เพื่อนร่วมทีมในสำนักงานที่ล้วนเป็นข้าราชการและหวังจะไต่เต้าไปสู่ตำแหน่ง ที่สูงขึ้นไปมิใช่อดีตนักโทษเหมือนเธอ
นี่จึงเป็นจุดอ่อนที่ข้าราชการระดับสูงหรือนักการเมืองใช้ให้เป็น ทั้ง “ขนมและไม้เรียว” ในการจูงใจหรือบังคับให้ข้าราชการปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองต้องการ อย่าลืมว่านักการเมืองไม่สามารถคอร์รัปชันได้โดยปราศจากความร่วมมือของข้า ราชการ ดังนั้นการเข้ามายึดกุมตำแหน่งสำคัญเช่นปลัดกระทรวงหรืออธิบดีจึงเป็นสิ่งจำ เป็นภายใต้ข้ออ้างของการยึดโยงกับประชาชนที่นักการเมืองชอบอ้างแต่ตนเองไม่ เคยฟังประชน
ปรับ-ลด-ปลด-ย้าย จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงานบุคคลที่เป็นทั้ง “ขนมและไม้เรียว” ที่ปลัด/อธิบดีมีตามกฎหมายแต่นักการเมืองไม่มี การตั้งคนของนักการเมืองในตำแหน่งดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการ คอร์รัปชัน ไม่มีฝีมือแต่อยากได้ตำแหน่งก็ไม่มีปัญหา หรือในทางตรงข้ามจะมีฝีมือหรือไม่แต่หากไม่ทำตามที่นักการเมืองต้องการก็ ต้องกระเด็นออกจากตำแหน่งไป ข่าวการซื้อขายตำแหน่งจึงเกิดขึ้นและเป็นเครื่องชี้สำคัญว่ามีคอร์รัปชัน เกิดขึ้นจริงหรือไม่มากกว่าการร่ำรวยแบบไม่มีเหตุผลของข้าราชการหรือนักการ เมืองอันเป็นผลติดตามมาเสียอีก
รากเหง้าของการคอร์รัปชันจึงอยู่ที่ข้าราชการเป็นส่วนสำคัญ สิ่งที่นักการเมืองไม่มีแต่ต้องมีให้ได้ก็คือสามารถยึดกุมอำนาจ ปรับ-ลด-ปลด-ย้าย ในทุกตำแหน่งที่จะเป็นเครื่องมือบีบทำให้ข้าราชการมาเป็นพวกนั่นเอง
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดหรือเป็นเรื่องของดวงเมืองที่ทำให้ทหารใน ไทยเป็นใหญ่ แท้จริงแล้วเป็นเพราะโครงสร้างที่เป็น “เขตทหาร ห้ามเข้า” ที่ทำให้นักการเมืองเข้ามาแทรกแซง ปรับ-ลด-ปลด-ย้าย ขุนทหารได้ยากต่างหาก เสาหลักของไทยจึงอยู่ที่ทหารและศาลที่เป็นหน่วยงานรัฐที่นักการเมืองแทรกแซง ได้ยากมิใช่ขึ้นอยู่กับการผูกดวงแต่เพียงลำพัง
ในขณะที่ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น สตง. หรือ ป.ป.ช. หากไม่ยึดมั่นในประโยชน์ของประชาชนหรือปราศจากเกราะป้องกันตนคือการเป็น องค์กรอิสระไม่ขึ้นกับนักการเมืองดังเช่นที่ศาลมีก็ไม่อาจทำหน้าที่ตามที่ คาดหวังได้อย่างแน่นอนเหมือนอย่างผิดหวังมาแล้วกับ ตำรวจหรืออัยการ
เรื่องราวของการคอร์รัปชันที่ซึซึมิเผชิญจึงเริ่มที่จะสลับซับซ้อน และเกี่ยวพันกับไปสู่ข้าราชการและนักการเมืองที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ชิโนะฮะระจึงได้บทที่มีมิติและมีสีสันมากกว่าบทของ มัทซึฮิระ มัทซึโกะ
ทำไมโทรทัศน์เอกชนญี่ปุ่นจึงทำหนังชุดแนวนี้ออกมาได้ทั้งๆ บ้านเขาก็มีนักการเมืองที่ไม่ดีเช่นบ้านเรา ไม่มีอะไรแตกต่าง
สตง. หรือ ป.ป.ช. ควรไปดูหนังชุดเรื่องนี้เป็นที่สุด แทนที่จะประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชันในรูปเอาความสนุก+สาระ ไม่รู้หรือว่าตนเองมีพล็อตเรื่องที่น่าสนใจจากเรื่องจริงที่เป็นคดีความที่ พิสูจน์จนมีคำพิพากษาแล้วจำนวนมาก ทำไมไม่คิดจะสร้างหนังชุดออกฉายทางโทรทัศน์ จ้างคนเขียนบท ผู้กำกับ หรือแม้แต่ซื้อเวลาออกอากาศเองก็ย่อมทำได้มิใช่หรือ
เอาแค่เรื่อง ซุกหุ้น ทุจริตเชิงนโยบาย เปลี่ยนวันหยุดปีใหม่เพื่อเลี่ยงอัตราภาษีที่ดินใหม่ที่ทำให้เมียซื้อที่ถูก ได้แต่ผัวเซ็นยินยอมกลับต้องติดคุก คดียึดทรัพย์สี่หมื่นล้านฯ หรือเรื่องทุจริตจำนำข้าว แค่นี้ก็น่าดูชมกว่าเพราะสลับซับซ้อนกว่าของเขาที่โกงจากผลต่างอัตราแลก เปลี่ยนแล้วมิใช่หรือ อาจจะเอาไปขายให้ญี่ปุ่นดูเพื่อเปรียบเทียบก็ได้ว่าของเราก้าวหน้ากว่าเขา อย่างไรในเรื่องการโกง
ทั้งสองเรียวโกะจึงมีบทในหนังชุดที่เฉือดเฉือนมาโดยตลอด จากบทตำรวจนักสืบ ใน unfair (2006) ขณะที่โยเนะกุระก็รับบทตำรวจที่อาจบู๊ไม่เก่งและโหดน้อยกว่าใน โคะโชนิน 交渉人 (2008) แต่ในบทหมอไดม่อน มิชิโกะที่ไม่เคยพลาดใน doctor x (2012) หรือ นักเรียน ม.ปลายอายุ 35 (35歳の高校生) ในปี 2013 หรือ แม่บ้านลึกลับ คะเซฟุวะ มิตะ (家政婦は見た) ในปี 2014 ที่ชิโนะฮะระยังไม่เคยเล่นในแนวนี้แต่อย่างใด
แต่ช้าก่อนบุคลิกเช่นหมอไดม่อน มิชิโกะที่ “ไม่เคยพลาด” และ “ไม่ยอมทำ. . .” นั้นมีต้นกำเนิดมาจากที่ใด? คำตอบอาจจะอยู่ที่หนังชุดเรื่อง ฮักเกง โนะ ฮิคะคุ (ハケンの品格) ที่ชิโนะฮะระแสดงเมื่อปี 2007 ก็เป็นได้