นายแพทย์สมหมาย ทองประเสริฐ ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า “หมอเทวดา” จากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง และรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมาก เคยกล่าวว่า มะเร็งคือโรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์ราวใบไม้ร่วง มะเร็งเป็นโรคที่คอยไม่ได้ กินทุกวินาที กินร่างกายผู้ป่วยแม้ขณะหลับหรือตื่นดุจไฟลามทุ่ง มะเร็งคือขโมยซึ่งเข้าบ้านเราโดยไม่รู้ตัว เพราะทุกคนที่เป็นมะเร็งจะไม่รู้ตัวทั้งนั้น มารู้เมื่อมันโผล่มาแล้ว
ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ปัจจัยกระตุ้นมะเร็ง และปัจจัยทางพันธุกรรมของเนื้องอก ได้ค้นพบว่า เนื้องอกเป็นผลจากการกลายพันธุ์ และการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ ซึ่งรวมถึงยีนมะเร็งดั้งเดิม และยีนต้านมะเร็ง อันที่จริงในเซลล์ปกติของคนเรา ก็มียีนมะเร็งดั้งเดิมจำนวนมากอยู่แล้ว ปกติยีนเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเพิ่มจำนวน และการแบ่งตัวของเซลล์โดยไม่ก่อให้เกิดเนื้องอก ทั้งยังเป็นยีนที่ร่างกายไม่อาจขาดได้ โดยเฉพาะในระยะเซลล์วัยอ่อน แต่เมื่อเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นที่ยีนมะเร็งดั้งเดิม ส่งผลให้การทำหน้าที่ทางสรีรวิทยาตามปกติของร่างกายของคนเราเกิดความยุ่งเหยิงสับสน กลายเป็น ยีนก่อมะเร็ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการเกิด และพัฒนาของเนื้องอกได้
ในการจะบำรุงรักษาร่างกายเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคร้ายแรงอื่นๆ นั้น ควรจะเริ่มที่ระดับเซลล์หรือโมเลกุลในเซลล์ โดยให้ได้รับอาหาร และสารอาหารต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อไปหล่อเลี้ยงระบบทุกระบบที่ประกอบขึ้นเป็นระบบภูมิชีวิตของร่างกาย รวมทั้งป้องกันการบาดเจ็บ การอักเสบ หรือความเสียหายในระดับเซลล์ ซึ่งเป็นที่มาของความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ตามคำอธิบายที่ทรงพลังในระดับเซลล์ และโมเลกุลเกี่ยวกับการเกิดพยาธิสภาพที่เราได้กล่าวไปแล้ว
มันเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ มนุษย์ยุคปัจจุบันตกอยู่ในฐานะที่ขาดวิตามินซีอย่างเรื้อรัง ในความหมายที่ปัจจุบันชีวิตของคนเราต้องการวิตามินซีเป็นอย่างมาก เพื่อไว้ต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีมากขึ้นเพื่อช่วยให้คอลลาเจนแข็งแรง และเพื่อสนับสนุนระบบภูมิชีวิต (ระบบภูมิคุ้มกัน) ของเราที่ต้องทำงานหนักกว่ายุคสมัยก่อนอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า วิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในยุคอุตสาหกรรม และยุคหลังอุตสาหกรรมอย่างยุคปัจจุบันทำให้คนเราต้องการวิตามินซีมากขึ้น เพื่อใช้ต่อสู้กับมลพิษที่ร่างกายของเรารับเข้ามาโดยผ่านอาหาร น้ำ และอากาศ จนทำให้เหลือวิตามินซีในเลือดของเราน้อยลงมาก เพราะฉะนั้น สิ่งที่เคยสอนกันมาว่า หากคนเรารับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หรือได้วิตามินจากผัก ผลไม้ ก็เพียงพอแล้วนั้น น่าจะเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับความจริงในปัจจุบัน และเป็นมายาคติอย่างหนึ่งที่ควร “ถอดรื้อ”
การมีชีวิตอยู่ของคนเราในทางชีวเคมี เป็นการดำเนินไปของระบบชีวเคมีในร่างกายของเรานั่นเอง โดยที่มันเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ระดับโมเลกุลเป็นจำนวนนับล้านครั้งต่อวินาที โดยเป็นการบริหารจัดการของธรรมชาติอันน่าทึ่งที่ทำให้ชีวิตดำเนินไป เพราะมีความสมดุลของระบบ แต่หากมีปัจจัยต่างๆ มาทำให้เสียสมดุลของระบบนี้ไป จะนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะ โรคเรื้อรังที่คร่าชีวิตผู้คนในอันดับต้นๆ อย่างมะเร็ง และโรคหัวใจ-หลอดเลือด
องค์ความรู้ทางการแพทย์ ได้บอกกับเราว่า โรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพส่วนใหญ่นั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายในระดับเซลล์-โมเลกุลที่เกิดจากอนุมูลอิสระทั้งสิ้น กล่าวคือ แม้ร่างกายภายนอกของคนเราดูเหมือนจะปกติไม่ได้เจ็บป่วยอะไร แต่ความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระในระดับเซลล์-โมเลกุล เมื่อสะสมมากขึ้นและนานวันเข้า ระบบภูมิชีวิต หรือระบบภูมิคุ้มกันในเซลล์แต่ละเซลล์อวัยวะ และของร่างกายของเราจะอ่อนแอลง เกิดโรคและความชราตามมา
นับตั้งแต่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา องค์ความรู้ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์ในมิติทางชีวเคมี และฟิสิกส์ได้รุดหน้าเป็นอย่างมาก เพราะได้มีการค้นคว้าลงลึกไปถึงระดับเซลล์ ระดับโมเลกุล และระดับที่เล็กกว่าโมเลกุล ทำให้เราสามารถเข้าใจกลไกการทำหน้าที่ และดำเนินไปของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี รวมทั้งกลไกการเกิดโรค และการเสื่อมสภาพด้วย
ยิ่งสังคมไทยกลายเป็น “พาณิชยานุวัตร” (commercialization) มากยิ่งขึ้นเพียงใด โอกาสที่ผู้คนจะเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังอันเนื่องมาจาก “การตลาดและการโฆษณา” ก็ยิ่งจะมีมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น ลองเหลียวไปดูโฆษณาตามสื่อโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์รอบๆ ตัวเราอย่างพินิจพิเคราะห์ดูเถิด แล้วเราจะพบความจริงที่น่าตกใจประการหนึ่งว่า ชะตากรรมของบริษัทอาหารแปรรูปจำนวนไม่น้อย ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยความสามารถของนักการตลาดในการทำให้พวกเด็กๆ “เซ้าซี้” พ่อแม่ของพวกเขาในการซื้อสินค้าเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพแทบทั้งสิ้น
“อาหารตะวันตก” ที่กำลังจะกลายเป็นอาหารของคนทั้งโลก โดยเฉพาะอาหารขยะ และอาหารจานด่วนนั้น ล้วนมีส่วนทำให้คนกินป่วยและอ้วนง่ายทั้งสิ้น สาเหตุการตาย 10 อันดับแรกทุกวันนี้ มี โรคเรื้อรังที่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่า เกี่ยวข้องกับอาหารถึง 4 โรค คือ โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคสมองขาดเลือด และโรคมะเร็ง
อะไรคือมุมมองใหม่สำหรับการแพทย์แบบองค์รวม ที่ นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ได้เสนอไว้ในหนังสือ “หัวใจใหม่-ชีวิตใหม่” ของเขา ก่อนอื่นเขาเสนอว่า การแพทย์แนวใหม่ไม่ควรเน้นที่ “พยาธิกำเนิด” (Pathogenesis) ที่สนใจเฉพาะเรื่อง “กลไกการเกิดโรค” เหมือนอย่างการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ การแพทย์แนวใหม่ควรมุ่งเน้นไปที่ “สุขภาวะกำเนิด” (Salutogenesis) ที่เน้นการสร้างสุขภาวะให้เกิดขึ้นด้วยตัวผู้นั้นเอง โดยไม่มอบอำนาจการสร้างสุขภาพที่ดีไปให้คนอื่น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ในมุมมองใหม่แบบนี้ จะให้ความสำคัญกับปัญหาความเครียด โดยถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด เพราะยาที่ขายดีที่สุดในโลกสามอย่าง ก็ล้วนเป็นยาที่เกี่ยวกับความเครียดทั้งสิ้น ได้แก่ ยากล่อมประสาท ยาลดความดันโลหิต และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
การรักษาโรคและการดูแลสุขภาพของระบบการแพทย์ที่ทำหน้าที่รักษาและดูแลสุขภาพของผู้คนนั้น ไม่ว่าจะเป็นระบบการแพทย์แบบใดก็ตาม จำเป็นต้องมีสมมติฐานว่าด้วยธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ ที่มาของโรคหรือการเจ็บป่วยนั้น รวมทั้งการจัดการในการรักษาที่เหมาะสมมารองรับเสมอ ซึ่งทั้งหมดนั้น จะขึ้นต่อไปอีกทีกับการรับรู้ และการเข้าใจ “ความจริง” ของระบบการแพทย์ในยุคสมัยนั้นหรือช่วงเวลานั้นด้วย
เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรไทย ครั้งล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากรไทยทุกๆ 10 ปี ในปี พ.ศ. 2550 เราได้พบว่า มีความเปลี่ยนแปลงในรอบ 20 ปี (จากปี พ.ศ. 2529-2549) ที่น่าสนใจ และทำให้เราสามารถมีมุมมองในอนาคตเกี่ยวกับ วิกฤตสุขภาพของคนไทยในอนาคตอันใกล้ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเราได้รับรู้ว่า (1) สัดส่วนของประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ในช่วง 20 ปีนี้คือ เพิ่มขึ้นจาก 6.5% เป็น 10.9% และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก (2) อายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้น คือผู้ชายเพิ่มขึ้นจาก 63.8 ปี เป็น 69.9 ปี ส่วนผู้หญิงเพิ่มขึ้นจาก 68.9 ปี เป็น 77.6 ปี
จากประสบการณ์ของอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ที่ได้เจอผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ไม่ต่ำกว่าสองหมื่นคนในช่วงยี่สิบกว่าปีมานี้ เขามักจะย้ำกับผู้ป่วยเหล่านั้นเสมอว่า ตัวเขาหรือแม้แต่หมอมีความหมายน้อยมากในการบำบัดโรคมะเร็ง ถ้าหากผู้ป่วยจะหายจากโรคมะเร็งได้ นั่นก็เพราะว่าพวกเขาสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเคร่งครัด และเอาจริงเอาจังในการฟื้นฟูระบบภูมิชีวิต (Immune System) ของตัวเอง เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงหายได้ เพราะตัวพวกเขาเอง
คนไข้มะเร็งรุ่นแรกของอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ที่หายเป็น “ปลิดทิ้ง” ในช่วงกลางทศวรรษ 2530 ไม่ได้มีแค่คุณสุภาพรเท่านั้น ตามที่ปรากฏรายชื่ออยู่ในหนังสือ “กูไม่แน่” (พ.ศ. 2548) ของเขา ยังมีอาจารย์เปรื่อง คุณป้อม คุณพิศมัย คุณหน่ำ คุณปู คุณนุช คุณอัญชัน คุณวิจารณ์ คุณสุรีย์ คุณประกิต คุณอนุชา คุณหรรษา คุณเดือนเพ็ญ และคุณหลีอีกด้วย บุคคลที่อาจารย์สาทิสเอ่ยถึงเหล่านี้ ล้วนหายจากมะเร็งมาเกินกว่าห้าปีแล้วทั้งสิ้น
หากท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง สิ่งที่ท่านควรทำก่อนเป็นอย่างแรกคือ การตั้งสติกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นความตื่นตระหนก จากนั้นท่านควรถามตัวเองไปเรื่อยๆ ว่า ตอนนี้ตัวท่านรู้สึกยังไงบ้าง มีความคิดอารมณ์อะไรผุดขึ้นมาในตัวท่านบ้าง ท่านจะต้องเผชิญหน้ากับความคิด และความรู้สึกเหล่านั้นด้วยการยอมรับมัน โดยต้องเป็นการยอมรับอย่างหมดใจ เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนเรื่องลบให้กลับเป็นเรื่องบวก แล้วท่านจะพบว่า ตัวท่านรู้สึกดีขึ้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็ตาม
หลังจากที่ คุณอรุณี เวศย์วรุตม์ ซึ่งเป็นมะเร็งเต้านมได้ตัดสินใจ “หนีหมอ” หรือทิ้งการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน การผจญภัยของเธอในโลกของการแพทย์ทางเลือกหรือ “ธรรมชาติบำบัด” ก็เริ่มต้นอย่างไม่มีแผนที่นำทางใดๆ ทั้งสิ้น... ในปี พ.ศ. 2550 ด้วยความหวังดี มารดาของเธอได้พาเธอไปพบหมอจีนที่เยาวราชตามคำแนะนำของเพื่อนที่บอกว่า หมอจีนคนนี้เป็น “หมอเทวดา” ที่รักษาใครก็หาย แต่หลังจากที่เธอทานยาต้มสมุนไพรจีนที่หมอจีนคนนี้ให้มาหลายสัปดาห์ แทนที่ก้อนมะเร็งที่เต้านมจะยุบลงกลับบวมเป่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเธอกลับไปหาหมอจีนคนนั้นอีก และเปิดบริเวณที่บวมเป่งขึ้นกว่าเก่าให้หมอจีนดู หมอจีนคนนั้นถึงกับหน้าเสีย และบอกให้เธอไปฉายรังสีบำบัดไม่รับรักษาเธออีกต่อไป เธอจึงได้เรียนรู้บทเรียนที่เจ็บปวดว่า “หมอเทวดา” ไม่มีจริง คำร่ำลือเกี่ยวกับ “หมอเทวดา” ก็เป็นแค่คำโฆษณาชวนเชื่อเท่านั้น ต้นปี พ.ศ. 2552 เซลล์มะเร็งได้กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและปอดแล้ว เธอจึงยอมจำนนให้แก่การแพทย์แผนปัจจุบัน ยอมรับการทำเคมีบำบัดที่ทำให้ผมร่วง
ผมได้กล่าวไปแล้วว่า มะเร็งเป็นโรคภัยไข้เจ็บที่ควรทำความเข้าใจจากมุมมองที่กว้างขึ้นกว่าการมองว่า มะเร็งคือก้อนเนื้อร้ายหรือกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกายเท่านั้น โดยเราควรจะมองว่า มะเร็งคือ ความผิดปกติที่กระจายและขยายตัวได้ ซึ่งความผิดปกตินี้ มิใช่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้เท่านั้น หากยังสามารถเกิดขึ้นในระดับจิตใจ และจิตวิญญาณของคนเราได้ด้วย “มะเร็ง” จึงเกิดขึ้น แล้วก็กระจายขยายตัวโดยเข้าไปทำลายร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของคนเราให้ย่อยยับลงได้
รายงานสำรวจสถานการณ์มะเร็งล่าสุดในประเทศไทย โดยมะเร็งวิทยา สมาคมแห่งประเทศไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับที่ 1 และหากเปรียบเทียบการสำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2541-2543 ซึ่งพบผู้ป่วยมะเร็ง 195,780 ราย หรือ 65,260 รายต่อปี กับการสำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 ซึ่งพบผู้ป่วยมะเร็ง 241,051 ราย หรือ 80,350 รายต่อปีแล้ว อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งได้สูงขึ้นถึง 23% โดยมะเร็งที่พบในผู้ชายนั้น มะเร็งตับ และทางเดินน้ำดี พบเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ตามลำดับ
สำหรับเด็กๆ ชีวิตมีแต่ความสนุกสนาน สำหรับหนุ่มสาวและผู้ใหญ่เต็มตัว ชีวิตคือทุกข์ สุขสลับกันไป แต่สำหรับคนที่ผ่านโลกมากว่าครึ่งศตวรรษอย่างผม ชีวิตคือ อนิจจัง คือความไม่แน่นอน และไม่อาจควบคุมบงการได้ อย่างมากที่สุดที่ตัวเราจะทำได้ก็คือ “ปรองดอง” ตัวเองให้เข้ากับ “ชีวิต” ในความหมายที่ใหญ่ และกว้างที่สุดเท่าที่ตัวเราจะนิยามมันได้เท่านั้น ปัจจุบันคุณสามารถ “ปรองดอง” กับ “ชีวิต” ของคุณได้มากแค่ไหน? ลองอ่านข้อความต่อไปนี้อย่างพินิจไตร่ตรอง และลองประเมินตนเองอย่างเที่ยงตรงที่สุด